กฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
กำลังโหลด...
วันที่
2564
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาคำตอบในการพัฒนาการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ,ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น คำตอบที่ได้มาจะนาไปพัฒนากฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ข้อค้นพบของการวิจัย คือคำตอบของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ไม่มีอำนาจยื่นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือบริการสาธารณะต่อศาลปกครองสูงสุด และการยื่นเรื่องคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อศาลรัฐธรรมนูญและการไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัย และการตรวจสอบความล่าช้าของการพิจารณาคดีของศาล และสภาพบังคับทางกฎหมายของคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน และการไม่มีสานักงานผู้ตรวจการแผ่นดินภาคเพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน และรูปแบบการได้มาของผู้ตรวจการแผ่นดิน ข้อค้นพบนี้นาไปสู่การจัดทำกฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
คำอธิบาย
คำหลัก
กฎหมายต้นแบบ, การพัฒนา, อำนาจหน้าที่, ผู้ตรวจการแผ่นดิน
การอ้างอิง
ภิญญาพัชญ์ ติบวงษา. 2563. "กฎหมายต้นแบบเพื่อการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.