มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

dc.contributor.authorลัดดาวัลย์ สิทธิโชคธรรมth_TH
dc.date.accessioned2567-01-12T04:55:57Z
dc.date.available2024-01-12T04:55:57Z
dc.date.issued2567
dc.descriptionตารางประกอบth_TH
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ของประเทศไทย, เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ของไทยและต่างประเทศ, วิเคราะห์มาตรการในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ 3 ประเด็นคือ ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดสถานที่ในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่, ปัญหาเกี่ยวกับการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่รวมถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ดำเนินการ, ปัญหาเกี่ยวกับบทกำหนดโทษของผู้ดำเนินการและผู้สูบบุหรี่ที่ไม่ปฏิบัติตาที่กฎหมายกำหนด เพื่อหาแนวทางในการ ปรับปรุง แก้ไข พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไปในอนาคต จากการศึกษาพบว่าแนวคิดเรื่องการคุ้มครองประโยชน์มหาชนและแนวคิดในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลถูกนำมาใช้ในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผุ้ไม่สูบบุหรี่จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีการออกมาตราการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่เกิดขึ้น คือ พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และมีการออกประกาศสถานที่สาธารณะให้เป็นเขตปลอดบุหรี่และสถานที่สาธารณะที่อนุญาตให้จัดเขตสูบบุหรี่ได้ ซึ่งจากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ พบว่าแต่ละประเทศมีมาตรการไม่ได้แตกต่างกัน เนื่องจากทั้ง 4 ประเทศต่างเป็นรัฐภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งถูกกำหนดให้ปฏิบัติตามกรอบของอนุสัญญาในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่เช่นเดียวกัน เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการของต่างประเทศ และวิเคราะห์กับมาตรการในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทย พบว่า การกำหนดสถานที่เขตปลอดบุหรี่ของประเทศไทยนั้นยังมีบางสถานที่ ยานพาหนะบางประเภทที่ยังไม่ครอบคลุม บทบาทหน้าที่ของเจ้าสถานที่ ยังไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 เป็นการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดต่างๆ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร รวมถึงบทกำหนดโทษของผู้กระทำความผิดนั้นมีการกำหนดโทษทางอาญาที่มีโทษจากการกระทำความผิดเท่ากันทุกราย โดยไม่มีการแบ่งประเภทของผู้กระทำความผิดหรือไม่มีการนำมาตรการทางปกครองมาใช้บังคับร่วมกับโทษทางอาญาth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.identifier.citationลัดดาวัลย์ สิทธิโชคธรรม. 2566. "มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9466
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectมาตรการทางกฎหมายth_TH
dc.subjectการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่th_TH
dc.subjectพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560th_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่th_TH
dc.title.alternativeLEGAL MEASURES TO PROTECT HEALTH OF NON-SMOKERSth_TH
dc.typeThesisth_TH

ไฟล์

ชุดต้นฉบับ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 12
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
1. หน้าปก.pdf
ขนาด:
66.94 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
2. บทคัดย่อไทย-อังกฤษ.pdf
ขนาด:
284.31 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
3. กิตติกรรมประกาศ.pdf
ขนาด:
66.24 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
4. สารบัญ.pdf
ขนาด:
134.36 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ
ชื่อ:
5. บทที่ 1.pdf
ขนาด:
419.25 KB
รูปแบบ:
Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
ชื่อ:
license.txt
ขนาด:
1.71 KB
รูปแบบ:
Item-specific license agreed upon to submission
คำอธิบาย: