ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่ง
dc.contributor.author | วิทยา แดงสุวรรณ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2566-10-07T03:18:54Z | |
dc.date.available | 2023-10-07T03:18:54Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่ง โดยศึกษาจากหลักการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 เปรียบเทียบกับหลักการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายต่างประเทศ (สหราชอาณาจักร และสิงคโปร์) และศึกษาแนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งในประเทศไทยยังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้พบปัญหาการไม่ออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการค้าส่งและการแบกรับภาระทางภาษีที่มากเกินควรของผู้ประกอบการค้าปลีก ปัญหาการที่ผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งทำการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ไม่นำส่ง ปัญหาเกี่ยวกับความเสมอภาคในการบังคับใช้ประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของสหราชอาณาจักรและสิงคโปร์ได้กำหนดให้ผู้ซื้อมีหน้าที่ในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ขาย และการนำระบบบัญชีกลางเข้ามาควบคุมการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการ การให้รางวัลสำหรับผู้ที่แจ้งเบาะแสของผู้ที่ไม่จ่ายภาษี การแก้ไขปัญหาของต่างประเทศเห็นว่าจะช่วยลดปัญหาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งได้ดียิ่งขึ้น จึงควรนำมาตรการดังกล่าวมาปรับใช้กับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งในประเทศไทย ดังนั้นสารนิพนธ์เล่มนี้ ขอเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหลักการและหลักปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 โดยเพิ่มเติมเรื่องหน้าที่ในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ซื้อมีหน้าที่ในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ขาย แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อในมาตรา 86/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร เพิ่มเติมข้อบังคับในการเปิดบัญชีกลางในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบการ ตลอดจนการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มในมาตรา 85/1 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อลดช่องว่างของกฎหมายที่จะทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่ง | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | วิทยา แดงสุวรรณ. 2566. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่ง." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9404 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | ภาษีมูลค่าเพิ่ม | th_TH |
dc.subject | การจัดเก็บ | th_TH |
dc.subject | ผู้ประกอบการค้าปลีก | th_TH |
dc.subject | ผู้ประกอบการค้าส่ง | th_TH |
dc.title | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่ง | th_TH |
dc.title.alternative | LEGAL PROBLEMS RELATING TO TAX COLLECTION OF VALUE - ADDED TAX (VAT) ON RETAIL AND WHOLESALE ENTERPRISES | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 12
กำลังโหลด...
- ชื่อ:
- 2. บทคัดย่อไทย-อังกฤษ.pdf
- ขนาด:
- 278.39 KB
- รูปแบบ:
- Adobe Portable Document Format
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: