การรับรู้ผ่านการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ เวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์
กำลังโหลด...
วันที่
2564
ผู้เขียน
ชื่อวารสาร
วารสาร ISSN
ชื่อหนังสือ
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เชิงนามธรรม
การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “การรับรู้ผ่านการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์เวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์เวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ศึกษาการรับรู้ของผู้ติดตามเวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ศึกษาการสื่อสารทางการตลาดของเวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ และศึกษาภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารของเวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชากรไทยที่ถูกใจเฟซบุ๊กเพจมิสแกรนด์ไทยแลนด์ และติดตามการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ผ่าเฟซบุ๊กเพจมิสแกรนด์ไทยแลนด์ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean : "X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) วิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และ สถิติ t-test (Independent Sample T-test) สถิติ F-test (One-way ANOVA)
คำอธิบาย
คำหลัก
การรับรู้, การสื่อสารการตลาด, ภาพลักษณ์, มิสแกรนด์ไทยแลนด์
การอ้างอิง
โสภาพรรณ วิรุฬหมาศ. 2561. "การรับรู้ผ่านการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ เวทีการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์." วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.