ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
dc.contributor.author | อารยา ห่อทรัพย์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2567-01-12T06:35:18Z | |
dc.date.available | 2024-01-12T06:35:18Z | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงสภาพปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน (Issuing Repeated Disciplinary Punishment Order) โดยพิเคราะห์กรณีการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 (Government Teacher and Educational Personnel Act B.E. 2547 (2004)) โดยศึกษาและวิจัยถึงความเป็นมา ความหมาย กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ในกรณีการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกันอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น การออกคำสั่งลงโทษทางวินัยตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ซึ่งวินิจฉัยชี้มูลความผิดทางวินัยในความผิดเดียวกันกับที่ผู้บังคับบัญชาเคยสั่งลงโทษ ไปแล้ว และมีการออกคำสั่งลงโทษใหม่เพื่อเพิ่มโทษจากคำสั่งลงโทษเดิม โดยเรื่องนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่สองฉบับ คือ (1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และ (2) ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยวิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งพบว่ากฎหมายทั้งสองฉบับนี้ไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการยกเลิกหรือเพิกถอน (Cancellation or Revocation) คำสั่งลงโทษทางวินัย และแนวทางการพิจารณาการมีผลใช้บังคับของคำสั่งลงโทษฉบับเดิมยังขาดความชัดเจน จึงก่อให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย (Gap in Law) ที่ทำให้ผู้บังคับบัญชา (Commander) อาจสั่งลงโทษทางวินัยในมูลความผิดเดียวกันได้ถึงสองครั้ง ซึ่งขัดต่อหลัก ne bis in idem หรือหลักการห้ามลงโทษซ้ำสองครั้ง (Principle Forbidding Double Jeopardy) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถูกลงโทษ และอาจขัดต่อหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วนตามนัยมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รวมถึงหลักนิติธรรม (Rule of Law) ในแง่มุมของสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีนัยที่ให้ความเคารพต่อหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | th_TH |
dc.description.sponsorship | Sripatum University | th_TH |
dc.identifier.citation | อารยา ห่อทรัพย์. 2566. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. | th_TH |
dc.identifier.uri | https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9467 | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศรีปทุม | th_TH |
dc.subject | ปัญหาทางกฎหมาย | th_TH |
dc.subject | คำสั่งลงโทษทางวินัย | th_TH |
dc.subject | ข้าราชการครู | th_TH |
dc.subject | บุคลากรทางการศึกษา | th_TH |
dc.title | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา | th_TH |
dc.title.alternative | LEGAL ISSUES REGARDING THE ISSUANCE OF DUPLICATE DISCIPLINARY ORDERS UNDER THE LAW OF GOVERNMENT TEACHERS AND EDUCATIONAL PERSONNEL | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
ไฟล์
ชุดต้นฉบับ
1 - 5 ของ 21
- 1 (current)
- 2
- 3
- 4
- 5
มัดใบอนุญาต
1 - 1 ของ 1
ไม่มีรูปขนาดย่อ
- ชื่อ:
- license.txt
- ขนาด:
- 1.71 KB
- รูปแบบ:
- Item-specific license agreed upon to submission
- คำอธิบาย: