Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1186
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชนและธุรกิจการโฆษณาตามกฎหมายไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดชลบุรี
Authors: กรกฎ ขวัญกิจไพศาล
Keywords: กฎหมาย
วิทยุชุมชน
โฆษณา
Issue Date: 1-July-2551
Abstract: การวิจัยเรื่อง “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชนและธุรกิจการโฆษณาตามกฎหมายไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชนและธุรกิจการโฆษณาตามกฎหมายไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิด ความหมาย ลักษณะของคลื่นความของสถานีวิทยุชุมชนและธุรกิจโฆษณา : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดชลบุรี 3. เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชนและธุรกิจการโฆษณาตามกฎหมายไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดชลบุรี 4. เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชนและธุรกิจการโฆษณาตามกฎหมายไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดชลบุรี 5. เพื่อศึกษาและค้นหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชนและธุรกิจการโฆษณาตามกฎหมายไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดชลบุรี ผลการวิจัย พบว่าประชากรที่ทำการศึกษา เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุ 41 ปีขึ้นไป มีการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรสแล้วยังอยู่ร่วมกัน และมีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยจะมีรายได้ 20,001 บาท ขึ้นไป คำถามเกี่ยวกับสถานีวิทยุชุมชนและด้านธุรกิจ การโฆษณาตามกฎหมายไทยพบว่า ประชากรส่วนใหญ่เคยได้ยินคำว่า “วิทยุชุมชน” และมีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ ส่วนแหล่งข่าวที่ได้รับรู้ข่าวสารเรื่องวิทยุชุมชน คือ สื่อมวลชน และประชาชนใช้วิทยุชุมชนเพื่อประโยชน์การรับฟังข่าวสารในท้องถิ่น และมีความคิดเห็นว่าผลที่จะได้รับจากการมีสถานีวิทยุชุมชน คือ ช่องทางในการสื่อสาร สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชนและธุรกิจการโฆษณาตามกฎหมายไทย พบว่าประชากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าปัญหาของวิทยุชุมชน คือ งบประมาณการก่อตั้งวิทยุชุมชน ส่วนรูปแบบการบริหารสถานีวิทยุชุมชน ส่วนใหญ่ มีความเห็นว่าปัญหาวิทยุชุมชนควรเป็นสื่อกลางที่สะท้อนปัญหาความต้องการภูมิปัญญาของชุมชน และมีความเห็นว่าเนื้อหาสาระของรายการวิทยุชุมชน ควรเน้นข่าวเกี่ยวกับชุมชน และกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่ารูปแบบการจัดรายการข่าวเหตุการณ์และกิจกรรมของชุมชนเป็นปัญหาหลัก ซึ่งได้สอดคล้องกับการศึกษาครั้งนี้ ที่ว่าประชากรในชุมชนประกอบธุรกิจส่วนตัว และสอดคล้องกับแนวคิดของเมอร์ริลและโลเวนสไลด์เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและข่าวสารเพื่อแสวงหาผลกำไรและใช้สารบางอย่างเพื่อประโยชน์ของตนเองซึ่งในปัจจุบันคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ โดยกำหนดให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ว่า การดำเนินการต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและ ระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐและประโยชน์สาธารณะ ซึ่งรวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม จึงนับเป็นการวางกรอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของคลื่นความถี่โดยยกเลิกการผูกขาดและขยายคลื่นความถี่ไปสู่ภาคเอกชนและภาคประชาชนอย่างไรก็ตามปัจจุบันคลื่นความถี่และการประกอบกิจการของสื่อล้วนยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มธุรกิจสื่อมวลชนทั้งสิ้นซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะมีการนำสื่อมาใช้ประโยชน์เพื่อประชาชนในทุกด้าน ดังนั้นในอนาคตหากมีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) สำเร็จบทบาทของการบริหารคลื่นความถี่และตารางกำหนดคลื่นความถี่จะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งกฎระเบียบในการขอคลื่นความถี่มาบริหารตามรัฐธรรมนูญอาจจะออกมาในลักษณะผู้ขออนุญาตจะต้องมีประสบการณ์ ในการบริหารสื่อวิทยุมาก่อนทำให้ต้องมีการเตรียมความพร้อม ในด้านบุคลากรและเงินลงทุน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1186
Appears in Collections:สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title.pdf49.5 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf58.77 kBAdobe PDFView/Open
acknow.pdf31.38 kBAdobe PDFView/Open
cont.pdf44.49 kBAdobe PDFView/Open
chap1.pdf86.23 kBAdobe PDFView/Open
chap2.pdf165.49 kBAdobe PDFView/Open
chap3.pdf51.36 kBAdobe PDFView/Open
chap4.pdf89.25 kBAdobe PDFView/Open
chap5.pdf63.16 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdf45.86 kBAdobe PDFView/Open
appen.pdf64.59 kBAdobe PDFView/Open
profile.pdf31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.