กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1187
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษา : บริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิกร ช่วยศรี
คำสำคัญ: พนักงานฝ่ายผลิต
การลาออกจากงาน
การตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 2-กรกฎาคม-2551
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้ สภาพสมรส ระยะเวลาในการปฎิบัติงานที่บริษัทฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 210 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า มีระดับความความคิดเห็นส่วนใหญ่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานจำแนกตามเพศ โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าเพศชายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลต่อการตัดสินใจลาออกจากองค์กรมากกว่าเพศหญิง จำแนกตามอายุมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 4 ด้านคืออายุแตกต่างกันมีผลในการตัดสินใจในการลาออกด้านปัจจัยส่วนบุคคล ด้านปัจจัยหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ทางด้านการศึกษาพบว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนด้านรายได้พบว่าด้านปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลในการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ด้านสถานภาพพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยองค์กร และปัจจัยด้านลักษณะงานมีผลต่อการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการลาออกอย่างมีนัยสำคัญคือ ปัจจัยด้านด้านลักษณะงาน ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ปัจจัยด้านหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1187
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf47.79 kBAdobe PDFดู/เปิด
abstract.pdf47.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
acknow.pdf29.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
cont.pdf69.42 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap1.pdf129.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap2.pdf242.76 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap3.pdf89.55 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap4.pdf270.48 kBAdobe PDFดู/เปิด
chap5.pdf178.42 kBAdobe PDFดู/เปิด
bib.pdf98.42 kBAdobe PDFดู/เปิด
appen.pdf91.38 kBAdobe PDFดู/เปิด
profile.pdf47.12 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น