Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1302
Title: ทักษะการบริหารและคุณลักษณะของผู้บริหารระดับกลาง กรณีศึกษาบริษัทผลิตคอมเพรสเซอร์ ในภาคตะวันออก
Authors: เลิศชัย คชสิทธิ์
Keywords: การบริหาร
ผู้บริหารระดับกลาง
คุณลักษณะของผู้บริหาร
ผลิตคอมเพรสเซอร์
ภาคตะวันออก
Issue Date: 6-February-2552
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทักษะการบริหารและคุณลักษณะของผู้บริหารระดับกลาง ของบริษัทผลิตคอมเพรสเซอร์ในภาคตะวันออก และเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารระดับกลาง จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของพนักงาน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และจังหวัดที่ตั้งสถานประกอบการ นอกจากนี้ได้ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างทักษะการบริหารและคุณลักษณะของผู้บริหารระดับกลาง ตามความคิดเห็นของพนักงานและผู้บริหารระดับสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ พนักงานบริษัทผลิตคอมเพรสเซอร์ ในภาคตะวันออก จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐานร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงาน พบว่า 1. ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อทักษะการบริหารและคุณลักษณะของผู้บริหารระดับกลางโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. ความคิดเห็นของพนักงานต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารระดับกลาง จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านมนุษย์ (Human Skills) และด้านเทคนิค (Technical Skills) มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) พบว่าพนักงานชายให้ความสำคัญมากกกว่า พนักงานหญิง 3. ความคิดเห็นของพนักงานต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารระดับกลาง จำแนกตามอายุ มีความคิดเห็นโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ความคิดเห็นของพนักงานต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารระดับกลาง เมื่อจำแนกตาม ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และจังหวัดที่ตั้งสถานประกอบการ ยกเว้น ด้านเทคนิค (Technical Skill) พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ความคิดเห็นของพนักงานต่อคุณลักษณะของผู้บริหารระดับกลาง จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา จังหวัดที่ตั้งสถานประกอบการ และประสบการณ์ทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า พนักงานชายให้ความสำคัญต่อคุณลักษณะของผู้บริหารมากกว่าพนักงานหญิง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าพนักงานมีความคิดเห็นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ต่อด้านความรับผิดชอบ (Responsibility) ด้านความสำเร็จ (Achievement) และด้านสถานการณ์ (Situation) และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตามอายุ พบว่า แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1302
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title.pdf52.33 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf77.95 kBAdobe PDFView/Open
acknow.pdf37.19 kBAdobe PDFView/Open
cont.pdf150.55 kBAdobe PDFView/Open
chap1.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
chap2.pdf294.6 kBAdobe PDFView/Open
chap3.pdf133.67 kBAdobe PDFView/Open
chap4.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
chap5.pdf319.45 kBAdobe PDFView/Open
chap6.pdf270.98 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdf117.68 kBAdobe PDFView/Open
appen.pdf201.79 kBAdobe PDFView/Open
profile.pdf41.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.