Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1576
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E - COMMERCE) มาใช้กับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในกลุ่มภาคกลางฝั่งตะวันออก
Authors: พูลศรี พูลสวัสดิ์
Keywords: พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สินค้า
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ภาคกลางฝั่งตะวันออก
Issue Date: 11-September-2552
Abstract: การศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) มาใช้กับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ในกลุ่มภาคกลางฝั่งตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในกลุ่มภาคกลางฝั่งตะวันออก จำแนกตามประเภทของการจดทะเบียนการค้า ระยะเวลาในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาโดเมนของเว็บไซต์ งบประมาณในการลงทุนด้านการจัดการและเทคโนโลยี และจำนวนพนักงานที่ใช้ในการจัดการซื้อขายผ่านเว็บไซต์ที่แตกต่างกัน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ กับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของธุรกิจผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในกลุ่มภาคกลางฝั่งตะวันออก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครัวเรือนที่ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในกลุ่มภาคกลางฝั่งตะวันออก ทั้ง 9 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 386 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างและปรับปรุงขึ้น เพื่อใช้ในการวัดข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ประกอบการ ปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ และปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันใช้ค่าสถิติ Independent Sample t – test สถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ใช้ค่าสถิติ One –Way ANOVA และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD (Least Significant Different) และสถิติทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์เพียร์สัน โพรดักซ์โมเมนต์ (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย โดยเห็นว่าด้านการเพิ่มช่องทางในการขยายตลาดมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประหยัดเวลากระบวนการบริหารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย โดยเห็นว่าด้านกระบวนการภายในกลุ่ม มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านลูกค้า ผู้ประกอบการที่มีประเภทของการจดทะเบียนการค้าที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน พบว่า ด้านการเงิน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ประกอบการที่มีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาโดเมนของเว็บไซต์ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ที่แตกต่างกัน พบว่า ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ด้านการประหยัดเวลากระบวนการบริหารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้านผู้ซื้อมีสิทธิมีเสียงในการซื้อขายมากขึ้น และด้านการเพิ่มความสะดวกสบายและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ประกอบการที่มีงบประมาณในการลงทุนด้านการจัดการและเทคโนโลยีที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ที่แตกต่างกัน พบว่า ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ จำแนกตามงบประมาณในการลงทุนด้านการจัดการและเทคโนโลยี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงานที่ใช้ในการจัดการซื้อขายผ่านเว็บไซต์ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ที่แตกต่างกัน พบว่า ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ โดยรวมและรายด้าน ด้านการเพิ่มช่องทางในการขยายตลาด ด้านผู้ซื้อสามารถเลือกผู้ขายได้มากขึ้น ด้านผู้ซื้อมีสิทธิมีเสียงในการซื้อขายมากขึ้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ พบว่า ปัจจัยแรงจูงใจในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ในด้านการเพิ่มความสะดวกสบายและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า มีความสัมพันธ์กับด้านการเงิน และโดยภาพรวม ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (r = 0.166 และ r = 0.122 ) โดยสรุป ผลของการวิจัยครั้งนี้ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นว่าการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางใหม่ทางการค้าทำให้นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าปริมาณทางการค้า และทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนและประหยัดเวลา โดยธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมีโอกาสเข้าสู่ตลาดมากขึ้นและช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1576
Appears in Collections:S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf28.47 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf66.08 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf33.56 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf69.12 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf134.22 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf358.6 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf113.13 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf430.2 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf169.46 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf90.36 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf271.32 kBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf28.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.