Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5382
Title: ปัญหาเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการประเมินมูลค่าเครื่องหมายการค้า ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558
Other Titles: PROBLEMS ON REGISTRATION AND VALUATION ASSESSMENT IN ACCORDANCE WITH THE COMMERCIAL COLLATERAL ACT B.E. 2558
Authors: สุพิศสา อินทุกรรม
Keywords: ปัญหาเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการประเมินมูลค่า
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: สุพิศสา อินทุกรรม. 2560. "ปัญหาเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการประเมินมูลค่าเครื่องหมายการค้า ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_สุพิศสา_2560
Abstract: เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรูปแบบการนำเอาทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้อยู่ 2 รูปแบบ คือ หลักการจำนองและหลักกาจำนำ ซึ่งหลักดังกล่าวมีข้อจำกัดอยู่บางประการ กล่าวคือ การจำนองจำกัดในส่วนของทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนองได้ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ ส่วนรูปแบบการนำทรัพย์สินมาจำนำนั้น ทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนำได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ และการจำนำนั้น ผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำให้แก่ผู้รับจำนำ มิฉะนั้นการจำนำไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทำให้ผู้จำนำไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่นำมาจำนำได้ อันเป็นการส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ เนื่องจากปัจจุบันเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ โดยถือว่าเป็นทรัพย์สินไม่มีตัวตนตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 51 นับเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจแต่ไม่สามารถนำมาจำนอง จำนำได้ ทำให้หลักกฎหมายทั้งสองประเภทนี้ไม่สอดคล้องกับสภาพการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็ก และรายย่อย (SMEs) ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้นจึงได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ...... ขึ้น โดยนำเอารูปแบบการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกัน โดยไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common law เช่น หลัก Unifrom Commercail Code ของประเทศอเมริกา หลัก Floating Charge ของประเทศอังกฤษ และรูปแบบของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Civil law ของประเทศญี่ปุ่น มาเป็นแม่บทที่สำคัญในการร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ...... ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหา และอุปสรรคดังกล่าว กระทั่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2559 กำหนดให้ผู้ประกอบการสามารถนำเอาทรัพย์สินทางปัญญา (เครื่องหมายการค้า) ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่า ทางเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถนำมาจำนองจำนำได้ตามกฎหมายให้สามารถนำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ นับได้ว่าพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เป็นเครื่องมือใหม่ในวงการกฎหมายที่ถูกจับตามอง ถึงการบังคับใช้กฎหมายในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ อันจะมีส่วนทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากขึ้น จากการพิจารณาพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 พบว่ายังมีหลักเกณฑ์บางประการที่เป็นปัญหาและเป็นอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย กล่าวคือ (1) ปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนการจดทะเบียนหลักประกันที่ยุ่งยาก (2) ปัญหาเกี่ยวกับรายละเอียดการจดทะเบียนหลักประกันที่มีรายละเอียดมาก และผลจากการที่ผู้ให้หลักประกันระบุข้อมูลในรายการจดทะเบียนไม่ครบถ้วน มีผลทำให้เจ้าพนักงานทะเบียนไม่รับจดทะเบียนหลักประกันการชำระหนี้ ผู้รับหลักประกันจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ประกัน (3) ปัญหาด้านบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าเครื่องหมายการค้า (4) ปัญหาวิธีการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมกับกฎหมายทั้งสองประเภทนี้ไม่สอดคล้องกับสภาพการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็ก และรายย่อย (SMEs) ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้นจึงได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ...... ขึ้น โดยนำเอารูปแบบการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกัน โดยไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common law เช่น หลัก Unifrom Commercail Code ของประเทศอเมริกา หลัก Floating Charge ของประเทศอังกฤษ และรูปแบบของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Civil law ของประเทศญี่ปุ่น มาเป็นแม่บทที่สำคัญในการร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ...... ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหา และอุปสรรคดังกล่าว กระทั่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2559 กำหนดให้ผู้ประกอบการสามารถนำเอาทรัพย์สินทางปัญญา (เครื่องหมายการค้า) ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่า ทางเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถนำมาจำนองจำนำได้ตามกฎหมายให้สามารถนำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ นับได้ว่าพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เป็นเครื่องมือใหม่ในวงการกฎหมายที่ถูกจับตามอง ถึงการบังคับใช้กฎหมายในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ อันจะมีส่วนทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากขึ้น จากการพิจารณาพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 พบว่ายังมีหลักเกณฑ์บางประการที่เป็นปัญหาและเป็นอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย กล่าวคือ (1) ปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนการจดทะเบียนหลักประกันที่ยุ่งยาก (2) ปัญหาเกี่ยวกับรายละเอียดการจดทะเบียนหลักประกันที่มีรายละเอียดมาก และผลจากการที่ผู้ให้หลักประกันระบุข้อมูลในรายการจดทะเบียนไม่ครบถ้วน มีผลทำให้เจ้าพนักงานทะเบียนไม่รับจดทะเบียนหลักประกันการชำระหนี้ ผู้รับหลักประกันจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ประกัน (3) ปัญหาด้านบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าเครื่องหมายการค้า (4) ปัญหาวิธีการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมกับเครื่องหมายการค้า
Description: สุพิศสา อินทุกรรม. ปัญหาเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการประเมินมูลค่าเครื่องหมายการค้า ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5382
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.