กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5675
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวแบบการจัดการความต่อเนื่องโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรของโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: MODELING OF SUPPLY CHAIN CONTINUITY MANAGEMENT EFFECT TO BUSINESS PERFORMANCE OF AUTOMOBILE INDUSTRIES IN THAILAND
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปริญ วีระพงษ์
คำสำคัญ: การจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ความคล่องตัว
การฟื้นฟูตัวเองโซ่อุปทาน
สมรรถนะระบบโซ่อุปทาน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ปริญ วีระพงษ์. 2560. "การพัฒนาตัวแบบการจัดการความต่อเนื่องโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรของโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ปริญ วีระพงษ์ _2560
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีผลต่อประสิทธิภาพระบบโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความคล่องตัวของโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบโซ่อุปทาน (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการฟื้นฟูระบบโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบโซ่อุปทาน (4) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของตัวแบบจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ความคล่องตัวของโซ่อุปทานในการฟื้นฟูโซ่อุทานต่อประสิทธิภาพโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย (5) เพื่อพัฒนาตัวแบบการจัดการความต่อเนื่องโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรของโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ บริษัทในโซ่อุปทานรถยนต์ จำนวน 265 บริษัท เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน สถิติการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ความคล่องตัวของโซ่อุปทาน การฟื้นฟูตัวเองของโซ่อุปทาน สมรรถนะระบบโซ่อุปทาน และผลการดำเนินงานขององค์กร ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป AMOS ได้ผลการวิเคราะห์สมการโครงสร้างมีความกลมกลืนกันกับโมเดลองค์ประกอบเชิงประจักษ์คือ Chi-Square=118.253, χ2/df=1.159, p=0.130, CFI=0.996, GFI=0.957, AGFI=0.920, RMSEA=0.025 และ SRMR=0.010 เมื่อพิจารณาเส้นทางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและค่าขนาดอิทธิพลของตัวแปรแฝงและสังเกตได้นั้นพบว่า ตัวแบบการจัดการความต่อเนื่องโซ่อุปทานนั้นส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรของโซ่อุปทานของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยเป็นอย่างดี
รายละเอียด: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5675
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ปก.pdf139.96 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทคัดย่อ.pdf213.59 kBAdobe PDFดู/เปิด
สารบัญ.pdf152.05 kBAdobe PDFดู/เปิด
สารบัญตาราง.pdf94.55 kBAdobe PDFดู/เปิด
สารบัญภาพ.pdf90.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 1-ประวัติผู้วิจัย.pdf2.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น