กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5722
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร กรมการอุตสาหกรรมทหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: FACTORS AFFECTING ORGANIZATIONAL COMMITMENT OF STAFF AT DEFENCE INDUSTRY DEPARTMENT
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เจริญรุจ กสิวุฒิ
คำสำคัญ: บริหารทรัพยากรมนุษย์
การธำรงรักษาบุคลากร
ความผูกพันต่อองค์การ
ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: เจริญรุจ กสิวุฒิ. 2560. "ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร กรมการอุตสาหกรรมทหาร." การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_เจริญรุจ กสิวุฒิ_182334
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร กรมการอุตสาหกรรมทหาร 2) ระดับปัจจัยด้านลักษณะงาน และปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานของบุคลากรกรมการอุตสาหกรรมทหาร 3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน 4) ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมการอุตสาหกรรมทหาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรกรมการอุตสาหกรรมทหาร จำนวนทั้งสิ้น 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ของผู้ตอบแบบสอบถาม ปัจจัยด้านลักษณะงาน แบบสอบถามปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงาน และแบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การ การวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-way ANOVA และการวิเคราะห์ Multiple Regression ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน เพศ ตำแหน่ง ระดับการศึกษาสูงสุด และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยด้านลักษณะงาน ประกอบด้วยความมีอิสระในการทำงาน การมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และ ผลป้อนกลับของงานมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมการอุตสาหกรรม ทหาร 3) ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงาน ประกอบด้วย ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ ความคาดหวังที่ได้รับการตอบสนองจากองค์การ และทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานและองค์การมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมการอุตสาหกรรมทหาร ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมการอุตสาหกรรมทหาร และเป็นข้อมูลสำหรับผู้บังคับบัญชาในการวางแผนบริหารงานบุคคลต่อไป
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5722
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ