กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5797
ชื่อเรื่อง: ปัญหาข้อกฎหมายการห้ามจำเลยอ้างการไม่รู้อายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นจากความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285/1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS OF PROHIBITION OF THE DEFENDANT TO DEFEND BY REASON OF IGNORANCE OF THE AGE OF CHILD SURVIVOR FOR EXCULPATION UNDER SECTION 285/1 OF PENAL CODE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยสิทธิ์ กรุณกิจ
คำสำคัญ: สิทธิของจำเลย
การไม่รู้อายุของเด็ก
ความผิดเกี่ยวกับเพศ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ชัยสิทธิ์ กรุณกิจ. 2561. "ปัญหาข้อกฎหมายการห้ามจำเลยอ้างการไม่รู้อายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นจากความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285/1." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ชัยสิทธิ์ กรุณกิจ_T182437
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนสภาพปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ในกรณีห้ามจำเลยอ้างการไม่รู้อายุของผู้เสียหายขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285/1 เนื่องจากในอดีตพบว่าจำเลยจะอ้างการไม่รู้อายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นจากความผิด ทำให้จำเลยในหลายคดีหลุดพ้นจากความผิดไปได้ จากการศึกษาพบว่าการห้ามจำเลยอ้างการไม่รู้อายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285/1 นั้น เป็นการขัดกับหลักสิทธิ และเสรีภาพของจำเลย และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวเป็นการตราขึ้นมาเพื่อเพิ่มภาระ และ การจำกัดสิทธิของจำเลยมากเกินไป ซึ่งเป็นการขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และขัดกับหลักกฎหมายอาญาในเรื่องของโครงสร้างความรับผิดทางอาญา เมื่อพิจารณาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 ได้บัญญัติอายุของเด็กซึ่งเป็นผู้เสียหายไว้เป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ซึ่งจะลงโทษผู้กระทำความผิดได้ ผู้กระทำจะต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด การลงโทษผู้กระทำความผิดในฐานความผิดเกี่ยวกับเพศของประเทศไทยไม่ได้มีลักษณะเป็นการลงโทษเชิงภาวะวิสัย กล่าวคือ ผู้กระทำไม่ต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ซึ่งมีลักษณะเป็นการลงโทษโดยเด็ดขาด (Strict liability) ถึงแม้ว่าผู้กระทำความผิดจะไม่รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุก็สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ และเป็นการขัดกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ (Presumption innocence) จนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมาย และขัดกับปฏิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อีกทั่งการบัญญัติเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาการกระทำชำเราเด็กได้อย่างจริงจัง และถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติกับเด็กซึ่งเป็นผู้เสียหายที่มุ่งคุ้มครองเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่าสิบสามปีเท่านั้น ซึ่งเด็กที่อายุกว่าสิบสามปีขึ้นไปก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว เมื่อหลักการพิจารณาคดีอาญาศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับผิดไม่ได้จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดโดยปราศจากเหตุอันควรสงสัย (Proof beyond a reasonable doubt)
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5797
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น