Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5802
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิทยา คำแหงพลen_US
dc.date.accessioned2019-01-04T09:01:55Z-
dc.date.available2019-01-04T09:01:55Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationพิทยา คำแหงพล. 2561. "มาตรการทางกฎหมายในการเข้าถึงและได้มาซึ่งข้อมูลการสื่อสาร ของประชาชน: ศึกษาตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5802-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractในปัจจุบัน ผู้กระทำความผิดได้อาศัยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความรู้ทางวิทยาการสมัยใหม่ในการกระทำความผิด โดยมีรูปแบบและวิธีการในการกระทำความผิดที่สลับซับซ้อน ยากจะเสาะแสวงหาพยานหลักฐานมาใช้ในการพิสูจน์ความผิดของผู้กระทำความผิดได้ ดังนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ...ซึ่งได้บัญญัติมาตรการเข้าถึงและได้มาซึ่งการสื่อสาร ไว้ในมาตรา 105/1 และ 105/2 เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อย่างไรก็ตามบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่มีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน จากการศึกษาวิจัย พบว่า มาตรา 105/1 ยังไม่มีการกำหนดให้ชัดเจนว่าความผิดใดที่สมควรนำมาตรการเข้าถึงและได้มาซึ่งการสื่อสารมาใช้ ทั้งการให้องค์กรศาลเป็นหน่วยงานเดียว ที่กลั่นกรองการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการนำมาตรการการเข้าถึงและได้มาซึ่งการสื่อสาร มาใช้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะคุ้มครองผู้เป็นเจ้าของข้อมูลการสื่อสารได้ และยังมิได้แสดงให้เห็นว่า เป็นอุปกรณ์การสื่อสารที่จะถูกนำมาตรการเข้าถึงและได้มาซึ่งการสื่อสารมาใช้เป็นของผู้กระทำความผิดหรือเกี่ยวข้องกับผู้กระทำความผิดจริง รวมถึง มาตรา 105/1 ที่มีการกำหนดโทษอาญาแก่เจ้าหน้าที่ที่นำข้อมูลซึ่งได้มาจากการเข้าถึงและได้มาซึ่งการสื่อสารมาเปิดเผยยังไม่มีความเหมาะสม ทั้งยังเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้วยเช่นเดียวกัน ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยทำการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีและหลักกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึง แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_พิทยา คำแหงพล_T182367en_US
dc.subjectการดักฟังen_US
dc.subjectเข้าถึงและได้มาen_US
dc.subjectข้อมูลการสื่อสารของประชาชนen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการเข้าถึงและได้มาซึ่งข้อมูลการสื่อสาร ของประชาชน: ศึกษาตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....en_US
dc.title.alternativeLEGAL MEASURE OF ACCESS AND ACQUISITION OF PEOPLE’S COMMUNICATION INFORMATION: STUDY ON THE AMENDMENT BILL TO THE CRIMINAL PROCEDURE CODE (NO…) B.E. …en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.