กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6052
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรในองค์กรบริษัทญี่ปุ่นผลิตเม็ดพลาสติก ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะ จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: MOTIVATION FACTORS AFFECTING ORGANIZATIONAL COMMITMENT OF POLYMERS JAPANESE COMPANY IN AMATA INDUSTRIAL ESTATE, CHONBURI PROVINCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุศญา บุญอนันต์
คำสำคัญ: แรงจูงใจ
ความผูกพัน
บุคลากร
วันที่เผยแพร่: 8-มีนาคม-2562
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงาน 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน 4)เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร 5) เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจ ที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร และ 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจ กับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานของบริษัทญี่ปุ่นผลิตเม็ดพลาสติกในเขตนิคมอมตะจังหวัดชลบุรี จานวน 334 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยแรงจูงใจในการทางาน โดยรวมอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะ ด้านลักษณะงานอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมี 2 ปัจจัยที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านความศรัทธาและยอมรับในเป้าหมาย และด้านคุณค่าขององค์กร 3) อายุและระยะเวลาปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศและตาแหน่งงาน ไม่มีผลต่อตัวแปรนี้ 4) ปัจจัยประชากรศาสตร์ได้แก่ เพศ อายุ ระยะเวลาปฏิบัติงาน และตาแหน่งงาน ที่แตกต่างกันมีความผูกพันกับองค์กรแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยแรงจูงใจมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร อย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 6) ปัจจัยแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับความผูกพันขององค์กรในระดับต่ามาก อย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6052
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdf197.59 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น