Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6402
Title: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก
Other Titles: LAW ENFORCEMENT CONCERNING OFFENSE AGAINST POSSESSION CHILD PORNOGRAPHY
Authors: ทิพย์วรรณ์ ทองอนันต์
Keywords: การครอบครอง
สื่อลามกอนาจารเด็ก
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ทิพย์วรรณ์ ทองอนันต์. 2562. "ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_ทิพย์วรรณ์ ทองอนันต์ _T184571_2562
Abstract: ปัจจุบันปัญหาสื่อลามกอนาจารเด็กนับเป็นปัญหาสำคัญ ที่จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองและปกป้องเด็กจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก โดยศึกษาวิเคราะห์ แนวทางการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกฎหมายประเทศไทยตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการผลิตสื่อลามกอนาจารเด็กในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบโดยใช้ทั้งเด็กจริงและเด็กเสมือนจริงเป็นตัวแสดงในสื่อดังกล่าว ซึ่งกฎหมายที่บังคับใช้ในประเทศไทยจะถือว่าเป็น “สื่อลามกอนาจารเด็ก”ต่อเมื่อเด็กที่ปรากฏในสื่อลามกอนาจารเป็นเด็กที่มีตัวตนจริง ๆ เท่านั้น จึงยังไม่ครอบคลุมถึงสื่อลามกอนาจารบางประเภท เช่น ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวเด็กเสมือนจริงซึ่งการมีสื่อลามกอนาจารดังกล่าวไว้ในครอบครองเป็นการทำร้ายเด็กในชีวิตจริงโดยทางอ้อม เนื่องจาก สื่อเหล่านี้มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่ดูสื่ออาจเกิดความต้องการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กจริง ๆ ตลอดจนยังมีปัญหาเรื่องการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เด็กซึ่งอายุเกินสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีครอบครองสื่อลามกอนาจาร อันเป็นสื่อที่ได้มาจากความยินยอมในการกระทำชำเราระหว่างเด็กด้วยกันและได้ผลิตสื่อดังกล่าวโดยเด็กเองเพื่อใช้เป็นการส่วนตัว ซึ่งการได้รับความยินยอมของเด็ก ในช่วงอายุดังกล่าว สามารถเป็นเหตุให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานกระทำชำเรา อันเป็นความผิดร้ายแรงได้ แต่ไม่อาจเป็นเหตุให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก การที่ไม่มีบทยกเว้นความผิดในกรณีดังกล่าวด้วย จึงเป็นการลงโทษที่ไม่เหมาะสมตามระดับ ความร้ายแรงของการกระทำ นอกจากนั้นยังไม่มีการกำหนดบทบัญญัติที่ชัดเจนในการยกเว้นความผิดสำหรับเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก อันเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินกระบวนการยุติธรรม
Description: ทิพย์วรรณ์ ทองอนันต์. ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6402
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.