Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6409
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสันติราษฎร์ รัตนไชยen_US
dc.date.accessioned2019-10-05T06:00:30Z-
dc.date.available2019-10-05T06:00:30Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationสันติราษฎร์ รัตนไชย. 2561. "ปัญหาความซ้ำซ้อนเกี่ยวกับการยกเว้นความรับผิดตามพระราชบัญญัติ ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 21 (6)." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6409-
dc.descriptionสันติราษฎร์ รัตนไชย. ปัญหาความซ้ำซ้อนเกี่ยวกับการยกเว้นความรับผิดตามพระราชบัญญัติ ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 21 (6). สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2561.en_US
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ที่กระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยศึกษาถึงกฎหมายของต่างประเทศและของประเทศไทย ซึ่งพบว่าประเทศไทยมีปัญหาความซ้ำซ้อนที่เกี่ยวกับการยกเว้นความรับผิดในความจำเป็นที่จะต้องกระทำทารุณกรรมสัตว์ ในเรื่องดังกล่าวได้มีบทบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 21 (6) แต่จากการศึกษาพบว่ายังมีอีกกฎหมายหนึ่งซึ่งก็คือ ประมวลกฎหมายอาญาที่ได้บัญญัติไว้ถึงการกระทำทารุณกรรมสัตว์เช่นกัน จึงเกิดเป็นปัญหาในการซ้ำซ้อนของการบังคับใช้กฎหมาย จากการศึกษาผู้เขียนพบว่าพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 21 (6) ได้กำหนดการกระทำทารุณกรรมสัตว์ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อการป้องกันอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์อื่น หรือทรัพย์สินเป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครองให้เกิดได้ เนื่องด้วยกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์นั้นเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อห้ามมิให้บุคคลมีการกระทำใด ๆ อันเป็นผลทำให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวดทรมาน โดยมีสาระสำคัญของกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ไม่ว่าจะเป็นประเภทของสัตว์ที่จะได้รับความคุ้มครอง ลักษณะของการทารุณกรรมสัตว์ วิธีการทารุณกรรมสัตว์ รวมไปถึงกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และบทลงโทษที่บัญญัติอยู่ในกฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ซึ่งในพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการกระทำทารุณกรรมสัตว์เอาไว้อย่างชัดแจ้งว่าการกระทำอย่างไรถึงจะเป็นการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะบางประการในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในประเทศไทย โดยให้มีการยกเลิกบทกำหนดโทษทางอาญา ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 381 เกี่ยวข้องกับการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร เพราะบทลงโทษดังกล่าวได้มีบัญญัติอยู่ในพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 31 แล้ว อาจจะเป็นสาเหตุให้ผู้บังคับใช้กฎหมายหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เกิดความสับสนในการบังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำความผิดได้ ให้คงไว้ซึ่งบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่ทรัพย์สินให้คงอยู่ต่อไปในพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 21 (6) ไม่ต้องบัญญัติเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวในประมวลกฎหมายอาญาen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_สันติราษฎร์ รัตนไชย_T184595_2561en_US
dc.subjectพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์en_US
dc.subjectกฎหมายในการทารุณกรรมสัตว์en_US
dc.subjectสัตว์ตามองค์กรเอกชนen_US
dc.subjectการทารุณกรรมสัตว์en_US
dc.titleปัญหาความซ้ำซ้อนเกี่ยวกับการยกเว้นความรับผิดตามพระราชบัญญัติ ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 21 (6)en_US
dc.title.alternativeAN ISSUE OF OVERLAP BETWEEN EXEMPTION FROM RESPONSIBILITIES, AS STIPULATED IN THE CRUELTY PREVENTION AND WELFARE OF ANIMALS ACT, B.E. 2557, SECTION 21 (6)en_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.