Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6414
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรินฑิกา เพชรพงศ์en_US
dc.date.accessioned2019-10-05T07:01:50Z-
dc.date.available2019-10-05T07:01:50Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationศรินฑิกา เพชรพงศ์. 2562. "ปัญหาการดำเนินการทางกฎหมายเกี่ยวกับ การให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6414-
dc.descriptionศรินฑิกา เพชรพงศ์. ปัญหาการดำเนินการทางกฎหมายเกี่ยวกับ การให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2562.en_US
dc.description.abstractการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมีการแข่งขันทางการค้า โดยวิธีการหนึ่งที่มักจะนำมาใช้ในการจูงใจ ชักชวนลูกค้าหรือ ผู้มารับบริการให้ซื้อสินค้าของตนมากขึ้น คือ การใช้วิธีการเสี่ยงโชค แม้จะมีกฎหมายควบคุมการจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคที่บังคับใช้อยู่ในกฎหมายว่าด้วยการพนันแล้ว แต่ยังเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงทำให้ผู้เขียนศึกษาถึงปัญหาการดำเนินการทางกฎหมายเกี่ยวกับการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคของประเทศไทย ในประเด็นความคลุมเครือ และช่องว่างทางกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ประสิทธิภาพในการควบคุม กำกับดูแล ตรวจสอบ และบทกำหนดโทษการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค จากการศึกษาการดำเนินการทางกฎหมายเกี่ยวกับการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค พบว่าประเทศไทยได้บัญญัติการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคไว้ในกฎหมายการพนัน แต่ไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจหน่วยงานหรือเจ้าพนักงานกำกับดูแลและตรวจสอบการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค และไม่มีบทกำหนดโทษสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคไว้เป็นการเฉพาะอีกด้วย สำหรับสหรัฐอเมริกา ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และราชอาณาจักรสวีเดนแม้จะได้บัญญัติการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคไว้ในกฎหมายการพนัน แต่ไม่มีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจหน่วยงานหรือเจ้าพนักงานกำกับดูแลและตรวจสอบการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค และไม่มีบทกำหนดโทษสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคไว้เป็นการเฉพาะเหมือนกับประเทศไทย ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค กำหนดอำนาจหน้าที่หน่วยงานหรือเจ้าพนักงานกำกับดูแลและตรวจสอบการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค และกำหนดบทลงโทษไว้เป็นการเฉพาะสำหรับการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค เนื่องจากการแถมพกหรือการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคในการประกอบกิจการค้าหรืออาชีพไม่ใช่การเสี่ยงโชคในลักษณะที่เป็นการพนัน แต่เป็นกิจกรรมทางการตลาดที่ผู้ประกอบกิจการค้าหรืออาชีพทั่วไปปฏิบัติกันเป็นปกติ เพื่อให้สินค้าหรือบริการนั้นเป็นที่นิยม หรือติดตลาด การกระทำดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการพนัน สมควรมีกฎหมายควบคุมมิให้มีการเอารัดเอาเปรียบหรือหลอกลวงประชาชนหรือทำให้ประชาชนได้รับความไม่เป็นธรรมจากการประกอบกิจการค้าหรืออาชีพที่จัดให้มีการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคดังกล่าวen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_ศรินฑิกา เพชรพงศ์_T184609_2562en_US
dc.subjectการให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคen_US
dc.titleปัญหาการดำเนินการทางกฎหมายเกี่ยวกับ การให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคen_US
dc.title.alternativeLEGAL ISSUES RELATING TO REWARDS BY GAMBLINGen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.