กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/728
ชื่อเรื่อง: บทบาทและหน้าที่ของทนายความในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กำพล มั่นใจอารยะ
คำสำคัญ: ทนายความ
การดำเนินคดี
วันที่เผยแพร่: 13-กุมภาพันธ์-2551
บทคัดย่อ: ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ได้อนุญาตให้มีการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่มากระทำละเมิดหรือผิดสัญญากับผู้เสียหายที่มีเป็นจำนวนมาก และถูกฟ้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่มซึ่งเป็นระบบการดำเนินคดีแบบใหม่และยังไม่มีกฎหมายรองรับอย่างคดีแพ่งสามัญ ปัจจุบันมีการร่างกฎหมายการดำเนินคดีแบบกลุ่มเพื่อออกใช้บังคับทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความยุติธรรมให้กับประชาชน เนื่องจากการดำเนินคดีแบบกลุ่มสามารถคุ้มครองผู้เสียหายจำนวนมากได้ในการดำเนินคดีเพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการที่สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายประเภทที่ไม่มีความสามารถฟ้องคดีเพื่อเยียวยาความเสียหายด้วยตนเอง ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทอำนาจและหน้าที่ทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่มีอยู่เดิมมาเป็นระบบดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่มให้มีศักยภาพความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งทนายความส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มเท่าไร เพราะเป็นร่างกฎหมายใหม่ซึ่งไม่ได้นำออกมาใช้เหมือนกับคดีแพ่งสามัญทั่วไป บทบาทและหน้าที่ของทนายความที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายใหม่นี้ ไม่ว่าจะเป็นการร่างคำ-ฟ้อง คำร้อง ตลอดจนรวบรวมประมวลหลักฐานการค้นหาข้อเท็จจริงการดำเนินคดี กระบวนพิจารณา ตลอดจนการบังคับคดีจะมีความยุ่งยากสับสนซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายให้แก่ตัวความในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม โดยส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจอย่างท่องแท้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สภาทนายความควรให้มีการศึกษา อบรม สนับสนุนให้มีการดำเนินคดีแบบกลุ่มออกมาใช้เป็นกฎหมายในอนาคต
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/728
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น