กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7608
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีของพนักงานอัยการ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อานนท์ พลสงคราม
คำสำคัญ: การคุ้มครองการใช้ดุลพินิจ
การสั่งคดีพนักงานอัยการ
วันที่เผยแพร่: 2553
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีของพนักงานอัยการ โดยศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มครองการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีของพนักงานอัยการต่างประเทศ และองค์กรอื่น เป็นการศึกษาวิเคราะห์เอกสารในเรื่องดุลพินิจ กระบวนการตรวจสอบดุลพินิจ และความคุ้มครองการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการ โดยผ็ศึกษามีเจตนาให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการมีอิสระในการใช้ดุลพินิจ โดยปราศจากการแทรกแซงหรือการคุกคามโดยไม่เป็นธรรม และได้รับความคุ้มครองในการปฏิบัติหน้าที่ ผลการศึกษาพบว่า พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม แต่มิได้บัญญัติว่าเมื่อปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายให้อำนาจไว้จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างไร จากการศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ พนักงานอัยการถูกคู่ความฟ้องร้องให้ต้องรับโทษทางอาญาเพราะการสั่งคดี ไม่ว่าพนักงานอัยการจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งในองค์กรระหว่างประเทศและประเมศต่าง ๆ นั้น พนักงานอัยการได้รับความคุ้มครองในการปฏิบัติหน้าที่ ข้อเสนอแนะเพื่อให้สอดคล้องกับที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เนื่องจากพนักงานอัยการเป็นหน่วยงานที่อำนวยความยุติธรรมทางอาญาที่สำคัญมาก การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการอยู่บนความขัดแย้งของคู่ความ ไม่ว่าการปฏิบัติหน้าที่ในการสั่งคดีจะไปทางใด คู่ความอีกฝ่ายที่ไม่ได้ประโยชน์ย่อมไม่พอใจ และอาจยื่นฟ้องพนักงานอัยการว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงเห็นควรที่จะหามาตรการทางกฎหมายเพื่อให้พนักงานอัยการได้รับความคุ้มครอง และเป็นที่มั่นใจได้ว่าเมื่อปฏิบัติหน้าที่แล้วจะไม่ถูกฟ้องร้องให้รับผิดทางแพ่งและทางอาญา แม้มาตรการคุ้มครองที่ผู้ศึกษาเสนอดังกล่าวจะเป็นดาบสองคม เพราะอาจทำให้พนักงานอัยการใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขต แต่เนื่องจากกฎหมายในประเทศที่มีอยู่ได้ตรวจสอบ ควบคุม การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาเรื่องความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการจึงมีความสำคัญกว่า ซึ่งถ้าพนักงานอัยการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแล้วก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างเที่ยงธรรม ซึ่งจะทำให้กระบวนการยุติธรรมมีความเที่ยงธรรมต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7608
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
อานนท์ พลสงคราม.pdf245.27 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น