กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8176
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการใช้ยาทรามาดอล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS REGARDING THE CONTROL OF TRAMADOL USAGE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัศพล จิตตะเสนีย์
คำสำคัญ: ยาทรามาดอล
ควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: วัศพล จิตตะเสนีย์. 2564. "ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการใช้ยาทรามาดอล." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการใช้ยาทรามาดอล(Tramadol) ซึ่งจัดเป็นยาอันตรายตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ยาทรามาดอลเป็นยาช่วยลดอาการปวด ระดับปานกลางถึงรุนแรง ออกฤทธิ์คล้ายกับยามอร์ฟีน (Morphine) แต่จะออกฤทธิ์ที่น้อยกว่ายามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า เป็นยาช่วยลดอาการปวดในกลุ่มโอปิออยด์ สารกลุ่มนี้จะทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มถึงขีดสุดสุขสบายช่วยบรรเทาอาการปวด รู้สึกสงบ เหมือนอยู่ในความฝัน แต่การใช้สารนี้มีผลข้างเคียง เช่น ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หายใจช้า วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ผิวหนังเย็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หากใช้เกินขนาดมีอันตรายถึงชีวิต จากการศึกษาพบว่า ยาทรามาดอลเป็นยาที่ถูกขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่มีการนำยาทรามาดอลมาใช้เสพแทนสารเสพติดให้โทษในกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่น โดยนิยมนำยาทรามาดอลไปผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่ออกรสหวาน เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เมื่อได้ดื่มเข้าไปทำให้เกิดอาการมึนเมา สุขเคลิ้ม ผ่อนคลาย ทำให้เกิดการเสพติดยาทรามาดอล เป็นบ่อเกิดของการริเริ่มใช้สารเสพติดให้โทษประเภทอื่น เช่น กัญชา ยาบ้า ยาไอซ์ ซึ่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510ไม่มีกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้นำยารักษาโรคมาใช้เสพแทนสารเสพติด นอกจากนั้น ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ บทลงโทษยังไม่หนักเพียงพอ จึงทำให้กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ ซึ่งต่างจากกฎหมายของต่างประเทศได้แก่ประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่า ควรปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 โดยกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่นำยารักษาโรคมาใช้แทนสารเสพติด และเพิ่มบทลงโทษในกรณีที่ผู้รับอนุญาตขายยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้มีบทลงโทษที่ทัดเทียมกับประเทศแคนาดา และประเทศสหรัฐอเมริกา ในการป้องกันและปราบปรามการนำยารักษาโรคมาใช้แทนสารเสพติดให้โทษ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8176
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
วัศพล จิตตะเสนีย์ 62502923 เรื่อง ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการใช้ยาทรามาดอล.docx.pdf1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น