Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8196
Title: ปัญหาทางกฏหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
Other Titles: LEGAL ISSYES ON ESTABLISHMENT OF BUSSINESS OF SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES (SMEs)
Authors: สุรศักดิ์ นามบุตร
Keywords: ปัญหากฎหมายจัดตั้งองค์กรธุรกิจ
ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: สุรศักดิ์ นามบุตร. 2559. "ปัญหาทางกฏหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: คำว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น โดยส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากกิจการเจ้าของรายเดียวหรือธุรกิจครอบครัวเป็นส่วนใหญ่และมิได้มีการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ภาครัฐมาสามารถจัดเก็บภาษีจากธุรกิจเหล่านี้ได้ จากการศึกษาแล้วพบง่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ต้องการจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดขึ้นใหม่หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ต้องการเปลี่ยนสภาพมาเป็นบริษัทจำกัดนั้นทำได้ยากหรือไม่สามารถทำได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1097 กำหนดให้บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปสามารถจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้นได้นั้น ทำให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแก้ปัญหาด้วยการนำบุคคลภายนอกที่มิได้มีเจตนามาเข้าทำธุรกิจร่วมกันทำธุรกิจเข้ามาถือหุ้นเพียงเล็กน้อย (หนึ่งหุ้น) เพื่อให้ครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและหลักการมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจตามมาตรา 1012 ที่วางหลักการสำคัญเอาว่า “สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้แด่กิจการนั้น” โดยปัญหานี้ยังเป็นอุปสรรคที่สำคัญของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องการจัดตั้งองค์กรธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัด จากปัญหาดังกล่าวมาข้างต้น จึงขอเสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 22 หุ้นส่วนบริษัท หมวด 4 บริษัทจำกัด เพื่อแก้ปัญหาการนำบุคคลภายนอกเข้ามาถือหุ้นให้ครบองค์ประกอบทางกฎหมายเท่านั้น ประกอบกับจะทำให้องค์กรธุรกิจรูปแบบบริษัทมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น กับทั้งยังทำให้เกิดผลดีแก่ภาครัฐในการจัดเก็บภาษีอีกด้วย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8196
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.