Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9163
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจารุวรรณ บุญนากรth_TH
dc.date.accessioned2023-06-02T04:46:08Z-
dc.date.available2023-06-02T04:46:08Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.citationจารุวรรณ บุญนากร. 2566. “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9163-
dc.descriptionตารางประกอบth_TH
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยศึกษากรณีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามกฎหมายไทย ข้อตกลงระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ความตกลงกรุงมาดริดว่าด้วยการปราบปรามสิ่งบ่งชี้แหล่งที่มาของสินค้าที่ใช้ ไม่ถูกต้องหรือปลอมแปลง ความตกลงกรุงลิสบอนว่าด้วยการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายแหล่งกำเนิดและการจดทะเบียนระหว่างประเทศ ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ข้อบังคับสภาสหภาพยุโรป ที่ 510/2006 ผนวกกับข้อบังคับเลขที่ 1151/2012 และ Geographical Indications Act 2014 แห่งสาธารณรัฐสิงค์โปร์ โดยทำการศึกษาทั้งในส่วนของแนวคิดทฤษฎีและในส่วนของหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามมาตรการทางกฎหมายของไทยและเพื่อส่งเสริมสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทยให้ได้รับการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ จนสามารถพัฒนาและเพิ่มมูลค่าเพื่อเตรียมพร้อมการก้าวเข้าสู่การแข่งขันทางการค้าของตลาดโลก จากการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายของไทยที่บังคับใช้ในการให้ความคุ้มครอง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นยังมีหลักการที่ไม่ชัดเจนขาดหลักการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และยังไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนหลงผิดแก่ผู้บริโภคในแหล่งภูมิศาสตร์อันเป็นที่มาของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้อย่างสมบูรณ์ ตลอดจนยังมีมาตรการบางส่วนที่ยังถือว่าไม่ยืดหยุ่นไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามที่ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้า (TRIPs) ที่ได้วางหลักให้ประเทศสมาชิกต้องดำเนินการตามพันธกรณีอีกด้วย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรที่ จะต้องทำการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในกฎกระทรวงกำหนดรายชื่อประเภทสินค้าเฉพาะอย่างและกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เหมือนหรือพ้องกัน พ.ศ. 2547 ให้มีความชัดเจนและมีความครอบคลุม ในเรื่องของการกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงการเพิ่มกลไกการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าทั่วไป ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการดังกล่าวของไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการเตรียมพร้อมรองรับการขยายความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในระดับนานาประเทศอีกด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์th_TH
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์th_TH
dc.title.alternativeLEGAL ISSUES RELATING TO GEOGRAPHICAL INDICATIONSth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.