กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9337
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL MEASURES TO PREVENTION AND DETERRENCE OF TORTURE AND ENFORCED DISAPPEARANCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัฐมาภรณ์ เรณูชาติ
คำสำคัญ: มาตรการทางกฎหมาย
ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ปัฐมาภรณ์ เรณูชาติ. 2566. "มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทรมานและ การกระทำให้บุคคลสูญหาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และเพื่อให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายให้มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สารนิพนธ์ฉบับนี้ จะทำการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) โดยศึกษาทั้งบทความทางวิชาการ แนวคิดทฤษฎีต่างๆ ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา งานวิจัย วิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระ ความเห็นของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย รวมถึงการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ ได้ข้อสรุปผลการศึกษาดังต่อไปนี้ ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มาตรา 5 ความผิดฐานการกระทำความผิดฐานกระทำทรมาน มาตรา 6 ความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี และมาตรา 7 ความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย ให้การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหมายรวมถึงผู้กระทำการแทนเจ้าหน้าที่รัฐด้วย ควรมีการกำหนดให้การมีส่วนร่วมในการกระทำที่เป็นความผิดที่ได้กระทำภายใต้คำสั่งของผู้บังคับบัญชา ห้ามมิให้ยกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ในกระบวนการพิจารณา และควรกำหนดเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ผู้กระทำได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศแล้วไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนถ้าเคยถูกลงโทษตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศมาแล้ว ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้โดยคำนึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว โดยนำมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
รายละเอียด: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9337
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น