กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9351
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองทางสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS RELATING TO MEDIATION IN DISPUTES WITH RESPECT TO ADMINISTRATIVE CASES ON ENVIRONMENT
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤติน อินทร์ทอง
คำสำคัญ: การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
วิธีพิจารณาคดีปกครอง
คดีปกครอง
คดีสิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: กฤติน อินทร์ทอง. 2566. “ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองทางสิ่งแวดล้อม.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาทางกฏหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองทางสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฏีและความเป็นมา กฏหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรการทางกฏหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองทางสิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา และพัฒนาปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองทางสิ่งแวดล้อม ตามบทบัญญัติกฏหมายเกี่ยวกับกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยทำการศึกษากฏหมายไทยเปรียบเทียบกับกฏหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 และระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 ผู้วิจัยพบว่าการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านเพียงพอ เนื่องจากคดีปกครองที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีข้อเท็จจริงซับซ้อนมีรายละเอียดในคดีมาก โดยปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฏหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมในการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้ในแนวทางเดียวกัน จึงมีปัญหาทางกฏหมายดังนี้ ประเด็นแรก คือ ปัญหาการไม่มีบทบัญญัติของกฏหมายกำหนดหลักเกณฑ์การเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองทางสิ่งแวดล้อมของผู้เชี่ยวชาญ และประด็นที่สอง คือ ปัญหาการขยายระยะเวลาการสิ้นสุดกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งกฏหมายต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นต้น โดยมีบทบัญญัติในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าวให้เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในกระบวนการพิจารณาและระยะเวลาการสิ้นสุดกระบวนการ เพื่อตอบสนองต่อประโยชน์สาธารณะที่เหมาะสมชัดเจน
รายละเอียด: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9351
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
สารนิพนธ์ นายกฤติน อินทร์ทอง.pdf2.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น