Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9372
Title: การควบคุมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือให้รัฐต้องดำเนินการ หรือให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์
Other Titles: CONTROL OF THE PROVISION REQUIRED TO ISSUE THE REGULATION OR PROVIDED THE STATE TO OPERATE OR ALLOWED THE PEOPLE TO RECEIVE THE BENEFIT
Authors: พลอยไพลิน บริบุญวงษ์
Keywords: กฎหมายลำดับรอง
การออกกฎหมายลำดับรอง
ประเภทของกฎ
กฎที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: พลอยไพลิน บริบุญวงษ์. 2566. "การควบคุมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือให้รัฐต้องดำเนินการ หรือให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ (By-law) หรือให้รัฐต้องดำเนินการ หรือให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ (Advantage) มักมีปัญหาในเรื่องการมีผลใช้บังคับ (Law Enforcement) เนื่องจากฝ่ายบริหาร (the executive) หรือฝ่ายปกครอง (the Administration) ไม่สามารถออกกฎหรือดำเนินการอื่นใดเพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตามกฎหมายหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายได้ภายในระยะเวลาอันสมควร ซึ่งกลไกเร่งรัดให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองหรือกฎโดยเร็ว ตามนัยมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (Act of Law Drafting and Evaluation of Legal Achievement B.E. 2562 (2019)) ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (Rights and Liberties of People) เนื่องจากประชาชนที่รับภาระหรือผลร้ายหรือเสียสิทธิประโยชน์ไม่สามารถควบคุมผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนได้โดยตรง แต่จะทำได้เฉพาะกรณีที่มีการยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาลและศาลเห็นสมควรเท่านั้น โดยเหตุนี้ การศึกษาวิจัยในกรณีนี้จึงมุ่งเน้นการค้นหาแนวทางและนิติวิธีทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อควบคุมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือให้รัฐต้องดำเนินการ หรือให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ โดยทำการศึกษาทั้งในส่วนของแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่า มาตรการควบคุมภายในของฝ่ายบริหาร (Measure of Internal Control of the Executive ) ที่ใช้ในการควบคุมการออกกฎนั้นจะอาศัยกลไกของรัฐสภา (Parliamentary Mechanism) ซึ่งได้แก่ การตั้งกระทู้ถามรัฐบาล (Interpellation) และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (Vote of No-confidence) ตลอดจนการควบคุมและตรวจสอบโดยศาลยุติธรรม (Courts of Justice) หรือศาลปกครอง (Administrative Courts) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายนั้นอาจยังไม่เพียงพอต่อการให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนที่ต้องได้รับภาระหรือผลร้ายหรือเสียสิทธิประโยชน์ จึงจำเป็นต้องมีกลไกเพื่อควบคุมการมีผลใช้บังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองหรือได้รับสิทธิประโยชน์จากกฎหมายโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเห็นควรกำหนดให้มีบทบัญญัติให้อำนาจแก่ประชาชนสามารถควบคุมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอื่นใดได้โดยที่ประชาชนไม่ต้องฟ้องคดีต่อรัฐหรือเป็นคู่ความกับรัฐซึ่งการควบคุมในกรณีการมีผลใช้บังคับของกฎหมายโดยประชาชนนั้น อาจกำหนดให้คณะกรรมการกฤษฎีกา (Council of State) ทำหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่เป็นอันสิ้นผลบังคับหรือมีผลใช้บังคับได้โดยไม่มีการออกกฎหรือการดำเนินการอื่นใดก่อน ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เนื่องจากคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการให้ความเห็นทางกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ยังอาจกำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน (Ombudsman) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ (Independent Organisation) ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือประชาชนที่ต้องได้รับภาระหรือผลร้ายหรือเสียสิทธิประโยชน์จากการที่หน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการออกกฎหรือไม่ดำเนินการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการ โดยหากดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวแล้ว อาจทำให้การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการออกกฎมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ภาครัฐและประชาชนส่วนรวมได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9372
Appears in Collections:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.