Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9416
Title: ปัญหาการลงคะแนนเสียงเพื่อให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง
Other Titles: PRIBLEMS ON VOTING TO REMOVE A LOCAL COUNCILOR OR A LOCAL EXECUTIVE
Authors: วิมล สุกหอม
Keywords: การมีส่วนร่วม
การถอดถอนระดับท้องถิ่น
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: วิมล สุกหอม. 2556. “ปัญหาการลงคะแนนเสียงเพื่อให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่ง.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: การลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาลงคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ให้การเข้าชื่อถอดถอนบุคคลนั้นเป็นอันตกไป และจะร้องขอให้มีการลงคะแนนเพื่อถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกไม่ได้ ส่วมาตรา 23 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีมาลงคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นและมีคะแนนเสียงจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของผู้มีสิทธิที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป ให้บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันลงคะแนนเสียงจึงเกิดข้อบกพร่องของกฏหมายหากผู้มีสิทธิลงคะแนนมาลงคะแนนเสียงกึ่งหนึ่งพอดี การเข้าชื่อถอดถอนยังไม่ตก แต่จะดำเนินการต่อไปก็ไม่ได้ เพราะคะแนนเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งตามมาตรา 23 วรรคสอง หากเกิดกรณีดังกล่าวจะทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้บังคับกฏหมาย ส่วนจำนวนคะแนนเสียงที่จะให้สมาชิกสภาท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 23 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง มีจำนวนค่อนข้างสูง ในทางปฎิบัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ จะกระทำได้ยากมากที่จะลงคะแนนเสียงถอดถอนให้สำเร็จได้ และปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการลงคะแนนเสียงถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น คือ ใช้เกณฑ์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต้องมาลงคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด และต้องมีคะแนนเสียงเห็นด้วยให้ถอดถอนไม่น้อยกว่าสามในสี่ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะรณรงค์ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นให้พ้นจากตำแหน่งได้เพราะสมาชิกสภาท้องถิ่นได้รับเลือกตั้งมาเฉพาะเขตเลือกตั้งเท่านั้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9416
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.