บทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ ปีการศึกษา 2550
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู บทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ ปีการศึกษา 2550 โดย ผู้เขียน "ขนิษฐา เลี้ยงบำรุง"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาชุดตรวจ indirect ELLSA สำหรับการตรวจภาวะการติดเชื้อ Salmonella Typhi แบบเฉียบพลัน(2550) วิมล ชอบชื่นชม; ขนิษฐา เลี้ยงบำรุง; ศรินธร รักษ์มณี; สุรสา ลิมาคม; สุรสิทธิ์ สุวรรณสินธุ์ไข้ไทฟอยด์ ( typhoid fever ) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยไข้ไทฟอยด์ ทางน้ำเหลืองวิทยา นิยมใช้ Widal test กันอย่างแพร่หลายแต่วิธี Widal test มีความไวและความจำเพาะต่ำ นอกจากนี้ชุดตรวจด้วยวิธี ELISA ที่มีจำหน่ายทางการค้าเป็นการพัฒนาจาก S.Typhi สายพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับการติดเชื้อในประเทศไทยนัก ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาชุดตรวจ indirect ELISA สำหรับตรวจภาวะการติดเชื้อ S.Typhi แบบเฉียบพลันขึ้น โดยพบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับชุดทดสอบ เป็นดังนี้ สารละลายบัพเฟอร์ที่ใช้เป็น coating buffer คือ carbonate buffer pH 9.6 แอนติเจนที่ใช้คือส่วน lipopolysacharide ของ S.Typhi โดยการเตรียมเป็น crude extract ของ S.Typhi โดยนึ่งภายใต้แรงดันก่อนทำให้เซลล์ของ S.Typhi แตกด้วยวิธี sonication ความเข้มข้นของแอนติเจนที่เหมาะสมคือ 30 µg/ml เคลือบแอนติเจนที่ 4๐C เป็นเวลา 16-24 ชั่วโมง โดยใช้ 10% BSA เป็น blocking solution การเจือจางซีรั่มทดสอบที่เหมาะสมคือ 1:100 ด้วยสารละลาย 1%BSA-PBST ทำปฏิกิริยาที่ 37๐C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง สาร conjugate ที่ใช้คือ anti-Human IgM ที่ติดฉลากด้วย peroxidase การเจือจางที่เหมาะสมคือ 1:500 ทำปฏิกิริยาที่ 37๐C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ใช้ O-phenylenediamine (OPD) เป็นสารตั้งต้นและวัดสีของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ค่าการดูดกลืนแสงที่ 492 นาโนเมตร