บทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ ปีการศึกษา 2550
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู บทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ ปีการศึกษา 2550 โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 40
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพยากรณ์ดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือนของกรุงเทพมหานคร:กรณีศึกษาเปรียบเทียบโดยวิธีการของบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการของโฮลต์ และวิธีการพยากรณ์รวม(2550) วราฤทธิ์, พานิชกิจโกศลกุลวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อพยากรณ์ดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือนของกรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ 3 วิธี คือ วิธีการของบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการของโฮลต์ และวิธีการพยากรณ์รวมโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอย และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการพยากรณ์ด้วยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percent Error: MAPE) ที่ต่ำที่สุด พบว่า วิธีการของโฮลต์เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับลักษณะข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือนของกรุงเทพมหานครมากที่สุดรายการ การศึกษาความหนาแน่นต่อหน่วยพักอาศัยเพื่อสภาวะความสบายทางอุณหภูมิของอาคารประเภทแฟลต(2550) กัญจนี ญาณะชัยโครงการวิจัย นี้เป็นการหาคำตอบในเรื่องการกำหนดค่าความหนาแน่นเพื่อการอยู่อาศัยที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ที่มีอย่างเฉพาะเจาะจง รวมทั้งพฤติกรรมในการประกอบกิจกรรมต่างๆ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสถานที่ที่นำมาพิจารณา เริ่มต้นขบวนการศึกษาโดยการค้นหาค่าปริมาตรที่ว่างที่เหมาะสมของแต่ละพฤติกรรม ภายใต้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าปริมาตรดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การสรุปผลการวิจัยในเรื่องการกำหนดค่าความหนาแน่นในการอยู่อาศัยต่อหน่วย รวมทั้งยกแฟลตดินแดงเป็นกรณีศึกษา เพื่อการเปรียบเทียบค่าความหนาแน่นที่หน่วยราชการกำหนด 1. ศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ในแต่ละเดือน แต่ละปี และราย 3 ชั่วโมง 2. ศึกษาขบวนการชีวะภาพของการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายของมนุษย์ผู้ชาย ซึ่งนำไปสู่การผลิตความร้อน ที่แปรตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นขณะนั้น เช่น อัตราค่าเฉลี่ยการเผาผลาญอาหารต่อคน ที่แปรตามพฤติกรรม ของการนอนหลับ มีค่าเท่ากับ 70 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง, การนั่งพักผ่อน มีค่าเท่ากับ 100 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง และพฤติกรรมการทำงานเบาๆมีค่าเท่ากับ 120 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง 3. ศึกษาขบวนการแลกเปลี่ยนความร้อน ระหว่างผิวกายรอบนอก ของมนุษย์และอากาศที่อยู่รอบๆโดยการแผ่รังสี การพาความร้อน และการระเหยกลายเป็นไอ 4. ศึกษาผลที่เกิดเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศท้องถิ่น ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพของบริเวณที่ตั้งอาคารในโครงการ รวมทั้งปริมาตรของหน่วยพักอาศัย 5. ศึกษาสองทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ทฤษฎีแรกเกี่ยวกับดัชนีสภาวะความสบายทางอุณหภูมิ เรียก The index of thermal stress (ITS.) ซึ่งเป็นทฤษฎีการจำลองชีวะภาพที่อธิบายถึงค่ากลไกความร้อนที่เปลี่ยนแปลงระหว่างร่างกายและสภาพแวดล้อม โดยใช้ทฤษฎี Thermal Stress Index (ITS.) ดังแสดงข้างล่าง S = M – 0.2 (m-100) V 0.3 ( ta – 350 ) e 0.6( E/Emax – 0.12 ) และทฤษฎีสภาวะความสบายด้วยการระบายอากาศส่วนทฤษฎีที่สองจะเกี่ยวกับสภาวะความสบายที่เกิดจากการระบายความร้อน แสดงถึงสภาพของร่างกายที่ไม่มีความชื้นที่ผิวรอบนอกของร่างกาย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะของอากาศที่เคลื่อนที่ในขณะนั้น อัตราการพาความร้อน และปริมาตรอากาศที่แวดล้อม S = (1300 x ACH x Volumetric Space/Person x T) / 3600 6. สรุปผลค่าความหนาแน่นของผู้อาศัยต่อหน่วยโดยนำค่าผลสรุปปริมาตรต่อคน นำมาใช้กับปริมาตรของห้องอเนกประสงค์ และในที่สุดนำมาเปรียบเทียบค่าความหนาแน่นที่หน่วยราชการกำหนดรายการ การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบและเนื้อหารายการวิทยุชุมชน ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(2550) บุษบา หินเธาว์การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบริบทชุมชน ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีต่อการเปิดรับข่าวสารจากวิทยุชุมชน ตลอดจนรูปแบบและเนื้อหารายการวิทยุชุมชน FM 100.25 MHz. ศึกษาปัจจัยในการกำหนดรูปแบบและเนื้อหารายการ วิธีการดำเนินงานและกระบวนการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมในรายการวิทยุชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) และการจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ตัวอย่างประชากรคือประชาชนตำบลหัวรอ ผลการศึกษา พบว่า สภาพสังคมของตำบลหัวรอส่วนใหญ่เป็นสังคมแบบชนบท ยกเว้นบางชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนเมือง ผู้ที่รับฟังรายการวิทยุชุมชนส่วนมาก เป็นนักศึกษา แม่บ้าน และข้าราชการบำนาญ ส่วนมากฟังวิทยุชุมชนที่บ้านในช่วงเย็น ประชาชนตำบลหัวรอมีความเห็นว่า วิทยุชุมชน FM 100.25 MHz. มีรูปแบบและเนื้อหา ที่น่าสนใจและเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ผู้ดำเนินรายการมีความรู้ในเรื่องที่ดำเนินรายการเป็นอย่างดี มีอัธยาศัยดีและเป็นกันเองกับผู้ฟัง เนื้อหารายการประกอบด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารของท้องถิ่นและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคม เนื้อหายืดหยุ่นไม่ตายตัว มีรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ โดยมากใช้รูปแบบการพูดคุยสลับกับการเปิดเพลงและรายการข่าว ประชาชนเห็นว่า รายการวิทยุชุมชนสามารถสร้างความสัมพันธ์ให้กับชุมชน และเพิ่มพูนทักษะใน การประกอบอาชีพ ปัจจัยในการกำหนดรูปแบบและเนื้อหารายการวิทยุชุมชน คือ ผู้ฟังรายการ ผู้จัดรายการ หน่วยงานต้นสังกัดของผู้จัดรายการ คณะกรรมการบริหารวิทยุชุมชนตำบลหัวรอ กฎและระเบียบของวิทยุชุมชนตำบลหัวรอ และกระบวนการบริหารงาน จะใช้วิธีดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม โดยผู้ฟังจะมีส่วนร่วมในการจัดรายการ โดยการแสดงความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ แจ้งข่าวสาร ขอความช่วยเหลือ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ และเพื่อระบายความอึดอัดใจ โดยใช้วิธีโทรศัพท์ ส่งจดหมาย และเดินทางมาด้วยตนเองที่สถานีวิทยุฯรายการ การสร้างและทดสอบเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์(2550) สายหยุด, อุไรสกุลการวิจัย เรื่องการสร้างและทดสอบเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยแบบทดลอง วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อสร้างและทดสอบเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้เครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสร้างเป็นแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์พร้อมวิธีการวัดและเกณฑ์การวัดความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาจิตวิทยาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1,ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2548และภาคเรียนที่ 1,ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2549 กลุ่มตัวอย่าง ที่ได้มาใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)เพื่อให้ได้ข้อมูลจำนวนมาก ผลการวิจัยสรุปว่า ได้วิธีการสร้างเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบประกอบด้วยภาพการ์ตูน จำนวนโดยประมาณ 7 ช่องและสร้างเงื่อนไขในการเติมภาพทั้งแผ่นให้สมบรูณ์ เป็นเงื่อนไขที่กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หลังจากนั้นนำข้อมูลจากแบบทดสอบไปสรุปหาเกณฑ์ในการวัดความคิดสร้างสรรค์ได้เกณฑ์การวัดความคิดสร้างสรรค์ 6 ด้าน ได้แก่ เกณฑ์การวัดความคิดคล่องตัว , เกณฑ์การวัดความคิดยืดหยุ่น, เกณฑ์การวัดความคิดริเริ่ม, เกณฑ์การวัดความคิดละเอียดลออ, เกณฑ์การวัดความคิดเชื่อมโยง และเกณฑ์การวัดความคิดพลิกเแพลง การกำหนดน้ำหนักคะแนนความคิดสร้างสรรค์แบ่งได้ 3 กลุ่ม กลุ่มที่1 มีคำตอบไม่ซ้ำกับคนอื่นได้คะแนน 5 คะแนน กลุ่มที่ 2 มีคำตอบซ้ำกับคนอื่น ได้คะแนน 3 คะแนน กลุ่มที่ 3 ไม่มีคำตอบ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ได้คะแนน 1 คะแนนรายการ การใช้แบบจำลองส่วนประสมทางการตลาดเพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน(2550) วิชิต, อู่อ้นการวิจัยเรื่องการใช้แบบจำลองส่วนประสมทางการตลาดเพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรี ได้แก่ ปัจจัยทางด้านการจัดการการศึกษา ปัจจัยทางด้านการกำหนดราคา ปัจจัยทางด้านการวางทำเลที่ตั้ง และปัจจัยทางด้านการส่งเสริมชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรีอยู่ในระดับมากทุกปัจจัยรายการ การศึกษาผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูง(2550) สำเริง, ฮินท่าไม้ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวงในระดับแรงดัน 24 และ 69 kV ด้วยการสุ่มวัด โดยพิจารณาตามรูปแบบการจัดเรียงสายเฟสของสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงตามที่มีใช้งาน และนำผลที่ได้จากการตรวจวัดไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางแม่เหล็กไฟฟ้า จากผลการตรวจวัด พบว่าสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงมีค่าต่ำกว่าขีดจำกัดตามมาตรฐานด้านสุขภาพของ ICNIRP และเมื่อทำการคำนวณปริมาณสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงตามหลักการสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าคงตัว เพื่อเสนอวิธีการลดสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงด้วยวิธีเชิงรุก โดยการเพิ่มวงจรสายตัวนำอีกหนึ่งวงจรเดินร่วมไปตามแนวเดินสายเดียวกันและจัดเรียงสายเฟสในลักษณะที่ทำให้เกิดการสมดุลทางลำดับเฟส พบว่าสามารถลดปริมาณสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าลงได้ 50 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับรายการ ศึกษาประสิทธิผลของการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาองค์การ กรณีศึกษาของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร(2550) นิลุบล ศิวบวรวัฒนาการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของการพัฒนาองค์การของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กรุงเทพมหานคร และเพื่อทราบถึงประโยชน์ของการอบรมสัมมนาการพัฒนาองค์การ โดยเก็บข้อมูล จำนวน 2020 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นคำถามแบบเลือกตอบ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งสถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าสถิติพื้นฐานร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานกรุงเทพมหานคร มีระดับความคิดเห็นของประโยชน์การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาองค์ได้แก่ มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน มีข้อมูลที่ดีขึ้น มีส่วนร่วมในการทำงานและการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. โครงการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาองค์กรส่งผลให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทำงาน 3. ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน และอายุงานไม่ส่ง ผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการกรุงเทพมหานครรายการ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางน้ำในเขตการศึกษาพื้นฐานกรุงเทพมหานครเขต 2(2550) เฉลิมเกียรติ ดุลสัมพันธ์; สุภาคย์ ดุลสัมพันธ์; นิยม บุญพิคำ; วิมลฤดี วันสอน; นภาพร สิงหทัต; อรทรรศน์ กุศลกุลคุณภาพน้ำระหว่างเดือนตุลาคม 2548 ถึงกันยายน 2549 พบว่า คลองรังสิตจะมีคุณภาพน้ำ ดีที่สุด รองลงมาคือคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวตามลำดับ ตะกอนดินในคลองจะมีการสะสมอินทรีย์วัตถุในปริมาณที่น้อย ปริมาณอินทรีย์วัตถุและฟอสฟอรัสสะสมมากที่สุดในคลองลาดพร้าว ไนโตรเจนสะสมมากที่สุดในคลองแสนแสบ ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณคลองจะมีลักษณะการดำรงค์ชีวิตที่คล้ายกัน ขยะจะทิ้งลงในที่จัดเก็บของกรุงเทพมหานคร ของเสีย น้ำเสียจะถูกทิ้งลงในคลองโดยตรงโดยไม่มีการบำบัดก่อนยกเว้นที่คลองแสนแสบ ประชาชนจะมีรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกัน ประชาชนริมคลองแสนแสบจะมีรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดกิจกรรมด้านการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากที่สุดรายการ การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์(2550) ชำนิ กิ่งแก้ว; อุษา คะเณ; ถาวรินทร์ คงมณี; สุกัญญา ใจเย็นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์ ลดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์ และพัฒนารูปแบบกระบวนการผลิตใหม่โดยลดความสูญเปล่า (การรอคอย) โดยศึกษาประสิทธิภาพการผลิต ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และสรุปวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยลดความสูญเปล่า (การรอคอย) ในกระบวนการผลิต โดยศึกษาเฉพาะแผนกบรรจุ ของบริษัทแห่งหนึ่งใน จ.สุราษฎร์ธานี จากนั้นนำผลการปรับปรุงประสิทธิภาพและองค์ความรู้ไปถ่ายทอดแก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาแก้ว (กลุ่มกะโรม) ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการผลิตใหม่ที่ลดความสูญเปล่า (การรอคอย) โดยใช้แนวคิดการลดการรอคอยที่มีสาเหตุมาจาก คน เครื่องจักร และวัตถุดิบ จากการศึกษาพบว่า บริษัทดังกล่าว มีการรอคอยที่มีสาเหตุมาจากเครื่องจักร ดังนี้ เครื่องขึ้นรูปกล่อง เครื่องล้างขวด เครื่องปิดฉลากแสตมป์ เครื่องบรรจุปิดฝา Kettner 1 เครื่องปิดฝากล่อง Kettner 2 รอไอ เตรียมเครื่อง ไฟฟ้าดับ ปรับเครื่อง ปั๊มลมขัดข้อง และฝนตกหนัก สาเหตุมาจากวัตถุดิบ ดังนี้ รอแสตมป์ แสตมป์หมด น้ำสุราขุ่น และเปลี่ยนน้ำสุรา ส่วนสาเหตุจากคนไม่มี หลังจากทำการปรับปรุงเพื่อลดการรอคอยในกระบวนการผลิต สามารถลดอัตราส่วนการรอคอยต่อเวลาที่ใช้ในการบรรจุ จาก 4.55 คงเหลือ 2.45 หลังจากนำผลการปรับปรุงประสิทธิภาพและองค์ความรู้ไปถ่ายทอดแก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาแก้ว (กลุ่มกะโรม) พบว่า มีการรอคอยที่มีสาเหตุมาจากคน ดังนี้ คนงาน (ไม่ว่าง) สาเหตุมาจากเครื่องจักร ดังนี้ รถส่งผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดเตา (ล้นขณะกลั่น) เตรียมเครื่อง และอุณหภูมิเตา สาเหตุมาจากวัตถุดิบ ดังนี้ น้ำตาลมะพร้าว (รอเงิน) ไม้ฟืน (รอแห้ง) แสตมป์ (Online เสีย) น้ำประปา (หน้าแล้ง, ไม่ไหล) และขวด (รอแห้ง) จากสาเหตุทั้งหมดสามารถสรุปวิธีการปรับปรุงกับกลุ่ม ดังนี้ สาเหตุจากคน วางแผนการกลั่นใหม่ ควรจัดเตรียมเครื่องจักร และวัตถุดิบให้พร้อมเสมอ และควรฝึกให้สมาชิกมีทักษะหลายด้าน เพื่อสามารถสลับการทำงานในหน้าที่อื่น กรณีมีสมาชิกมาไม่ครบ สาเหตุจากเครื่องจักร ควบคุมอุณหภูมิขณะกลั่นให้เหมาะสม ควรหมั่นตรวจสอบฟืนอย่างสม่ำเสมอ สาเหตุจากวัตถุดิบ วางแผนการเก็บเงินใหม่ ควรมีมาตรการกรณีกับร้านค้าที่ไม่สามารถชำระเงินตามกำหนด และควรให้สิทธิพิเศษแก่ร้านค้าที่ชำระตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ วางแผนการเก็บไม้ฟืนใหม่ ควรมีการจัดหาฟืนให้สามารถทำการกลั่นได้อย่างต่อเนื่อง เวลาจัดเก็บควรจัดเก็บในที่ที่ไม่โดนฝน อากาศปลอดโปร่ง สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ทุกเมื่อ วางแผนการสั่งซื้อแสตมป์ใหม่ ควรสั่งซื้อในปริมาณที่เหมาะสมกับการผลิต และเมื่อถึงเวลาสั่งซื้อควรโทรศัพท์ไปก่อนล่วงหน้าเพื่อเช็คระบบ Online หลังจากทำการปรับปรุงเพื่อลดการรอคอยในกระบวนการผลิต สามารถลดอัตราส่วนการรอคอยต่อเวลาที่ใช้ในการผลิต จาก 1.30 คงเหลือ 0.51รายการ การรับรู้และความคิดเห็นของนิสิตต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน(2550) วิชาญ, วงษ์สังข์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ของนิสิตต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 2) ความคิดเห็นของนิสิตต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 1,864 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของนิสิตต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า นิสิตมีการรับรู้ในเรื่องเกี่ยวกับสารเสพติดอยู่ในระดับมาก เนื้อหาที่นิสิตรับรู้มากที่สุดคือ โทษและอันตรายของสารเสพติด เนื้อหาที่รับรู้น้อยที่สุดได้แก่ วิธีการให้ความช่วยเหลือ/บำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด นิสิตมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสารเสพติดจากสื่อประชา สัมพันธ์ในระดับปานกลาง สื่อที่นิสิตมีการรับรู้มากที่สุดได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อที่รับรู้น้อยที่สุดได้แก่ สื่อประชา สัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย 2) ความคิดเห็นของนิสิตต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพแวดล้อมในสังคมที่เป็นสาเหตุทำให้ปัญหาสารเสพติดมีเพิ่มมากขึ้นนิสิตมีความเห็นว่ามีสาเหตุมากที่สุดจากแหล่งสถานบริการบันเทิงยามค่ำคืน มีความเห็นว่าสาเหตุน้อยที่สุดได้แก่ การลอกเลียนแบบศิลปินดาราผู้มีชื่อเสียง ด้านสถานที่ที่เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมการป้องกันปัญหาสารเสพติดได้แก่ อาคารศูนย์เรียนรวม มีความเหมาะสมน้อยที่สุดได้แก่ บริเวณสนามกีฬา และด้านรูปแบบและแนวคิดการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาสารเสพติด นิสิตมีความเห็นว่าการเผยแพร่ความรู้ข่าวสารและกิจกรรมเรื่องสารเสพติดดีที่สุดได้แก่ การผลิตรายการโทรทัศน์/ประชาสัมพันธ์ผ่าน KU Channel นิสิตมีความเห็นว่าดีน้อยที่สุดได้แก่ การจัดเวทีอภิปรายระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาสารเสพติดรายการ การศึกษาวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร(2550) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจการวิจัยเรื่อง “การศึกษาวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาประเภทผู้รับใบอนุญาต และอายุการก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ประชากร คืออาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยที่มีสถานที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 4,700 คน สามารถกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 369 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนด้วยประเภทผู้รับใบอนุญาต เก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยสรุปว่าอาจารย์ประจำสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาโท ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ตนสังกัดอยู่ในช่วง 5-10 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 20,001–30,000 บาท เป็นอาจารย์ประจำสายวิชาการ ไม่มีตำแหน่งทางการบริหารและตำแหน่งทางวิชาการ ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตประเภทนิติบุคคล และ ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยที่มีอายุมากกว่า 30 ปี วัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเภทผู้รับใบอนุญาตไม่มีผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร แต่อายุการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมีผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครรายการ ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนิสิต-นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร(2550) สุภาวดี, ฮะมะณีการศึกษา “ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนิสิต-นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ควรทดสอบสมมติฐานและศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนิสิต-นักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากนิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 19-22 ปี ไม่เป็นนักศึกษากองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้รับรายได้จากบิดา-มารดาโดยเฉลี่ยเดือนละ3,000-4,999 บาทโดยผู้ปกครองมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000-39,999 บาท ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์ยี่ห้อ Nokia ระบบ Orange ชำระค่าบริการโดยใช้บัตรเติมเงิน เวลาที่ใช้เฉลี่ย 5-14 นาทีต่อครั้ง ในช่วงเวลา 18.00-21.00 น. โดยใช้ 3-6 ครั้งต่อวันและใช้ติดต่อกับเพื่อนมากที่สุด เหตุผลสำคัญที่เลือกใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ลำดับแรกคือ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว บริการเสริมที่ใช้มากที่สุดคือการแสดงหมายเลขรับสายและส่วนใหญ่เห็นว่าการมีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิ่งจำเป็น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์โทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้งาน สำหรับปัจจัยด้านราคากลุ่มตัวอย่างจะให้ความสำคัญเรื่องราคาเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจัยด้านสถานที่และช่องทางการจัดจำหน่ายกลุ่มตัวอย่างจะให้ความสำคัญเรื่องความน่าเชื่อถือของร้านที่จำหน่ายและปัจจัยด้านการส่งเสริมการขายให้ความสำคัญในเรื่องการบริการหลังการขาย จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพเป็นนักศึกษากองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของนักศึกษา มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 ปัจจัย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับฟังก์ชั่นการใช้งานและตรายี่ห้อ ด้านราคาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และด้านการส่งเสริมการขายเกี่ยวกับการมีโบนัสพิเศษ การศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พบว่าสัญญาณเครือข่ายไม่ชัดเจน และราคาเครื่องโทรศัพท์ใหม่แพงรายการ กำลังต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารโดยวิธีการผลักแบบรวมโหมดด้วย SRSS(2550) ไพบูลย์ ปัญญาคะโปบทความนี้เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์หากำลังต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารด้วยวิธีการผลักอาคาร โดยที่การกระจายแรงกระทำคำนวณได้จากผลของการรวมแรงเฉือนในแต่ละรูปแบบการสั่น (mode shape) ด้วยวิธีการหารากที่สองของผลรวมกำลังสอง (The Square Root of the Sum of the Squares, SRSS) เพื่อใช้ในวิเคราะห์หากำลังต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารโดยวิธีการออกแบบเชิงพฤติกรรม ผลที่ได้แสดงในรูปแบบของ ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังต้านทานและการเคลื่อนที่ของอาคาร พร้อมทั้งค่าระดับความเสียหายของอาคารตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์สำหรับอาคารสูง 15 ชั้นพบว่า ค่าความเสียหายของอาคารที่ระดับชั้นที่สองถึงชั้นที่สี่ มีค่าสูงกว่าในชั้นอื่นๆ และค่าระดับความเสียหายสำหรับแรงกระทำคำนวณจากผลของการรวมโหมดที่สูงขึ้นไปให้ค่าระดับความเสียหายที่มากขึ้นจากโหมดแรก เนื่องจากมีการคำนึงถึงผลของการสั่นในรูปแบบการสั่นอื่นด้วย ดังนั้น วิธีการผลักอาคารแบบรวมโหมดด้วย SRSS จึงให้ผลที่น่าเชื่อถือกว่าวิธีการผลักแบบที่พิจารณาเพียงรูปแบบการสั่นแบบแรกรายการ ความพึงพอใจ ความเชื่อมั่นด้านการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและความสามารถที่พึงประสงค์ของตำรวจท่องเที่ยว(2550) ปาจรีย์ ผลประเสริฐ และคณะวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการให้บริการของตำรวจท่องเที่ยว 2) ความเชื่อมั่นด้านการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และ 3) ความสามารถที่พึงประสงค์ของตำรวจท่องเที่ยว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยว ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการท่องเที่ยว และตำรวจท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของตำรวจท่องเที่ยวในระดับมากและมีความแตกต่างกันตามภูมิภาค มีความเชื่อมั่นด้านการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในระดับปานกลางและมีความแตกต่างกันตามภูมิภาค สำหรับความสามารถที่พึงประสงค์ของตำรวจท่องเที่ยว 8 ประการ คือ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้ดี มีจิตสำนึกในการให้บริการที่ดี มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ มีทักษะในการติดต่อสื่อสาร ประสานงานได้ดี มีจริยธรรม ประพฤติตนเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดี มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีบุคลิกภาพน่าเชื่อและน่าไว้วางใจ และมีความสามารถและทักษะในการแก้ไขปัญหารายการ การหาน้ำหนักต่ำสุดที่เหมาะสม ในการออกแบบโครงข้อหมุนโดยระเบียบวิธีเลียนแบบพันธุศาสตร์(2550) วิรัช, เลิศไพฑูรย์พันธ์การวิจัยนี้ศึกษากลวิธีการใช้ระเบียบวิธีเลียนแบบพันธุศาสตร์ ในการออกแบบโครงหลังคาเหล็ก ซึ่งโดยทั่วไปการออกแบบโครงหลังคาเหล็กขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้โครงสร้างที่มีขนาดและรูปร่างที่เหมาะสม นั้นจะต้องอาศัยประสบการณ์ในการออกแบบของวิศวกรผู้ออกแบบ ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากและยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าโครงสร้างที่ได้เป็นโครงสร้างที่เหมาะสม การวิจัยนี้เลือกใช้ระเบียบวิธีเลียนแบบพันธุศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการค้นหาคำตอบ และเพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ได้จริงในการออกแบบ การศึกษานี้จึงใช้ตัวแปรจริง ที่สอดคล้องกับการใช้งาน เช่น ชนิดของวัสดุ คุณสมบัติวัสดุ รูปร่างและลักษณะของโครงสร้าง และใช้ข้อกำหนดในการออกแบบตามมาตรฐาน AISC (LRFD) เป็นข้อจำกัดของปัญหา โดยให้น้ำหนักของโครงสร้างที่ต่ำที่สุดเป็นเป้าหมายของปัญหา จากการศึกษาพบว่าการออกแบบด้วยระเบียบวิธีเลียนแบบพันธุศาสตร์โดยใช้ตัวแปรจริงนี้สามารถให้คำตอบสำหรับการออกแบบที่เหมาะสมสัมบูรณ์หรือใกล้คำตอบที่เหมาะสมสัมบูรณ์ได้ โดยที่ประสิทธิภาพของการค้นหาคำตอบที่เหมาะสมขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น จำนวนตัวแปร จำนวนประชากร รวมไปถึงปัจจัยทางเทคนิคของระเบียบวิธีเลียนแบบพันธุศาสตร์รายการ แนวทางการปรับปรุงการใช้พลังงานในอาคารสยามบรมราชกุมารี(2550) กนกวรรณ อุสันโนปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยรวมของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีการใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดหาพลังงาน และ สร้างแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน ในการนี้ก่อให้เกิดผลกระทบตามมาต่อสภาพแวดล้อมและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ หากปริมาณการใช้ยังเพิ่มสูงขึ้นต่อไป ในอนาคตประเทศไทยอาจประสบกับภาวะการขาดแคลนพลังงาน ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และระบบเศรษฐกิจในระดับชาติได้ อาคารสยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นอาคารเรียนและสำนักงานขนาดใหญ่อาคารหนึ่ง มีพื้นที่ใช้สอยรวม 27,417 ตารางเมตร มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่า 2,000,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี การวิเคราะห์และทดสอบเพื่อหาสาเหตุความสิ้นเปลืองพลังงาน และการแก้ปัญหาโดยวิธีการที่เหมาะสม จะเป็นแนวทางในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารให้แก่เจ้าของอาคารอื่นๆที่มีขนาดและลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกันได้ นอกจากนี้ยังเป็นกรณีศึกษาสำหรับผู้เกี่ยวข้องได้เตรียมการวางแผน และออกแบบอาคารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ความสิ้นเปลืองพลังงานส่วนใหญ่ของอาคารสยามบรมราชกุมารี มีสาเหตุมาจาก ความร้อนของเครื่องปรับอากาศที่ระบายออกทาง Condensing Unit ซึ่งตั้งอยู่ที่ระเบียงด้านทิศเหนือและทิศใต้ของอาคาร และติดกับผนังกระจกของห้องที่ทำการปรับอากาศ ทำให้อุณหภูมิผิวกระจกสูงขึ้นและส่งผ่านความร้อนกลับเข้าสู่ภายในห้อง เป็นภาระการทำความเย็นแก่เครื่องปรับอากาศอีกครั้งหนึ่ง แสงแดดที่กระทำต่ออาคารด้านทิศใต้และทิศตะวันตก ส่งผลต่อภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการใช้แสงประดิษฐ์ที่ไม่สัมพันธ์กับความต้องการใช้งาน ทั้งความเข้มในการส่องสว่าง และการกระจายแสง การไม่แบ่งกลุ่มการใช้งานในระบบแสงสว่างและไม่มีการใช้สัญลักษณ์ให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ใช้อาคาร ทางเดินภายในอาคารที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติได้ ทำให้ความสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในระบบแสงสว่างเพิ่มขึ้น ในงานวิจัยนี้ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา โดยติดตั้งปล่องระบายความร้อนให้กับ Condensing Unit ทุกตัว เพื่อระบายความร้อนออกสู่ภายนอกอาคารโดยตรง การติดตั้งอุปกรณ์กันแดดให้แก่อาคารด้านทิศใต้และทิศตะวันตก เพื่อป้องกันการแผ่รังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์ การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้แสงประดิษฐ์ทั้งการกระจายแสง และการใช้อุปกรณ์ในระบบ แสงประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูง และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อช่วยลดค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าลง แนวทางแก้ปัญหาในประเด็นต่างๆที่ได้นำเสนอ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ผลตอบแทนในการลงทุนควบคู่ไปด้วย เพื่อเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความเหมาะสมสูงที่สุด สรุปได้คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้แสงประดิษฐ์ ถึงแม้จะใช้งบประมาณในการลงทุนสูง แต่ให้ผลตอบแทนในการลงทุนเร็วที่สุด คือ 1 ปี 5 เดือน และสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าต่อปีได้มากกว่าวิธีอื่น การติดตั้งปล่องระบายความร้อนสามารถคืนทุนได้ในเวลา 2 ปี การปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์กันแดดด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก ใช้เวลาในการคืนทุนมากกว่า 10 ปี ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากอุปกรณ์กันแดดเดิมของอาคารนี้ ซึ่งเป็นกันสาด และระเบียงทางเดิน ต่างก็มีประสิทธิภาพในการกันแดดได้ดีในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ส่วนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั้น มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ประกอบกับแผง solar cell มีอายุการใช้งานที่จำกัด ในกรณีนี้จึงไม่เหมาะสมในการลงทุนรายการ การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์(2550) ศิวพันธุ์, ชูอินทร์การศึกษาเรื่องการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการประเมินความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการจราจรบนถนนในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร และนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ได้ไปพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บตัวอย่างคุณภาพอากาศได้แก่ ความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ตรวจวัดความเร็วลม เป็นค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงพร้อมทั้งตรวจวัดปริมาณและความเร็วรถแยกประเภท ได้แก่ รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบรรทุกขนาดเล็กและรถบรรทุกขนาดใหญ่ ศึกษาโครงสร้างของถนนและช่องว่างที่สามารถระบายสารมลพิษทางอากาศออกนอกถนนได้ นำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยอาศัยพื้นฐานของแบบจำลองแบบกล่องและหลักการวิเคราะห์ความถดถอย แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมจะผ่านการยอมรับทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งเป็นระดับที่ดีที่สุดสำหรับการศึกษาทางด้านคุณภาพอากาศ และให้ค่า R2 ที่สูง แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถใช้ประมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ อนุภาคฝุ่น และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์บนถนนในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ได้ โดยมีค่า R2 เท่ากับ เท่ากับ 0.907 0.618 และ 0.541 ตามลำดับ และนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในชื่อ “Rattanakosin Air Model : RAM” เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งาน ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศคือ ปริมาณรถแต่ละชนิด ซึ่งความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ขึ้นกับจำนวนรถโดยสารส่วนบุคคลมากที่สุด ความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่นและก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ขึ้นกับรถบรรทุกขนาดใหญ่มากที่สุด ส่วนโครงสร้างถนนและความเร็วลมไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่ได้จากการตรวจวัดจริง แต่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ใช้ในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อประมาณคุณภาพอากาศในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์รายการ ความชุกชุมของชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก สุราษฎร์ธานี(2550) ธีรพล, ทองเพชรการศึกษาความชุกชุมของชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสกสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกชุม (Abundance) และจำนวนของชนิดนก ในอุทยานแห่งชาติเขาสก พื้นที่ศึกษาคือบริเวณโดยรอบศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวถึงน้ำตกบางหัวแรดระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2548 ถึง เดือนมิถุนายน 2549 การจำแนกหมวดหมู่ใช้การจัดจำแนกทางชีวเคมี ผลการวิจัย พบนกทั้งหมด 145 ชนิด จาก 11 อันดับ 30 วงศ์ วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์นกปรอด (Family Pycnonotidae) พบจำนวน 15 ชนิด มีชนิดนกที่อยู่ในสถานภาพตามทะเบียนรายการชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ 2 ชนิด สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 2 ชนิด และสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม 8 ชนิด นกที่มีความชุกชุมสูงมากจำนวน 16 ชนิด นกที่มีความชุกชุมมาก จำนวน 14 ชนิด นกที่มีความชุกชุมปานกลาง จำนวน 32 ชนิด นกที่มีความชุกชุมค่อนข้างน้อย จำนวน 51 ชนิด และ นกที่มีความชุกชุมน้อย จำนวน 32 ชนิด นกที่พบได้ตลอดปีหรือทุกครั้งที่สำรวจ มีจำนวน 13 ชนิด เดือนที่พบชนิดนกมากที่สุด คือเดือนกุมภาพันธ์ 2549 รองลงมา คือ เดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2549 ส่วนเดือนที่พบน้อยที่สุด คือเดือน กรกฎาคม 2548 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับจำนวนชนิดนกมีทั้งความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันและในทางตรงกันข้าม และเมื่อทดสอบระดับความสัมพันธ์ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันรายการ สีสกัดจากใบมังคุดเพื่อการมัดย้อมและบาติก(2550) เสาวนิตย์ กาญจนรัตน์มังคุดเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกมากที่สุดในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดใบมังคุดจึงถูกนำมาสกัดทำเป็นสีย้อมผ้าใช้ในงานหัตถกรรมสิ่งทอพื้นบ้าน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดสีจากใบมังคุดใช้เป็นสีสำหรับทำมัดย้อมและทำบาติกอย่างเป็นระบบ โดยวิธีการต้มใบมังคุดสด ใบมังคุดสดหมัก และใบมังคุดสดต้มแล้วหมัก (เวลาในการหมัก 9 วัน) แล้วกรองแยกน้ำกับกากใบมังคุด น้ำสีที่ได้นำมาย้อมร้อนและย้อมเย็นลงบนผ้าดิบไม่ฟอก และเพื่อให้สีติดบนผ้าได้ทนนานจึงนำผ้าจุ่มลงในน้ำปูนขาวซึ่งเป็นสารช่วยติดสีและปรับสภาพความเป็นกรดด่าง เครื่องวัดค่าความเข้มของสีระบบ CIE ถูกนำมาใช้ในการวัดค่าความเข้มข้นน้ำสีก่อนย้อมลงบนผ้า สีบนผ้าหลังการย้อมร้อน และย้อมเย็น จากการทดลองจะพบว่าน้ำสีก่อนย้อมจากการต้มใบสดเป็นสีน้ำตาลแต่ให้สีบนผ้าจากการย้อมร้อนและย้อมเย็นเป็นสีน้ำตาลแดงและสีส้มตามลำดับ ในขณะที่การต้มใบสดหมักได้น้ำสีย้อมเป็นสีน้ำตาลเข้มซึ่งให้สีบนผ้าหลังย้อมร้อนเป็นสีน้ำตาลคล้ำและสีบนผ้าหลังย้อมเย็นเป็นสีส้มเข้ม สำหรับการต้มใบสดต้มหมักได้สีน้ำย้อมเป็นสีม่วงดำ สีบนผ้าหลังย้อมร้อนเป็นสีม่วงคล้ำและสีบนผ้าหลังย้อมเย็นเป็นสีม่วงเข้มเหมือนเปลือกมังคุดสุก ดังนั้น สรุปผลการวิจัยได้ว่าการสกัดสีจากใบมังคุดเพื่อใช้ทำมัดย้อมและบาติกสามารถใช้วิธีการต้มตามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมได้อย่างเป็นระบบด้วยอัตราส่วนต่างๆ ซึ่งจะให้ค่าความเข้มข้นของสีย้อมแตกต่างกันตามลำดับมากไปน้อยดังนี้คือ สีน้ำก่อนย้อม สีบนผ้าย้อมเย็นและสีบนผ้าย้อมร้อนรายการ การหาคำตอบการไหลของกำลังงานไฟฟ้าที่เอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยมีข้อจำกัดฟัซซี่แบบไม่เป็นเชิงเส้น(2550) กีรติ ชยะกุลคีรีบทความนี้เป็นการนำเสนอวิธีการคำนวณหาคำตอบการไหลของกำลังงานไฟฟ้าที่เอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Optimal Power Flow, OPF) ซึ่งวัตถุประสงค์ของการหาคำตอบในที่นี้คือการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าและการปรับแท็ปของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังให้ได้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด โดยพิจารณาให้ข้อจำกัดของพิกัดกำลังของสายส่งและหม้อแปลงไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าที่บัส และอัตราการเพิ่มและลดกำลังการผลิตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เป็นแบบฟัซซี่ที่ไม่เป็นเชิงเส้น ในการวิจัยได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการหาคำตอบของ OPF ที่มีข้อจำกัดกำลังงานไฟฟ้าสูงสุดที่ไหลได้ในสายส่ง และขนาดแรงดันสูงสุดหรือต่ำสุดของบัส อัตราการเพิ่มหรือลดกำลังงานไฟฟ้าจริงของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแบบฟัซซี่ที่ไม่เป็นเชิงเส้น โดยได้แยกปัญหาออกเป็น ปัญหาย่อยการหาค่าต่ำสุดฟัซซี่ของต้นทุนการผลิต (Total fuel cost fuzzy minimization subproblem) และ ปัญหาย่อยการหาค่าต่ำสุดฟัซซี่ของกำลังงานไฟฟ้าจริงสูญเสีย (Real power loss fuzzy minimization subproblem) และได้ทดสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และกระบวนการคำนวณกับระบบไฟฟ้ามาตรฐาน 30 บัส และ 118 บัส ของ IEEE