บทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ ปีการศึกษา 2550
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู บทความที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ ปีการศึกษา 2550 โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 40
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร(2550) กัลยา คงอนุมัติการวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาสภาพการจัดเนื้อหาสิ่งแวดล้อมในหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมและปัญหาการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรในการศึกษาคือ อาจารย์ผู้สอนจำนวน 43 คน ของมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 11 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือเอกสาร คู่มือหลักสูตรที่เกี่ยวกับเนื้อหาสิ่งแวดล้อมและแบบสอบถาม ทำการประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงหาค่าความถี่ และหาค่าร้อยละ สถิติทดสอบ t วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการจัดเนื้อหาสิ่งแวดล้อมในหลักสูตรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาทั่วไป 2. สภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน พบว่า (1)วิธีการจัดทำแผนการสอนเน้นให้นักศึกษามีความตระหนักและมีทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) แหล่งในการรวบรวมเนื้อหาคือหนังสือแบบเรียนและมีการใช้วิธีในการสอนโดยสอดแทรกความสัมพันธ์ของเนื้อหาและปัญหาสิ่งแวดล้อม (3) หลักในการเลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน และวิธีการดำเนินกิจกรรมมีการบรรยายโดยใช้สื่อประกอบการสอน (4) สื่อการสอนมีการผลิตขึ้นใช้เอง (5) การวัดและประเมินผลใช้ข้อสอบแบบเลือกตอบ (6) วิธีการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนอาจารย์ผู้สอนมีการจัดทำแผนการเรียน โครงการสอน ตารางสอนเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน 3. สภาพการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมของอาจารย์ผู้สอนในภาพรวมอยู่ในระดับการปฏิบัติน้อย 4. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนในภาพรวมพบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 5. เมื่อพิจารณาตัวแปรที่เกี่ยวกับขนาดของมหาวิทยาลัย คุณวุฒิและประสบการณ์ของอาจารย์ผู้สอนในภาพรวมไม่มีผลให้เกิดความแตกต่างเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมและปัญหาการจัดการเรียนการสอน 6. ข้อเสนอแนะอาจารย์ผู้สอน ต้องการให้มีการประชุมอาจารย์ผู้ร่วมสอนก่อนเริ่มการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีปัญหาในเรื่องเวลา มีจำนวนนักศึกษามากและสถานที่ไม่เหมาะสม ควรมีการอบรมในการใช้สื่อที่ทันสมัย การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนขาดมาตรฐานในการให้คะแนน การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยควรมีสถานที่ ที่เหมาะสมและสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมรายการ การพยากรณ์ดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือนของกรุงเทพมหานคร:กรณีศึกษาเปรียบเทียบโดยวิธีการของบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการของโฮลต์ และวิธีการพยากรณ์รวม(2550) วราฤทธิ์, พานิชกิจโกศลกุลวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อพยากรณ์ดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือนของกรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ 3 วิธี คือ วิธีการของบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการของโฮลต์ และวิธีการพยากรณ์รวมโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอย และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการพยากรณ์ด้วยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percent Error: MAPE) ที่ต่ำที่สุด พบว่า วิธีการของโฮลต์เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับลักษณะข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือนของกรุงเทพมหานครมากที่สุดรายการ การพัฒนาชุดตรวจ indirect ELLSA สำหรับการตรวจภาวะการติดเชื้อ Salmonella Typhi แบบเฉียบพลัน(2550) วิมล ชอบชื่นชม; ขนิษฐา เลี้ยงบำรุง; ศรินธร รักษ์มณี; สุรสา ลิมาคม; สุรสิทธิ์ สุวรรณสินธุ์ไข้ไทฟอยด์ ( typhoid fever ) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยไข้ไทฟอยด์ ทางน้ำเหลืองวิทยา นิยมใช้ Widal test กันอย่างแพร่หลายแต่วิธี Widal test มีความไวและความจำเพาะต่ำ นอกจากนี้ชุดตรวจด้วยวิธี ELISA ที่มีจำหน่ายทางการค้าเป็นการพัฒนาจาก S.Typhi สายพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับการติดเชื้อในประเทศไทยนัก ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาชุดตรวจ indirect ELISA สำหรับตรวจภาวะการติดเชื้อ S.Typhi แบบเฉียบพลันขึ้น โดยพบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับชุดทดสอบ เป็นดังนี้ สารละลายบัพเฟอร์ที่ใช้เป็น coating buffer คือ carbonate buffer pH 9.6 แอนติเจนที่ใช้คือส่วน lipopolysacharide ของ S.Typhi โดยการเตรียมเป็น crude extract ของ S.Typhi โดยนึ่งภายใต้แรงดันก่อนทำให้เซลล์ของ S.Typhi แตกด้วยวิธี sonication ความเข้มข้นของแอนติเจนที่เหมาะสมคือ 30 µg/ml เคลือบแอนติเจนที่ 4๐C เป็นเวลา 16-24 ชั่วโมง โดยใช้ 10% BSA เป็น blocking solution การเจือจางซีรั่มทดสอบที่เหมาะสมคือ 1:100 ด้วยสารละลาย 1%BSA-PBST ทำปฏิกิริยาที่ 37๐C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง สาร conjugate ที่ใช้คือ anti-Human IgM ที่ติดฉลากด้วย peroxidase การเจือจางที่เหมาะสมคือ 1:500 ทำปฏิกิริยาที่ 37๐C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ใช้ O-phenylenediamine (OPD) เป็นสารตั้งต้นและวัดสีของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ค่าการดูดกลืนแสงที่ 492 นาโนเมตรรายการ การพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์(2550) ศิวพันธุ์, ชูอินทร์การศึกษาเรื่องการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการประเมินความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการจราจรบนถนนในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร และนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ได้ไปพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บตัวอย่างคุณภาพอากาศได้แก่ ความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ตรวจวัดความเร็วลม เป็นค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงพร้อมทั้งตรวจวัดปริมาณและความเร็วรถแยกประเภท ได้แก่ รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบรรทุกขนาดเล็กและรถบรรทุกขนาดใหญ่ ศึกษาโครงสร้างของถนนและช่องว่างที่สามารถระบายสารมลพิษทางอากาศออกนอกถนนได้ นำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยอาศัยพื้นฐานของแบบจำลองแบบกล่องและหลักการวิเคราะห์ความถดถอย แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมจะผ่านการยอมรับทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งเป็นระดับที่ดีที่สุดสำหรับการศึกษาทางด้านคุณภาพอากาศ และให้ค่า R2 ที่สูง แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถใช้ประมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ อนุภาคฝุ่น และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์บนถนนในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ได้ โดยมีค่า R2 เท่ากับ เท่ากับ 0.907 0.618 และ 0.541 ตามลำดับ และนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในชื่อ “Rattanakosin Air Model : RAM” เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้งาน ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศคือ ปริมาณรถแต่ละชนิด ซึ่งความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ขึ้นกับจำนวนรถโดยสารส่วนบุคคลมากที่สุด ความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่นและก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ขึ้นกับรถบรรทุกขนาดใหญ่มากที่สุด ส่วนโครงสร้างถนนและความเร็วลมไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่ได้จากการตรวจวัดจริง แต่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ใช้ในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อประมาณคุณภาพอากาศในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์รายการ การรับรู้และความคิดเห็นของนิสิตต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน(2550) วิชาญ, วงษ์สังข์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ของนิสิตต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 2) ความคิดเห็นของนิสิตต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 1,864 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของนิสิตต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า นิสิตมีการรับรู้ในเรื่องเกี่ยวกับสารเสพติดอยู่ในระดับมาก เนื้อหาที่นิสิตรับรู้มากที่สุดคือ โทษและอันตรายของสารเสพติด เนื้อหาที่รับรู้น้อยที่สุดได้แก่ วิธีการให้ความช่วยเหลือ/บำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด นิสิตมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสารเสพติดจากสื่อประชา สัมพันธ์ในระดับปานกลาง สื่อที่นิสิตมีการรับรู้มากที่สุดได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อที่รับรู้น้อยที่สุดได้แก่ สื่อประชา สัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย 2) ความคิดเห็นของนิสิตต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพแวดล้อมในสังคมที่เป็นสาเหตุทำให้ปัญหาสารเสพติดมีเพิ่มมากขึ้นนิสิตมีความเห็นว่ามีสาเหตุมากที่สุดจากแหล่งสถานบริการบันเทิงยามค่ำคืน มีความเห็นว่าสาเหตุน้อยที่สุดได้แก่ การลอกเลียนแบบศิลปินดาราผู้มีชื่อเสียง ด้านสถานที่ที่เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรมการป้องกันปัญหาสารเสพติดได้แก่ อาคารศูนย์เรียนรวม มีความเหมาะสมน้อยที่สุดได้แก่ บริเวณสนามกีฬา และด้านรูปแบบและแนวคิดการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาสารเสพติด นิสิตมีความเห็นว่าการเผยแพร่ความรู้ข่าวสารและกิจกรรมเรื่องสารเสพติดดีที่สุดได้แก่ การผลิตรายการโทรทัศน์/ประชาสัมพันธ์ผ่าน KU Channel นิสิตมีความเห็นว่าดีน้อยที่สุดได้แก่ การจัดเวทีอภิปรายระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาสารเสพติดรายการ การศึกษาการจัดทำและการนำเสนองบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีไทยโดยอิงมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษากลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม(2550) ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์การศึกษาการจัดทำและการนำเสนองบการเงิน และปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการจัดทำและการนำเสนองบการเงิน พบว่า ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ได้จัดทำและนำเสนองบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีอย่างครบถ้วน และมีเหตุผลเพียงพอในกรณีที่ไม่สามารถจัดทำตามมาตรฐานการบัญชีได้ สำหรับผู้สอบบัญชีเมื่อตรวจสอบและพบว่า บริษัทไม่ได้แก้ไขปรับปรุงตามข้อทักท้วงในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จะแสดงความเห็นต่องบการเงินอย่างมีเงื่อนไข หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงบการเงินที่ไม่เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วนที่เป็นสาระสำคัญ และเจ้าหน้าที่กำกับดูแล ได้ทักท้วงให้บริษัทแก้ไขปรับปรุงกรณีที่ไม่ได้จัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี และส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี สำหรับมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้ครั้งนี้สามารถอ่านและเข้าใจในเนื้อหาและสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทำให้ได้รับประโยชน์ เช่น งบการเงินมีความเป็นสากล มีการเปิดเผยข้อมูลครบถ้วนและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่องบการเงิน ขณะเดียวกันก็พบปัญหาและอุปสรรค ด้านการขาดตัวอย่างเพื่อประกอบการสร้างความเข้าใจ มีวิธีการทางบัญชีที่ซับซ้อนในทางปฏิบัติ ขาดคำอธิบายที่เพียงพอในการเข้าใจ การทดสอบสมมติฐาน พบว่า หมวดอุตสาหกรรมกระดาษและวัสดุการพิมพ์ และเครื่องมือและเครื่องจักร ธุรกิจขนาดเล็ก และผู้มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 5 ปี มีผลต่อการจัดทำและการนำเสนองบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีไทย โดยอิงมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ด้านการมีบทบาทและการสนับสนุน ด้านการอ่านและความเข้าใจในเนื้อหาของมาตรฐานการบัญชี และด้านประโยชน์ที่ได้รับ อย่างมีนัยสำคัญรายการ การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์(2550) ชำนิ กิ่งแก้ว; อุษา คะเณ; ถาวรินทร์ คงมณี; สุกัญญา ใจเย็นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์ ลดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์ และพัฒนารูปแบบกระบวนการผลิตใหม่โดยลดความสูญเปล่า (การรอคอย) โดยศึกษาประสิทธิภาพการผลิต ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และสรุปวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยลดความสูญเปล่า (การรอคอย) ในกระบวนการผลิต โดยศึกษาเฉพาะแผนกบรรจุ ของบริษัทแห่งหนึ่งใน จ.สุราษฎร์ธานี จากนั้นนำผลการปรับปรุงประสิทธิภาพและองค์ความรู้ไปถ่ายทอดแก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาแก้ว (กลุ่มกะโรม) ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการผลิตใหม่ที่ลดความสูญเปล่า (การรอคอย) โดยใช้แนวคิดการลดการรอคอยที่มีสาเหตุมาจาก คน เครื่องจักร และวัตถุดิบ จากการศึกษาพบว่า บริษัทดังกล่าว มีการรอคอยที่มีสาเหตุมาจากเครื่องจักร ดังนี้ เครื่องขึ้นรูปกล่อง เครื่องล้างขวด เครื่องปิดฉลากแสตมป์ เครื่องบรรจุปิดฝา Kettner 1 เครื่องปิดฝากล่อง Kettner 2 รอไอ เตรียมเครื่อง ไฟฟ้าดับ ปรับเครื่อง ปั๊มลมขัดข้อง และฝนตกหนัก สาเหตุมาจากวัตถุดิบ ดังนี้ รอแสตมป์ แสตมป์หมด น้ำสุราขุ่น และเปลี่ยนน้ำสุรา ส่วนสาเหตุจากคนไม่มี หลังจากทำการปรับปรุงเพื่อลดการรอคอยในกระบวนการผลิต สามารถลดอัตราส่วนการรอคอยต่อเวลาที่ใช้ในการบรรจุ จาก 4.55 คงเหลือ 2.45 หลังจากนำผลการปรับปรุงประสิทธิภาพและองค์ความรู้ไปถ่ายทอดแก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาแก้ว (กลุ่มกะโรม) พบว่า มีการรอคอยที่มีสาเหตุมาจากคน ดังนี้ คนงาน (ไม่ว่าง) สาเหตุมาจากเครื่องจักร ดังนี้ รถส่งผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดเตา (ล้นขณะกลั่น) เตรียมเครื่อง และอุณหภูมิเตา สาเหตุมาจากวัตถุดิบ ดังนี้ น้ำตาลมะพร้าว (รอเงิน) ไม้ฟืน (รอแห้ง) แสตมป์ (Online เสีย) น้ำประปา (หน้าแล้ง, ไม่ไหล) และขวด (รอแห้ง) จากสาเหตุทั้งหมดสามารถสรุปวิธีการปรับปรุงกับกลุ่ม ดังนี้ สาเหตุจากคน วางแผนการกลั่นใหม่ ควรจัดเตรียมเครื่องจักร และวัตถุดิบให้พร้อมเสมอ และควรฝึกให้สมาชิกมีทักษะหลายด้าน เพื่อสามารถสลับการทำงานในหน้าที่อื่น กรณีมีสมาชิกมาไม่ครบ สาเหตุจากเครื่องจักร ควบคุมอุณหภูมิขณะกลั่นให้เหมาะสม ควรหมั่นตรวจสอบฟืนอย่างสม่ำเสมอ สาเหตุจากวัตถุดิบ วางแผนการเก็บเงินใหม่ ควรมีมาตรการกรณีกับร้านค้าที่ไม่สามารถชำระเงินตามกำหนด และควรให้สิทธิพิเศษแก่ร้านค้าที่ชำระตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ วางแผนการเก็บไม้ฟืนใหม่ ควรมีการจัดหาฟืนให้สามารถทำการกลั่นได้อย่างต่อเนื่อง เวลาจัดเก็บควรจัดเก็บในที่ที่ไม่โดนฝน อากาศปลอดโปร่ง สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ทุกเมื่อ วางแผนการสั่งซื้อแสตมป์ใหม่ ควรสั่งซื้อในปริมาณที่เหมาะสมกับการผลิต และเมื่อถึงเวลาสั่งซื้อควรโทรศัพท์ไปก่อนล่วงหน้าเพื่อเช็คระบบ Online หลังจากทำการปรับปรุงเพื่อลดการรอคอยในกระบวนการผลิต สามารถลดอัตราส่วนการรอคอยต่อเวลาที่ใช้ในการผลิต จาก 1.30 คงเหลือ 0.51รายการ การศึกษาความหนาแน่นต่อหน่วยพักอาศัยเพื่อสภาวะความสบายทางอุณหภูมิของอาคารประเภทแฟลต(2550) กัญจนี ญาณะชัยโครงการวิจัย นี้เป็นการหาคำตอบในเรื่องการกำหนดค่าความหนาแน่นเพื่อการอยู่อาศัยที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ที่มีอย่างเฉพาะเจาะจง รวมทั้งพฤติกรรมในการประกอบกิจกรรมต่างๆ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสถานที่ที่นำมาพิจารณา เริ่มต้นขบวนการศึกษาโดยการค้นหาค่าปริมาตรที่ว่างที่เหมาะสมของแต่ละพฤติกรรม ภายใต้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าปริมาตรดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การสรุปผลการวิจัยในเรื่องการกำหนดค่าความหนาแน่นในการอยู่อาศัยต่อหน่วย รวมทั้งยกแฟลตดินแดงเป็นกรณีศึกษา เพื่อการเปรียบเทียบค่าความหนาแน่นที่หน่วยราชการกำหนด 1. ศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ในแต่ละเดือน แต่ละปี และราย 3 ชั่วโมง 2. ศึกษาขบวนการชีวะภาพของการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายของมนุษย์ผู้ชาย ซึ่งนำไปสู่การผลิตความร้อน ที่แปรตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นขณะนั้น เช่น อัตราค่าเฉลี่ยการเผาผลาญอาหารต่อคน ที่แปรตามพฤติกรรม ของการนอนหลับ มีค่าเท่ากับ 70 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง, การนั่งพักผ่อน มีค่าเท่ากับ 100 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง และพฤติกรรมการทำงานเบาๆมีค่าเท่ากับ 120 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง 3. ศึกษาขบวนการแลกเปลี่ยนความร้อน ระหว่างผิวกายรอบนอก ของมนุษย์และอากาศที่อยู่รอบๆโดยการแผ่รังสี การพาความร้อน และการระเหยกลายเป็นไอ 4. ศึกษาผลที่เกิดเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศท้องถิ่น ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพของบริเวณที่ตั้งอาคารในโครงการ รวมทั้งปริมาตรของหน่วยพักอาศัย 5. ศึกษาสองทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ทฤษฎีแรกเกี่ยวกับดัชนีสภาวะความสบายทางอุณหภูมิ เรียก The index of thermal stress (ITS.) ซึ่งเป็นทฤษฎีการจำลองชีวะภาพที่อธิบายถึงค่ากลไกความร้อนที่เปลี่ยนแปลงระหว่างร่างกายและสภาพแวดล้อม โดยใช้ทฤษฎี Thermal Stress Index (ITS.) ดังแสดงข้างล่าง S = M – 0.2 (m-100) V 0.3 ( ta – 350 ) e 0.6( E/Emax – 0.12 ) และทฤษฎีสภาวะความสบายด้วยการระบายอากาศส่วนทฤษฎีที่สองจะเกี่ยวกับสภาวะความสบายที่เกิดจากการระบายความร้อน แสดงถึงสภาพของร่างกายที่ไม่มีความชื้นที่ผิวรอบนอกของร่างกาย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะของอากาศที่เคลื่อนที่ในขณะนั้น อัตราการพาความร้อน และปริมาตรอากาศที่แวดล้อม S = (1300 x ACH x Volumetric Space/Person x T) / 3600 6. สรุปผลค่าความหนาแน่นของผู้อาศัยต่อหน่วยโดยนำค่าผลสรุปปริมาตรต่อคน นำมาใช้กับปริมาตรของห้องอเนกประสงค์ และในที่สุดนำมาเปรียบเทียบค่าความหนาแน่นที่หน่วยราชการกำหนดรายการ การศึกษาปัจจัยจูงใจและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในการตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(2550) ศรัณย์ภัทร เรืองประไพการศึกษาเรื่องปัจจัยจูงใจและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในการตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยจูงใจ และ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนิสิตนักศึกษา ในการ ตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อประโยชน์ในการวางแนวทางพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ให้สอดคล้องกับมาตรการด้านทรัพยากรมนุษย์ ตามนโยบายของภาครัฐ ซึ่งจะเป็น รากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยศึกษาข้อมูล ปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ในด้านข้อมูลปฐมภูมิมุ่งศึกษาถึง ตัวแปรส่วนบุคคล ตัวแปรด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และตัวแปรด้านปัจจัยจูงใจ ส่วนข้อมูลทุติยภูมิ ศึกษาค้นคว้าและรวบรวม ข้อมูลจากเอกสารต่างๆ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ กำหนดขอบเขตโดยศึกษานิสิตนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีสุดท้าย จำนวน 394 คน จาก สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 3 แห่ง และสถาบันการศึกษาของเอกชน 3 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยหอการค้ารายการ การศึกษาผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูง(2550) สำเริง, ฮินท่าไม้ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวงในระดับแรงดัน 24 และ 69 kV ด้วยการสุ่มวัด โดยพิจารณาตามรูปแบบการจัดเรียงสายเฟสของสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงตามที่มีใช้งาน และนำผลที่ได้จากการตรวจวัดไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางแม่เหล็กไฟฟ้า จากผลการตรวจวัด พบว่าสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงมีค่าต่ำกว่าขีดจำกัดตามมาตรฐานด้านสุขภาพของ ICNIRP และเมื่อทำการคำนวณปริมาณสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงตามหลักการสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าคงตัว เพื่อเสนอวิธีการลดสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียงสายส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูงด้วยวิธีเชิงรุก โดยการเพิ่มวงจรสายตัวนำอีกหนึ่งวงจรเดินร่วมไปตามแนวเดินสายเดียวกันและจัดเรียงสายเฟสในลักษณะที่ทำให้เกิดการสมดุลทางลำดับเฟส พบว่าสามารถลดปริมาณสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าลงได้ 50 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับรายการ การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบและเนื้อหารายการวิทยุชุมชน ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(2550) บุษบา หินเธาว์การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบริบทชุมชน ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีต่อการเปิดรับข่าวสารจากวิทยุชุมชน ตลอดจนรูปแบบและเนื้อหารายการวิทยุชุมชน FM 100.25 MHz. ศึกษาปัจจัยในการกำหนดรูปแบบและเนื้อหารายการ วิธีการดำเนินงานและกระบวนการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมในรายการวิทยุชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) และการจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ตัวอย่างประชากรคือประชาชนตำบลหัวรอ ผลการศึกษา พบว่า สภาพสังคมของตำบลหัวรอส่วนใหญ่เป็นสังคมแบบชนบท ยกเว้นบางชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนเมือง ผู้ที่รับฟังรายการวิทยุชุมชนส่วนมาก เป็นนักศึกษา แม่บ้าน และข้าราชการบำนาญ ส่วนมากฟังวิทยุชุมชนที่บ้านในช่วงเย็น ประชาชนตำบลหัวรอมีความเห็นว่า วิทยุชุมชน FM 100.25 MHz. มีรูปแบบและเนื้อหา ที่น่าสนใจและเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ผู้ดำเนินรายการมีความรู้ในเรื่องที่ดำเนินรายการเป็นอย่างดี มีอัธยาศัยดีและเป็นกันเองกับผู้ฟัง เนื้อหารายการประกอบด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารของท้องถิ่นและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคม เนื้อหายืดหยุ่นไม่ตายตัว มีรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ โดยมากใช้รูปแบบการพูดคุยสลับกับการเปิดเพลงและรายการข่าว ประชาชนเห็นว่า รายการวิทยุชุมชนสามารถสร้างความสัมพันธ์ให้กับชุมชน และเพิ่มพูนทักษะใน การประกอบอาชีพ ปัจจัยในการกำหนดรูปแบบและเนื้อหารายการวิทยุชุมชน คือ ผู้ฟังรายการ ผู้จัดรายการ หน่วยงานต้นสังกัดของผู้จัดรายการ คณะกรรมการบริหารวิทยุชุมชนตำบลหัวรอ กฎและระเบียบของวิทยุชุมชนตำบลหัวรอ และกระบวนการบริหารงาน จะใช้วิธีดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม โดยผู้ฟังจะมีส่วนร่วมในการจัดรายการ โดยการแสดงความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ แจ้งข่าวสาร ขอความช่วยเหลือ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ และเพื่อระบายความอึดอัดใจ โดยใช้วิธีโทรศัพท์ ส่งจดหมาย และเดินทางมาด้วยตนเองที่สถานีวิทยุฯรายการ การศึกษาวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร(2550) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจการวิจัยเรื่อง “การศึกษาวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาประเภทผู้รับใบอนุญาต และอายุการก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ประชากร คืออาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยที่มีสถานที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 4,700 คน สามารถกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 369 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนด้วยประเภทผู้รับใบอนุญาต เก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยสรุปว่าอาจารย์ประจำสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาโท ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ตนสังกัดอยู่ในช่วง 5-10 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 20,001–30,000 บาท เป็นอาจารย์ประจำสายวิชาการ ไม่มีตำแหน่งทางการบริหารและตำแหน่งทางวิชาการ ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตประเภทนิติบุคคล และ ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยที่มีอายุมากกว่า 30 ปี วัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเภทผู้รับใบอนุญาตไม่มีผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร แต่อายุการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมีผลต่อวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครรายการ การสร้างและทดสอบเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์(2550) สายหยุด, อุไรสกุลการวิจัย เรื่องการสร้างและทดสอบเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยแบบทดลอง วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อสร้างและทดสอบเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้เครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสร้างเป็นแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์พร้อมวิธีการวัดและเกณฑ์การวัดความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาจิตวิทยาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1,ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2548และภาคเรียนที่ 1,ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2549 กลุ่มตัวอย่าง ที่ได้มาใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)เพื่อให้ได้ข้อมูลจำนวนมาก ผลการวิจัยสรุปว่า ได้วิธีการสร้างเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบประกอบด้วยภาพการ์ตูน จำนวนโดยประมาณ 7 ช่องและสร้างเงื่อนไขในการเติมภาพทั้งแผ่นให้สมบรูณ์ เป็นเงื่อนไขที่กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หลังจากนั้นนำข้อมูลจากแบบทดสอบไปสรุปหาเกณฑ์ในการวัดความคิดสร้างสรรค์ได้เกณฑ์การวัดความคิดสร้างสรรค์ 6 ด้าน ได้แก่ เกณฑ์การวัดความคิดคล่องตัว , เกณฑ์การวัดความคิดยืดหยุ่น, เกณฑ์การวัดความคิดริเริ่ม, เกณฑ์การวัดความคิดละเอียดลออ, เกณฑ์การวัดความคิดเชื่อมโยง และเกณฑ์การวัดความคิดพลิกเแพลง การกำหนดน้ำหนักคะแนนความคิดสร้างสรรค์แบ่งได้ 3 กลุ่ม กลุ่มที่1 มีคำตอบไม่ซ้ำกับคนอื่นได้คะแนน 5 คะแนน กลุ่มที่ 2 มีคำตอบซ้ำกับคนอื่น ได้คะแนน 3 คะแนน กลุ่มที่ 3 ไม่มีคำตอบ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ได้คะแนน 1 คะแนนรายการ การหาคำตอบการไหลของกำลังงานไฟฟ้าที่เอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยมีข้อจำกัดฟัซซี่แบบไม่เป็นเชิงเส้น(2550) กีรติ ชยะกุลคีรีบทความนี้เป็นการนำเสนอวิธีการคำนวณหาคำตอบการไหลของกำลังงานไฟฟ้าที่เอื้อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Optimal Power Flow, OPF) ซึ่งวัตถุประสงค์ของการหาคำตอบในที่นี้คือการสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าและการปรับแท็ปของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังให้ได้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด โดยพิจารณาให้ข้อจำกัดของพิกัดกำลังของสายส่งและหม้อแปลงไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าที่บัส และอัตราการเพิ่มและลดกำลังการผลิตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้เป็นแบบฟัซซี่ที่ไม่เป็นเชิงเส้น ในการวิจัยได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการหาคำตอบของ OPF ที่มีข้อจำกัดกำลังงานไฟฟ้าสูงสุดที่ไหลได้ในสายส่ง และขนาดแรงดันสูงสุดหรือต่ำสุดของบัส อัตราการเพิ่มหรือลดกำลังงานไฟฟ้าจริงของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแบบฟัซซี่ที่ไม่เป็นเชิงเส้น โดยได้แยกปัญหาออกเป็น ปัญหาย่อยการหาค่าต่ำสุดฟัซซี่ของต้นทุนการผลิต (Total fuel cost fuzzy minimization subproblem) และ ปัญหาย่อยการหาค่าต่ำสุดฟัซซี่ของกำลังงานไฟฟ้าจริงสูญเสีย (Real power loss fuzzy minimization subproblem) และได้ทดสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และกระบวนการคำนวณกับระบบไฟฟ้ามาตรฐาน 30 บัส และ 118 บัส ของ IEEEรายการ การหาน้ำหนักต่ำสุดที่เหมาะสม ในการออกแบบโครงข้อหมุนโดยระเบียบวิธีเลียนแบบพันธุศาสตร์(2550) วิรัช, เลิศไพฑูรย์พันธ์การวิจัยนี้ศึกษากลวิธีการใช้ระเบียบวิธีเลียนแบบพันธุศาสตร์ ในการออกแบบโครงหลังคาเหล็ก ซึ่งโดยทั่วไปการออกแบบโครงหลังคาเหล็กขนาดใหญ่ เพื่อให้ได้โครงสร้างที่มีขนาดและรูปร่างที่เหมาะสม นั้นจะต้องอาศัยประสบการณ์ในการออกแบบของวิศวกรผู้ออกแบบ ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากและยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าโครงสร้างที่ได้เป็นโครงสร้างที่เหมาะสม การวิจัยนี้เลือกใช้ระเบียบวิธีเลียนแบบพันธุศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการค้นหาคำตอบ และเพื่อให้สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ได้จริงในการออกแบบ การศึกษานี้จึงใช้ตัวแปรจริง ที่สอดคล้องกับการใช้งาน เช่น ชนิดของวัสดุ คุณสมบัติวัสดุ รูปร่างและลักษณะของโครงสร้าง และใช้ข้อกำหนดในการออกแบบตามมาตรฐาน AISC (LRFD) เป็นข้อจำกัดของปัญหา โดยให้น้ำหนักของโครงสร้างที่ต่ำที่สุดเป็นเป้าหมายของปัญหา จากการศึกษาพบว่าการออกแบบด้วยระเบียบวิธีเลียนแบบพันธุศาสตร์โดยใช้ตัวแปรจริงนี้สามารถให้คำตอบสำหรับการออกแบบที่เหมาะสมสัมบูรณ์หรือใกล้คำตอบที่เหมาะสมสัมบูรณ์ได้ โดยที่ประสิทธิภาพของการค้นหาคำตอบที่เหมาะสมขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น จำนวนตัวแปร จำนวนประชากร รวมไปถึงปัจจัยทางเทคนิคของระเบียบวิธีเลียนแบบพันธุศาสตร์รายการ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางน้ำในเขตการศึกษาพื้นฐานกรุงเทพมหานครเขต 2(2550) เฉลิมเกียรติ ดุลสัมพันธ์; สุภาคย์ ดุลสัมพันธ์; นิยม บุญพิคำ; วิมลฤดี วันสอน; นภาพร สิงหทัต; อรทรรศน์ กุศลกุลคุณภาพน้ำระหว่างเดือนตุลาคม 2548 ถึงกันยายน 2549 พบว่า คลองรังสิตจะมีคุณภาพน้ำ ดีที่สุด รองลงมาคือคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวตามลำดับ ตะกอนดินในคลองจะมีการสะสมอินทรีย์วัตถุในปริมาณที่น้อย ปริมาณอินทรีย์วัตถุและฟอสฟอรัสสะสมมากที่สุดในคลองลาดพร้าว ไนโตรเจนสะสมมากที่สุดในคลองแสนแสบ ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณคลองจะมีลักษณะการดำรงค์ชีวิตที่คล้ายกัน ขยะจะทิ้งลงในที่จัดเก็บของกรุงเทพมหานคร ของเสีย น้ำเสียจะถูกทิ้งลงในคลองโดยตรงโดยไม่มีการบำบัดก่อนยกเว้นที่คลองแสนแสบ ประชาชนจะมีรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกัน ประชาชนริมคลองแสนแสบจะมีรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดกิจกรรมด้านการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากที่สุดรายการ การออกแบบและสร้างชุดสาธิตเครื่องอัดจาระบีอัตโนมัติ(2550) พิสมัย พันธุ์อภัย; ธีรภัทร หลิ่มบุญเรือง; สมชาย แย้มใสโครงงานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องอัดจาระบีอัตโนมัติเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานกับเครื่องจักรกลหนักประเภทรถขุด เครื่องกลหนัก เป็นต้น ซึ่งต้องการการหล่อลื่นอยู่เป็นประจำเพื่อลดขั้นตอนและการใช้พลังงานจากมนุษย์ กำหนดให้เครื่องอัดจาระบีสามารถอัดปริมาณจาระบีได้ 52.55 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อวัน ควบคุมการทำงานของเครื่องอัดจาระบีนี้ด้วยชุดตั้งเวลา จึงสามารถประหยัดพลังงานของมนุษย์และสามารถอัดจาระบีได้อย่างต่อเนื่องเพียงพอต่อความต้องการใช้งาน จากการทดสอบเครื่องอัดจาระบีอัตโนมัติ โดยใช้จาระบี 5 ชนิด สามารถใช้ได้กับเครื่องอัดจาระบีอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ การออกแบบและสร้างเครื่องบรรจุผลิตภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว(2550) ธีรภัทร หลิ่มบุญเรือง; พิสมัย พันธุ์อภัย; สมชาย แย้มใสโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องบรรจุภัณฑ์ชนิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว ลักษณะของเครื่องป็นการบรรจุแบบแนวดิ่ง โดยใช้แผ่นความร้อนให้ความร้อนในการผนึกซอง และทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ชุด ชุดแรกจะเป็นการผนึกด้านข้างของซองบรรจุและมอเตอร์ชุดที่สองจะทำหน้าที่ผนึกส่วนหัวและท้ายของซอง โดยมีลูกกลิ้งเป็นตัวป้อนแผ่นพลาสติกเข้าสู่ระบบ และรักษาความตึงของแผ่นพลาสติคด้วย ผลิตภัณฑ์ที่รอการบรรจุจะถูกใส่ไว้ในถังเก็บและมีระบบการจ่ายผลิตภัณฑ์ของเหลวด้วยวาล์วควบคุมอัตราการไหล จากผลการทดสอบพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุเสร็จเรียบร้อยแล้วมีขนาด 10 × 3 เซนติเมตร (ความจุเท่ากับ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร) โดยจะใช้เวลาประมาณ 1.5 วินาทีต่อ 1 ซอง ซึ่งให้กำลังการผลิตที่พอเหมาะกับการบรรจุผลิตภัณฑ์รายการ การใช้เทคโนโลยีเชิงบูรณาการ: ปัจจัยสำคัญของการเพิ่มคุณภาพการบริการ(2550) รวิภา, ลาภศิริการใช้เทคโนโลยีได้เข้ามีบทบาทและมีความสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบริการประเภทโรงแรม ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้คุณภาพของการบริการเพิ่มมากขึ้น งานวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีเชิงบูรณาการซึ่งประกอบด้วยการเปรียบเทียบข้อมูลของผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร และการให้ข่าวสารขณะให้บริการที่มีต่อการรับรู้คุณภาพการบริการของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการโรงแรมระดับมาตรฐาน 4-5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่าการใช้เทคโนโลยีเชิงบูรณาการมีผลกระทบในเชิงบวกต่อคุณภาพการบริการในด้านความเชื่อถือไว้ใจ การตอบสนอง และการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ในขณะที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพบริการด้านเข้าใจเห็นอกเห็นใจ และความเป็นรูปธรรมในการบริการ ดังนั้น การเพิ่มคุณภาพบริการ จำเป็นอย่างยิ่งต้องตระหนักถึงรูปแบบของการใช้เทคโนโลยีควบคู่กับการให้บริการของพนักงานว่ารูปแบบการให้บริการแบบใดเหมาะสมจะใช้เทคโนโลยีควบคู่กันไป พร้อมทั้งคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการให้บริการโดยใช้พนักงานและเทคโนโลยีควบคู่กัน เพื่อจะนำไปสู่คุณภาพการบริการที่เป็นเลิศและความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้ารายการ การใช้แบบจำลองส่วนประสมทางการตลาดเพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน(2550) วิชิต, อู่อ้นการวิจัยเรื่องการใช้แบบจำลองส่วนประสมทางการตลาดเพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรี ได้แก่ ปัจจัยทางด้านการจัดการการศึกษา ปัจจัยทางด้านการกำหนดราคา ปัจจัยทางด้านการวางทำเลที่ตั้ง และปัจจัยทางด้านการส่งเสริมชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรีอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย