GRA-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย ผู้เขียน "ชีวรรณ เจริญสุข"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าที่รับรู้ ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว และความภักดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (มรดกโลก) ในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ชีวรรณ เจริญสุขจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1). เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าที่รับรู้ ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว และความภักดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (มรดกโลก) อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชรในประเทศไทย (2). เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าที่รับรู้ ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว และความภักดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์(มรดกโลก) อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชรในประเทศไทย (3).เพื่อสร้างแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าที่รับรู้ ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว และความภักดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์(มรดกโลก) อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชรในประเทศไทย ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณการวิจัยเชิงสำรวจแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ วิธีการวิเคราะห์สมการโครงสร้างโดยการใช้โปรแกรม AMOS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การแจกแจงความถี่การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีสัญชาติจีนและอังกฤษที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชรในประเทศไทย ซึ่งการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่าง 1,600 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบของกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีสัญชาติจีนและอังกฤษจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองสัญชาตินี้มีค่าไม่แตกต่างกันมากนัก แต่มีประเด็นที่น่าสนใจคือคุณค่าที่รับรู้และภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์(มรดกโลก) กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีสัญชาติอังกฤษมีอิทธิพลส่งผลต่อความภักดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (มรดกโลก) มากกว่านักท่องเที่ยวจีน ดังนั้นถ้ากลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่มีสัญชาติอังกฤษได้รับรู้คุณค่าและภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมจะทำให้นักท่องเที่ยวสัญชาติอังกฤษมีความภักดีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (มรดกโลก) มากกว่านักท่องเที่ยวชาวจีน