GRA-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 107
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต ของเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ดิษฐภัท เรืองหัตถาการรายการ กลุยทธ์การบริหารการประกันคุณภาพของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยวรายการ การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้านการลงทุนของนักลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(2564) จุไรวรรณ รินทพล; วิชิต อู่อ้นการศึกษาเรื่อง การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้านการลงทุนของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านกระบวนการตัดสินใจที่ส่งผลต่อผลดำเนินการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย และ 3) สร้างแบบจำลองการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน (Multi-Stage-Sampling) จำนวน 510 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ศึกษาปัจจัยด้านกระบวนการตัดสินใจที่ส่งผลต่อผลดำเนินการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรม ความรู้ เทคโนโลยีมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 3) แบบจำลองการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่าโมเดลแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาตัวแปรปัจจัยพฤติกรรมการลงทุน ความรู้เทคโนโลยี และรูปแบบการลงทุนกับกลุ่มนักลงทุนรายอื่น รวมทั้งศึกษาตัวแปรที่เป็นปัจจัยเหตุอื่นๆ ที่อาจจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้านการลงทุนของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้งานวิจัยดูน่าสนใจ เกิดความท้าทาย ช่วยให้นักลงทุนมีศักยภาพและมีความสามารถในการขยายการลงทุนให้เกิดขึ้นได้ This research titled “Strategic decision making in investment of investors in stock exchange of Thailand” was aimed to: 1) study decision making process factors affect investors’ decision making in stock trading in stock exchange of Thailand, 2) study the influence of factors affect decision making process in stock trading in stock exchange of Thailand, and 3) create strategic decision model in stock trading in stock exchange of Thailand. The research methodology used in this study were conducted in mixed methods qualitative and quantitative, 5 purposive sampling have been used for qualitative research by in-depth interviewing, and for quantitative research, 510 stratified sampling have been used as multi-stage sampling. The finding suggested: 1) decision making process factors affect investors’ decision making in stock trading in stock exchange of Thailand, overviewing in high level, 2) the influence of factors affect decision making process in stock trading in stock exchange of Thailand, and 3) strategic decision model in stock trading in stock exchange of Thailand, the harmonious alliance between the model of structural equation and empirical data were appropriate. The suggestions: Further study in variable of investment behavioral factors, technological knowledge, investment model with other investors also study in other causal factors which may have influence the strategic decision making in investment of investors in stock exchange of Thailand in order to be attractive and challenged in enable the investors potential in investment expanding.รายการ การนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฏิบัติ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ลดา เมฆราตรีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์นโยบายของภาครัฐที่มีต่อการสนับสนุนธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทย ศึกษาการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฎิบัติ ศึกษาแนวทางทางการบริหารนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยและ และประเมินความเป็นไปได้ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฎิบัติ ประชากรในการศึกษา คือ องค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม สังเคราะห์นโยบายของภาครัฐโดยการศึกษาจากเอกสารขององค์กรเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ศึกษาการนำนโยบายไปปฎิบัติ แนวทางทางการบริหารนโยบาย ประเมินความเป็นไปได้ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มสมาคมอัญมณีและผู้ส่งออกอัญมณี กลุ่มกำหนดและผู้ปฎิบัตินโยบาย (กระทรวงพาณิชย์) กลุ่มผู้บริหารอุตสาหกรรมการส่งออกอัญมณี กลุ่มผู้บริหารบริษัทการส่งออกอัญมณีและกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านอุตสาหกรรมการส่งออกอัญมณี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 25 คน ใช้แบบสัมภาษณ์จำนวน 3 ฉบับเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลศึกษาการรับรู้ และการนำนโยบายของภาครัฐ ที่มีต่อการสนับสนุนธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทยของบริษัท ด้วยการสุ่มตัวอย่างองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยเป็นหน่วยตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 250 บริษัท ซึ่งกำหนดขนาดตัวอย่างตามวิธีคำนวณขนาดตัวอย่างของ ทอมสัน (Thompson, S.K. 2002) ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ค่าความคลาดเคลื่อน (e) เท่ากับ 0.05 สัมประสิทธิ์ความผันแปรของประชากร (CV) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ ที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และมีค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างทั้งฉบับด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ การสังเคราะห์นโยบาย และวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาสรุปได้ดังต่อไปนี้ ผลการวิจัยพบว่า นโยบายของภาครัฐที่มีต่อการสนับสนุนธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทยสามารถจำแนกออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (2) ด้านการพัฒนาการตลาด (3) ด้านการพัฒนาการผลิต (4) ด้านการเงิน (5) ด้านการปรับกฎระเบียบ และ(6) ด้านการวิจัยและพัฒนาองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมมีการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฏิบัติโดยพิจารณาประเมินจาก 1) สมรรถนะขององค์กร 2) ภาวะผู้นำและความร่วมมือ 3) การเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก และ 4) การวางแผนการควบคุม พบว่าองค์กร สมรรถนะขององค์กร ภาวะผู้นำและความร่วมมือการเมืองและการบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก และการวางแผนการควบคุมอยู่ในระดับปานกลางองค์กรมีการบริหารนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในกรอบแนวคิดพื้นฐานของ TQM (Total Quality Management) ทั้ง 6 ด้านได้แก่ การฝึกอบรมทางด้านคุณภาพการบริหารงานประจำวัน (Daily Management) การนำหลักการ การบริหารข้ามสายงาน (Cross Functional Management) การบริหารนโยบาย (Policy Management) องค์กรมีกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity) และการตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) อยู่ในระดับปานกลาง ผลการประเมินความเป็นไปได้และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฎิบัติด้วยการนำหลักของ PDCA มาใช้ประเมินกับการนำนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ทั้ง 6 ด้านได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาการตลาด การพัฒนาการผลิต ด้านการเงิน ด้านการปรับกฎระเบียบ และด้านการวิจัยและพัฒนาทุก ๆ ด้านมีระดับนโยบายอยู่ในระดับมากแต่ส่วนใหญ่มีการดำเนินการมากเฉพาะในบริษัทขนาดใหญ่ ผลการวิจัยพบว่าระดับการรับรู้ของผู้ประกอบการต่อภาพรวมนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 6 ด้านได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาการตลาด การพัฒนาการผลิต ด้านการเงิน ด้านการปรับกฎระเบียบ และด้านการวิจัยและพัฒนา มีค่าเฉลี่ยระดับนโยบายอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การพัฒนาการตลาด รองลงมาเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดคือ ด้านการเงิน และผลการศึกษาระดับการนำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปปฏิบัติในองค์กรพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ภาวะผู้นำและความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก รองลงมาเป็น ด้านการวางแผนการควบคุม อยู่ในระดับมากเช่นกัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านสมรรถนะขององค์กร อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยเปรียบเทียบระดับการรับรู้นโยบายภาครัฐในการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยตามลักษณะข้อมูลของบริษัท พบว่า แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ระหว่าง ประเภทของบริษัท อายุของบริษัท ทุนจดทะเบียน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนบุคลากร และคุณวุฒิส่วนใหญ่ของบุคลากรและผลการศึกษาเปรียบเทียบ ระดับการ นำนโยบายการสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและ เครื่องประดับไทยไปปฏิบัติตามลักษณะข้อมูลของบริษัท พบว่า แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ระหว่าง ประเภทของบริษัท อายุของบริษัท ทุนจดทะเบียน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนบุคลากร และคุณวุฒิส่วนใหญ่ของบุคลากรรายการ การนำนโยบายไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดนครราชสีมา(หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) อลงกต แผนสนิทการวิจัยเรื่อง “การนำนโยบายไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการนำนโยบายไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการส่วนภูมิภาค เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยกับการนำนโยบายไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการส่วนภูมิภาค เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการส่วนภูมิภาค เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการนำนโยบายไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการส่วนภูมิภาค และเสนอแนวทางในการพัฒนาการนำนโยบายไปปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของราชการส่วนภูมิภาค เครืองมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค ข้าราชการพลเรือน ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในราชการส่วนภูมิภาคและอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 312 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลีย ค่าส่วนเบียงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณรายการ การนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ ภาคกลางตอนล่าง 1(สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, 2560) ชาญยุทธ พวงกำหยาดการวิจัย เรื่อง “การนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1” มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 (4) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 และ (5) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานของเทศบาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 338 คน ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและใช้การวิเคราะห์โดยการตีความ การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายได้แก่นายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาล จากเทศบาลแห่งละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 16 คนใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติจากค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05 และการวิเคราะห์ข้อมูลถดถอยพหุคูณรายการ การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมในเขตชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี(หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ฐากูร หอมกลิ่นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของหน่วยงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการน้ำในเขตชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของหน่วยงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการน้ำในเขตชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของหน่วยงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการน้ำในเขตชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี และ 4) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาครัฐและหน่วยงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการน้ำในเขตชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบทฤษฎี แนวคิด และนิยามปฏิบัติการรายการ การประยุกต์ใช้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ในการให้เอกชนมีบทบาทในการจัดบริการพิธีกรรมงานศพ(หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) พระมหาไพฑูรย์ วรรณบุตรการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประการแรก เพื่อศึกษาวิเคราะห์การจัดการศพและพิธีกรรมงานศพในปัจจุบัน ประการที่สอง ศึกษาวิเคราะห์การประยุกต์ใช้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ในการให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการจัดบริการพิธีกรรมงานศพ และประการที่สาม ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ในการให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการจัดบริการพิธีกรรมงานศพ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือตัวแทนกรรมการสมาคมของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งประเทศไทย 74 คน พระภิกษุระดับผู้บริหารวัด 84 รูป และเจ้าภาพงานศพทั่วไป 84 คน รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้บริหารกิจการร้านค้าเกี่ยวกับสินค้าและการบริการพิธีกรรมงานศพ 13 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าทางสถิติ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนั้นได้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนารายการ การประเมินเชิงระบบโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กระทรวงศึกษาธิการ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ภัทรา ไวทยกุลรายการ การพัฒนากระบวนการคิดตามหลักธรรมโยนิโสมนสิการโดยวิธีการปฎิบัติวิปัสสากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ของผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคระกรรมการอาชีวศึกษา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ดรุณี ญาณวัฒนารายการ การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับปฐมศึกษาสู่เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) บัณฑิต พัดเย็นรายการ การพัฒนากลยุทธ์ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองทัพอากาศ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) วุฒิภัทร จันทร์สารรายการ การพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสตรีในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) สาลินี มีเจริญรายการ การพัฒนาตัวแบบประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ประเทืองทิพย์ สุกุมลจันทร์รายการ การพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) รัชพล แสงสว่างรายการ การพัฒนารูปบแบบการบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) พระมหาสหัส ดำคุ้มรายการ การพัฒนารูปแบบการจัดการลูกค้าเชิงสัมพันธภาพของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่.(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) กุลเชษฐ์ สุทธินพรัตนกุลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการลูกค้าเชิงสัมพันธภาพของธุรกิจ ค้าปลีกสมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการลูกค้าเชิงสัมพันธภาพของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบการพัฒนารูปแบบการจัดการลูกค้าเชิงสัมพันธภาพที่มี ต่อผลการดำเนินงานขององค์กร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ สมาชิกผู้มาใช้บริการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ จำนวน 6 แห่ง ซึ่งประกอบด้วย Tesco Lotus, Big C, Central Department Store, The Mall, Tops และ Home Fresh mart จำนวน 1,200 ท่าน.รายการ การพัฒนารูปแบบการบริหารวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีประสิทธิผล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) พิกุล โกสิยานันท์รายการ การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(Sripatum University, 2554-05-21) สุภัทร พันธ์พัฒนกุลการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลและเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ (Mix Mcthod) มีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล การยกร่างรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล การตรวจสอบรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล และการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผลรายการ การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) นายถวิล ศรีใจงามการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 (2) พัฒนา รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 (3) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 ได้ข้อมูลในการกำหนดแผนการด าเนินงานสำหรับสถานศึกษาต่าง ๆ ตลอดจน ทิศ ทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส านักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 อย่างแท้จริงขอบเขตด้านเนื้อหาองค์ประกอบของ องค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Managerment) 5 ด้าน คือ (1) ด้าน สภาพแวดล้อม (Environment) (2) ด้านการกำหนดภารกิจ (Mission) (3) ด้านการกำหนด เป้าประสงค์ (Objectives) 4) ด้านการกำหนดยุทธศาสตร์(Strategies) และ 5) ด้านการกำหนด นโยบาย (Policies) วิธีการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Mixed Method Research)