ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างผู้ที่จบการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในรายวิชา ACT102 หลักการบัญชีขั้นต้น 2 สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2556-12-24) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา ACT102 หลักการบัญชีขั้นต้น 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น 2 ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1)แผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ACT102 (2) แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนเรียน (3) การทดสอบย่อยในเนื้อหาเรื่องการตีราคาสินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ และ กิจการอุตสาหกรรม โดยสถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพกับนักศึกษาผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่แตกต่างกัน หรือมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ย ( x ) แล้วพบว่า นักศึกษาผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยที่ 2.46 ซึ่งสูงกว่านักศึกษาผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยที่ 2.30 2. พัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพกับนักศึกษาผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่แตกต่างกัน หรือมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระดับนัยสำคัญ 0.05 เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ย ( x ) แล้วพบว่า นักศึกษาผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยที่ 2.81 ซึ่งสูงกว่านักศึกษาผู้ที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยที่ 2.48 อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่านักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มมีพัฒนาการทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน The objective of this research with the single group design was to comparison the learning achievement of students between graduated in the Vocational Certificate Level and High School Education Level in ACT102 Principles of Accounting 2 and studied in the development of learning outcome between two groups. The sample of this research were 111 students of Department of Accounting, Faculty of Accounting,Sripatum University who were studying in Principles of Accounting 2 course in the second semester of the academic year 2012. The research instruments use were : (1) The lesson plan, (2) The Pretest, (3) The Formative test in details of Inventory, Property, Plant and Equipment, Liability and Owners’ equity, and Accounting of Manufacturing Firm. The statistics were frequency, percentage, means, standard deviation and the t-test. The results of this research were as follow : 1. The learning achievement of students between graduated in the Vocational Certificate Level and High School Education Level were no significant difference at the 0.05. Furthermore, the finding of this study revealed that the means of learning achievement of students graduated in the Vocational Certificate Level at 2.46 were higher than students graduated in High School Education Level at 2.30 2. The development of learning achievement scores of students between graduated in the Vocational Certificate Level and High School Education Level were no significant difference at the 0.05. However, the learning achievement scores of both groups were more increased before study in the class.รายการ ความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559-06-24) วรัญญาภรณ์ กุลสินทวีรัตน์; ยุวดี เครือรัฐติกาล; จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจ และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในกลุ่มสหกรณ์นอกภาคการเกษตรในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สหกรณ์นอกภาคการเกษตรที่ใช้บริการตรวจสอบบัญชีภาคเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จากข้อมูลของกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ พบว่ามีสหกรณ์ที่ใช้บริการผู้สอบบัญชีภาคเอกชนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทั้งสิ้น 318 แห่ง ยอมรับค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่างได้ 5% หรือ 0.05 ค่าที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับ 178 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสำรวจ โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดเป็นระดับ ปวช./ปวส./ปวท./อนุปริญญา ตำแหน่งงานบัญชี มีประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปี ทุนดำเนินงานของสหกรณ์มากกว่า 100,000,000 บาท และมีจำนวนสมาชิก 6,001-9,000 คน โดยภาพรวมแล้วความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความถูกต้อง ครบถ้วน ของการให้บริการ และขั้นตอนการให้บริการที่เหมาะสม สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงเสมอภาค รองลงมาคือ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้สอบบัญชีมีความเป็นอิสระไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใดและมีความรู้ความสามารถในการตรวจสอบบัญชีตามหลักการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี สำหรับการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ เมื่อจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน ทุนดำเนินงาน และจำนวนสมาชิกต่างกันไม่มีผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ Objectives of the research were 1) to study satisfaction towards cooperative auditor service outside agricultural sector in Bangkok metropolitan regions and 2) to compare the satisfaction. The population was cooperatives outside agricultural sector which used private auditor service in Bangkok metropolitan regions from the registered list of Cooperative Auditing Department. One hundred and seventy-seven of cooperatives form the total list of 318 was selected as a sample which was 5% or 0.05 acceptable errors. Questionnaire was created and used as a tool for data collection which sending to selected samples by mail. The result found that most of respondent ages was 31-40 years, earned vocational certificate/ high vocational certificate/ technical certificate/ diploma, 6-10 year experiences in accounting position, operating capital budget of cooperative more than 100,000,000 baht, and cooperative member was 6,001-9,000. Overall satisfaction towards cooperative auditor service was in high, the average of most of satisfaction issue were correction and coverage of service, and appropriate service process which can be given equity of service; and following satisfaction issue was personal in service sector which the average of most satisfaction were independent of auditor and capability and knowledge to audit under auditing principle and auditing standard. The comparing of average satisfaction toward cooperative auditor service was not significant by ages, education, position, work experience, operating capital budget, and the number of members.รายการ ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น 2(การประชุมวิชาการสาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 3, 2558-05-24) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งลงทะเบียนเรียนและเข้าเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถาม (2) แผนการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น 2 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยสถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test (paired-simple t-test) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาในรายวิชาหลักการบัญชีขั้นต้น 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการใช้คำถามมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 The objective of this quasi-experimental research with the single group pretest-posttest design was to compare learning outcome of students taught by using the effects of questioning method before and after the instruction. The sample of this research were 61 students of Department of Accounting, Faculty of Accounting, Sripatum University who were studying in Principles of Accounting 2 course in the second semester of the academic year 2013. The research instruments use were : (1) Questioning Method (2) The lesson plan, (3) Achievement test. The statistics were frequency, percentage, means, standard deviation and the t-test (paired-simple t-test). The results of this research was the method learning by using pretest and posttest on questioning method made the learning outcome scores of the students were statistically significantly higher than before toward significant increased at the .01 level.รายการ ผลของการใช้เทคนิคการทดสอบย่อยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา ACT314 การบัญชีบริหาร สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555-10-26) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา ACT314 การบัญชีบริหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเทคนิคการทดสอบย่อย โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชาการบัญชีบริหารในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จานวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ACT314 (2) การทดสอบย่อยก่อนเรียน (Pretest) และการทดสอบย่อยหลังเรียน (Posttest) ในเนื้อหาเรื่องการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุน-จำนวน-กาไร แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การประเมินโครงการลงทุน และการวัดผลการปฏิบัติงานของส่วนงาน โดยสถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. การเรียนแบบมีการทดสอบย่อยก่อนเรียนและทดสอบย่อยหลังเรียน และมีการให้ข้อมูลป้อนกลับ ทาให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำ (x = 6.98) เป็นระดับสูง ( x = 17.95) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่านักศึกษามีการเตรียมตัวอ่านหนังสือมาล่วงหน้า และมีความตั้งใจในเรียนมากขึ้น The objective of this quasi-experimantal research with the single group pretest-posttest design was to compare learning achievement of students taught by using the effects of formative tests before and after the instruction. The sample of this research were 64 students of Department of Accounting, Faculty of Accounting, Sripatum University who were studying in Management Accounting course in the first semester of the academic year 2011. The research instruments use were : (1) The lesson plan, (2) The Pretest and Posttest in details of Cost-Volume-Profit Analysis, Decision Making and Relevant Information, Capital Budgeting, and Performance Measurement. The statistics were frequency, percentage, means, standard deviation and the t-test. The results of this research were as follow : 1. The method learning by using pretest and posttest and give information feedback made the learning achievement scores of the studens were statistically significantly higher than before toward significant increased at the .05 level. 2. The development of learning achievement scores of students continuously trend to increase that’s mean students prepare in reading before study in the class.