ACC-06. ผลงานวิจัย
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-06. ผลงานวิจัย โดย ผู้เขียน "ยุวดี เครือรัฐติกาล"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ(Sripatum University, 2556) ยุวดี เครือรัฐติกาล; yuwadee Kruerattikarnงานวิจัยนี้ได้ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ จำนวน 60 บริษัท มีตัวแปรอิสระได้แก่ กลไกการกำกับดูแลกิจการของบริษัท (ประกอบด้วย จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรมการบริษัท จำนวนของกรรมการอิสระ สัดส่วนการถือหุ้นของกรรมการ การควบรวมตำแหน่งประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ และค่าตอบแทนกรรมการ) ตัวแปรตาม ได้แก่ ตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไร (ประกอบด้วย อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น และตัวแปรควบคุม ได้แก่ ขนาดของบริษัท อายุบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัทโดยใช้การทดสอบค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ ปี 2552 กลไกการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัท 3 ตัวแปรได้แก่ จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรรมการบริษัท อายุบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน โดยจำนวนครั้งการประชุมคณะกรรรมการบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน มีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงข้ามกัน ส่วนอายุบริษัทมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ปี 2553 กลไกการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกันกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัท ได้แก่ จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรรมการบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน ปี 2554 กลไกการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัท ได้แก่ สัดส่วนการถือหุ้นของกรรมการบริหาร ขนาดของบริษัท อายุบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน โดยขนาดของบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน มีความสัมพันธ์กันในทิศตรงข้ามกัน ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ปี 2552 และ 2553 มีตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมได้แก่ จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรรมการบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน ปี 2554 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ความเสี่ยงทางการเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น โดยใช้การทดสอบค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ พบว่าปี 2552 อายุบริษัทมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทเพียงตัวแปรเดียว ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ปี 2552 และ 2553 ไม่มีตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้น ส่วนปี 2554 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้นได้แก่ ค่าตอบแทนกรรมการ และขนาดของบริษัท จากผลการศึกษาสรุปได้ว่ากลไกการกำกับดูแลกิจการได้แก่ จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรรมการบริษัท สัดส่วนการถือหุ้นของกรรมการบริหาร และค่าตอบแทนกรรมการ มีความสัมพันธ์กับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ดังนั้นหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ นักลงทุน และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ควรให้ความสำคัญกับกลไกการกำกับดูแลมากยิ่งขึ้นในการเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดระหว่างกันรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของกลไกการกำกับดูแลกิจการกับ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2557) ยุวดี เครือรัฐติกาลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของกลไกการกำกับดูแลกิจการกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของกลไกการกำกับดูแลกิจการกับราคาหลักทรัพย์ วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิ โดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปี รายงานทางการเงิน และแบบแสดงข้อมูลประจำปี (56-1) ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2554 - 2558 จำนวน 1,707 ข้อมูล (365 บริษัท) มีตัวแปรอิสระ ได้แก่ จำนวนคณะกรรมการบริษัท จำนวนคณะกรรมการอิสระ ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท จำนวนคณะกรรมการตรวจสอบ ค่าตอบแทนของคณะกรรมการตรวจสอบ และบริษัทสอบบัญชี Big 4 ตัวแปรตาม ได้แก่ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และราคาหลักทรัพย์ โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ( Multiple Regression Analysis ) ผลการวิจัยพบว่า ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบและบริษัทสอบบัญชี Big 4 มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญในทิศทางเดียวกัน จำนวนคณะกรรมการบริษัท และค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบมีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ในทิศทางเดียวกัน ส่วนจำนวนคณะกรรมการบริษัท จำนวนคณะกรรมการอิสระ และจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ และจำนวนคณะกรรมการอิสระ ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท จำนวนคณะกรรมการตรวจสอบ และบริษัทสอบบัญชี Big 4 ไม่มีความสัมพันธ์ต่อราคาหลักทรัพย์