ACC-06. ผลงานวิจัย
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-06. ผลงานวิจัย โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 37
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ EFFECTIVE CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY (CSR) AND THE ROLES OF MANAGEMENT ACCOUNTANTS FOR A CREATION OF CORPORATE SHARED VALUE(Sripatum University, 2557-02) NEUNGRUTHAI PETCHARATNowadays, three areas of performance – economic, environmental, and social are of significant concerns to stakeholders and public to see where investment decision can be made. Accounting data on environmental and social aspects is required to incorporate in both mandatory and voluntary disclosures to create shared value on sustainable development. International measure and its framework such as Global Reporting Initiatives (GRI) and sustainability accounting practices can lead to preparation of sustainability reporting. Management accountants’ roles drive as collaboration to companies to provide more accurate accounting on environmental and social aspects when promoting how a company’s sustainability is achieved. A sustainable company not only enables more effective decision-making but also improve the data available to stakeholders and public for value creation. This study investigates an integration of environmental and social data in annual reports that link with the information in a voluntary disclosure to enable more effective decision-making and improve the information needs to stakeholders. Mixed method is employed to collect and analyse data as triangular findings. Legitimacy theory and stakeholder theory are employed to explain the findings.รายการ การบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงินที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19(Sripatum University, 2566) กิตติยา จิตต์อาจหาญงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงินที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ทำการเก็บข้อมูลจากนักบัญชีในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงิน ด้านการระบุเหตุการณ์ความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง และการติดตามประเมินผลและรายงาน ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19รายการ การประเมินสมรรถนะของผู้วางแผนภาษีธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อนำไปใช้ใน การออกแบบหลักสูตร(Sripatum University, 2558) ประเวศ เพ็ญวุฒิกุลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อประเมินระดับสมรรถนะของผู้วางแผนภาษีในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถนะที่ได้จากการประเมินโดยผู้วางแผนภาษีกับผู้บังคับบัญชาขั้นต้น และ(3) เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะของผู้วางแผนภาษี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ ผู้วางแผนภาษี จำนวน 52 คน และผู้บังคับบัญชาขั้นต้น จำนวน 52 คน โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970) เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินระดับสมรรถนะของผู้วางแผนภาษี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมานได้แก่ สถิติ t-test for two independent samples แบบ pooled t-test ผลการวิจัย พบว่า (1) สมรรถนะด้านหลักมีระดับสมรรถนะสูงที่สุด รองลงมาคือสมรรถนะด้านการจัดการ และสมรรถนะด้านเทคนิคตามลำดับ (2) ระดับสมรรถนะที่ได้จากการประเมินโดยผู้วางแผนภาษี และผู้บังคับบัญชาขั้นต้นไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ (3) แนวทางการออกแบบหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะของผู้วางแผนภาษีควรให้ความสำคัญกับสมรรถนะด้านเทคนิครายการ การประเมินหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับความสามารถในการทำกำไรและมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) รมิดา คงเขตวณิชการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) กับความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) กับมูลค่าของกิจการโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) กับความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าของกิจการโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มบริษัทที่คะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) ดีขึ้นไปและระดับคะแนนต่ำกว่าดีกับความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าของกิจการโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยเน้นการวิจัยเชิงพรรณนาและใช้การวิเคราะห์เชิงอนุมานโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลจากฐานข้อมูลจาก SET-SMARTรายการ การพัฒนากระบวนการตรวจสอบสารสนเทศทางบัญชี ธุรกรรมทางการเงิน สกุลดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ส่งผลต่อการยอมรับของผู้ประกอบการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ชัยสรรค์ รังคะภูติงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการตรวจสอบทางบัญชีที่มีผลต่อธุรกรรมเงินสกุลดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอส เอ็ม อี) ในประเทศไทย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ (1) ตัวแบบกระบวนการตรวจสอบทางบัญชีธุรกรรมเงินสกุลดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน (2) แบบสอบถามออนไลน์ และ (3) เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ประชากรได้จากกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย ในประเทศไทยจำนวน 140 บริษัท ประกอบด้วย (1) กลุ่มธุรกิจการเงิน, (2) กลุ่มเทคโนโลยี และ (3) กลุ่มบริการ โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยคำนวณจากสูตร ทาโร ยามาเน่ (Yamane, 2018) ที่ขนาดจำนวนประชากร 2,000 คน ที่ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 95% และค่าความคลาดเคลื่อนที่ ± 10% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 95 คน ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการตรวจสอบทางบัญชีธุรกรรมทางการเงินสกุลเงินดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนมีประสิทธิผลต่อการยอมรับของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ผลการประเมินด้วยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยการเท่ากับ 4.42 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.206) ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเอส เอ็ม อี หน่วยงานกำกับดูแลระดับชาติควรจะต้องพัฒนาโครงสร้างกฏหมายและแนวทางการปฎิบัติด้านธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลดิจิทัลให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินและเศรษฐกิจในประเทศเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไปรายการ การศึกษานโยบายทางการเงินธุรกิจด้านการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนและงบประมาณการลงทุนของบริษัทมหาชนจำกัด(2555-11-21T04:02:44Z) รัญชนา รัชตะนาวินผลการศึกษาวิจัยของผู้บริหารทางการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด 57 กลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับนโยบายทางการเงินธุรกิจของบริษัทมหาชนจำกัด ที่นำไปใช้ตัดสินใจลงทุนและจัดทำงบประมาณลงทุนของธุรกิจ และลักษณะของกลุ่มประชากรมีความสัมพันธ์กับการใช้นโยบายทางการเงินธุรกิจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนด้านงบประมาณเงินทุนและโครงสร้างเงินทุนในประเทศไทย มีอัตราการตอบกลับ 10.75% ผลการศึกษาวิจัยพบว่า มูลค่าปัจจัยสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ระยะเวลาคืน (Payback Period) และตัวแบบประเมินราคาสินทรัพย์ทุน (CAPM) เป็นเทคนิคที่องค์กรส่วนใหญ่นิยมใช้ ในการประเมินการลงทุนในโครงการต่างๆ และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ถ้าบริษัทมียอดขายต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น...รายการ การศึกษาผลการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการบัญชีการเงินของมหาวิทยาลัยศรีปทุม(คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558-04) รมิดา คงเขตวณิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนวิชาการบัญชีการเงิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม และเพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนวิชาบัญชีการเงิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามสาขาวิชาที่เรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการบัญชีการเงิน ปีการศึกษา 2/2555 จำนวน 227 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 มากที่สุด และเป็นนักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาการจัดการ โลจิสติกและโซ่อุปทานมากที่สุด นักศึกษามีความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนรายวิชาการบัญชีการเงิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนด้านการดำเนินการสอนของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด สิ่งที่คาดหวังน้อยที่สุด คือ ด้านคุณภาพการเรียนการสอน เนื้อหาวิชา ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนในสัดส่วนที่เท่ากัน และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้านการดำเนินการสอนของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด สิ่งที่นักศึกษาพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนการสอน สำหรับผลการปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน ตามสาขาวิชาที่เรียน พบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีสาขาต่างกัน มีความคาดหวังต่อการเรียนการสอนวิชาบัญชีการเงินไม่แตกต่างกัน และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชาบัญชีการเงินของมหาวิทยาลัยศรีปทุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ(Sripatum University, 2556) ยุวดี เครือรัฐติกาล; yuwadee Kruerattikarnงานวิจัยนี้ได้ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ จำนวน 60 บริษัท มีตัวแปรอิสระได้แก่ กลไกการกำกับดูแลกิจการของบริษัท (ประกอบด้วย จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรมการบริษัท จำนวนของกรรมการอิสระ สัดส่วนการถือหุ้นของกรรมการ การควบรวมตำแหน่งประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ และค่าตอบแทนกรรมการ) ตัวแปรตาม ได้แก่ ตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไร (ประกอบด้วย อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น และตัวแปรควบคุม ได้แก่ ขนาดของบริษัท อายุบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัทโดยใช้การทดสอบค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ ปี 2552 กลไกการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัท 3 ตัวแปรได้แก่ จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรรมการบริษัท อายุบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน โดยจำนวนครั้งการประชุมคณะกรรรมการบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน มีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงข้ามกัน ส่วนอายุบริษัทมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ปี 2553 กลไกการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกันกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัท ได้แก่ จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรรมการบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน ปี 2554 กลไกการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมของบริษัท ได้แก่ สัดส่วนการถือหุ้นของกรรมการบริหาร ขนาดของบริษัท อายุบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน โดยขนาดของบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน มีความสัมพันธ์กันในทิศตรงข้ามกัน ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ปี 2552 และ 2553 มีตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมได้แก่ จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรรมการบริษัท และความเสี่ยงทางการเงิน ปี 2554 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ความเสี่ยงทางการเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำกับดูแลกิจการกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น โดยใช้การทดสอบค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ พบว่าปี 2552 อายุบริษัทมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นของบริษัทเพียงตัวแปรเดียว ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ปี 2552 และ 2553 ไม่มีตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้น ส่วนปี 2554 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่ออัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้นได้แก่ ค่าตอบแทนกรรมการ และขนาดของบริษัท จากผลการศึกษาสรุปได้ว่ากลไกการกำกับดูแลกิจการได้แก่ จำนวนครั้งการประชุมคณะกรรรมการบริษัท สัดส่วนการถือหุ้นของกรรมการบริหาร และค่าตอบแทนกรรมการ มีความสัมพันธ์กับตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ดังนั้นหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ นักลงทุน และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ควรให้ความสำคัญกับกลไกการกำกับดูแลมากยิ่งขึ้นในการเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดระหว่างกันรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้น และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้น และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2559 จำนวน 212 บริษัท แล้วนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยตัวแปร (Multiple regression analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า วงจรเงินสดมีความสัมพันธ์เชิงลบกับกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัท ลูกหนี้การค้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ หนี้สินหมุนเวียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการวางแผนเกี่ยวกับเงินสด และหนี้สินหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ การพิจารณาสภาพคล่องของกิจการ เงินที่หมุนเวียนในกิจการไม่ให้ขาดสภาพคล่อง สำหรับธนาคารสามารถ วิเคราะห์ความเสี่ยงของกิจการก่อนอนุมัติให้สินเชื่อว่ามีความสามารถในการจ่ายชำระหนี้มากหรือน้อย ส่วนนักลงทุนก็สามารถใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกิจการที่เป็นคู่แข่งเพื่อดูจุดเด่น จุดด้อยสำหรับเลือกลงทุนในกิจการที่ดีกว่ารายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้น และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้น และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2559 จำนวน 212 บริษัท แล้วนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยตัวแปร (Multiple regression analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า วงจรเงินสดมีความสัมพันธ์เชิงลบกับกำไรสุทธิ อัตรากำไรต่อหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของบริษัท ลูกหนี้การค้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ หนี้สินหมุนเวียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกำไรสุทธิ แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการวางแผนเกี่ยวกับเงินสด และหนี้สินหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ การพิจารณาสภาพคล่องของกิจการ เงินที่หมุนเวียนในกิจการไม่ให้ขาดสภาพคล่อง สำหรับธนาคารสามารถ วิเคราะห์ความเสี่ยงของกิจการก่อนอนุมัติให้สินเชื่อว่ามีความสามารถในการจ่ายชำระหนี้มากหรือน้อย ส่วนนักลงทุนก็สามารถใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกิจการที่เป็นคู่แข่งเพื่อดูจุดเด่น จุดด้อยสำหรับเลือกลงทุนในกิจการที่ดีกว่ารายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ ลูกหนี้ และยอดขาย ที่มีต่อกำไรสุทธิของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2557 จำนวนทั้งสิ้น 125 บริษัท โดยเมื่อมีการเก็บข้อมูลแล้วพบว่ามีบางบริษัทที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงทำให้มีบริษัทที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 115 บริษัท และมีข้อมูล 498 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis : MRA) ผลการวิจัยพบว่า ลูกหนี้และยอดขายมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อกำไรสุทธิ ในขณะที่หนี้สินหมุนเวียนมีความสัมพันธ์ทางลบต่อกำไรสุทธิ สำหรับสินทรัพย์หมุนเวียนและเงินทุนหมุนเวียนสุทธิไม่มีความสัมพันธ์กับกำไรสุทธิ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยึดถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์คงค้างในงบการเงิน(คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2556) พรรณทิพย์ อย่างกลั่นการศึกษาวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยึดถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์คงค้างรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2558-11) รองเอก วรรณพฤกษ์การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทใน กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 62 บริษัท ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2554 - พ.ศ.2556 รวมระยะเวลา 3 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 A study of the relationship between a performance and a disclosure of social and environmental information of Thai listed companies in property and construction section was conducted with the objective 1)to study a disclosure of social and environmental information of Thai listed companies in property and construction section 2) to study a relationship between a performance and a disclosure of social and environmental information of Thai listed companies in property and construction section. The population was 62 Thai listed companies in property and construction section, a data on December 31, 2013. The data was collected from Financial Statements, 56-1 Report and Annual report for 3 years (between year 2011- 2013). The descriptive and inferential statistics used in this research comprised frequency, percentage, standard deviation and multiple regression analysisรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของกลไกการกำกับดูแลกิจการกับ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2557) ยุวดี เครือรัฐติกาลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของกลไกการกำกับดูแลกิจการกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของกลไกการกำกับดูแลกิจการกับราคาหลักทรัพย์ วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิ โดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปี รายงานทางการเงิน และแบบแสดงข้อมูลประจำปี (56-1) ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2554 - 2558 จำนวน 1,707 ข้อมูล (365 บริษัท) มีตัวแปรอิสระ ได้แก่ จำนวนคณะกรรมการบริษัท จำนวนคณะกรรมการอิสระ ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท จำนวนคณะกรรมการตรวจสอบ ค่าตอบแทนของคณะกรรมการตรวจสอบ และบริษัทสอบบัญชี Big 4 ตัวแปรตาม ได้แก่ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และราคาหลักทรัพย์ โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ( Multiple Regression Analysis ) ผลการวิจัยพบว่า ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบและบริษัทสอบบัญชี Big 4 มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญในทิศทางเดียวกัน จำนวนคณะกรรมการบริษัท และค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบมีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 ในทิศทางเดียวกัน ส่วนจำนวนคณะกรรมการบริษัท จำนวนคณะกรรมการอิสระ และจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ และจำนวนคณะกรรมการอิสระ ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท จำนวนคณะกรรมการตรวจสอบ และบริษัทสอบบัญชี Big 4 ไม่มีความสัมพันธ์ต่อราคาหลักทรัพย์รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและการตัดสินใจลงทุน ในหลักทรัพย์ของธุรกิจอุตสาหกรรมทางการเงิน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2560-10) ชัยสรรค์ รังคะภูติการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ในกลุ่มหลักทรัพย์ของธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเพื่อเป็นแนวทางให้กับนักลงทุนในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มหลักทรัพย์ของธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ธุรกิจการเงินทั้งของ SET และ MAI บริษัทเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการเงินจำนวน 65 แห่ง ประกอบด้วย อัตราส่วนผลตอบแทนจากกำไรสุทธิ อัตราส่วนตอบแทนจากสินทรัพย์รวม อัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราหมุนเวียนปริมาณการซื้อขายซึ่งได้มาจากข้อมูลงบการเงินของ พ .ศ.2555 - พ.ศ.2559 และข้อมูลการจัดทำรายงาน Corporate Governance Report of Thai Listed Companies (CGR) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ย้อนหลังเป็นระยะเวลา 5 ปี ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษานี้สามารถไปใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาถึงอัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วยอัตราผลตอบแทนกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวมอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น อัตราหนี้สินส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น อัตราการหมุนเวียนปริมาณซื้อขาย ต่อราคาหุ้น การจ่ายเงินปันผล และการกำกับดูแลกิจการที่ดี นักลงทุนสามารถนำอัตราการเงิน ของธุรกิจการเงินไปใช้ในการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์ในอนาคตเพื่อทำการตัดสินใจลงทุนในระยะยาว ในอนาคตเป็นไปได้อย่างถูกต้องและมีประโยชน์สูงสุดแก่นักลงทุนรายการ คุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพ ในประเทศไทย(Sripatum University, 2566) สุพัตรา หารัญดาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชี สำนักงานบัญชีคุณภาพ ในประเทศไทย จำนวน 137 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ F-test (ANOVA และ MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า นักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทยความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับคุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมากรายการ คู่มือออกแบบและวางผังชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(2555-03-02T05:52:39Z) สักรินทร์ แซ่ภู่; ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์รายการ ปัจจัยด้านองค์กรและการยอมรับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่มีต่อความสำเร็จในการใช้ระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(Sripatum University, 2566) กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านองค์กรที่มีต่อความสำเร็จของการใช้ระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชี ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านความทันเวลาและด้านความพึงพอใจของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่มีต่อความสำเร็จของการใช้ระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชี ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านความทันเวลาและด้านความพึงพอใจของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ 4.0(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-11) กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยที่เกิดจากบริษัทผู้สอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อการสอบบัญชีให้ได้คุณภาพของผู้สอบบัญชี 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ 4.0 และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสอบบัญชีให้ได้คุณภาพของผู้สอบบัญชี จำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสารวจรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้ช่วยผู้สอบบัญชี จำนวน 400 กลุ่มตัวอย่าง สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ t – test , F – Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ วิธีการทดสอบ Least Significant Difference (LSD) test ทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติทดสอบแบบ Pearson's Correlation Coefficient ใช้วิธีการหาถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทำการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter)รายการ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ 4.0(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-05) กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยที่เกิดจากบริษัทผู้สอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อการสอบบัญชีให้ได้คุณภาพของผู้สอบบัญชี 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ 4.0 และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสอบบัญชีให้ได้คุณภาพของผู้สอบบัญชี จำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสารวจรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้ช่วยผู้สอบบัญชี จำนวน 400 กลุ่มตัวอย่าง สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ t – test , F – Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ วิธีการทดสอบ Least Significant Difference (LSD) test ทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติทดสอบแบบ Pearson's Correlation Coefficient ใช้วิธีการหาถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทำการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter)