ACC-06. ผลงานวิจัย
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-06. ผลงานวิจัย โดย ผู้เขียน "รมิดา คงเขตวณิช"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การประเมินหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับความสามารถในการทำกำไรและมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) รมิดา คงเขตวณิชการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) กับความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) กับมูลค่าของกิจการโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) กับความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าของกิจการโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มบริษัทที่คะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) ดีขึ้นไปและระดับคะแนนต่ำกว่าดีกับความสามารถในการทำกำไรโดยใช้อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าของกิจการโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยเน้นการวิจัยเชิงพรรณนาและใช้การวิเคราะห์เชิงอนุมานโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลจากฐานข้อมูลจาก SET-SMARTรายการ การศึกษาผลการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการบัญชีการเงินของมหาวิทยาลัยศรีปทุม(คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2558-04) รมิดา คงเขตวณิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนวิชาการบัญชีการเงิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม และเพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนวิชาบัญชีการเงิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตามสาขาวิชาที่เรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการบัญชีการเงิน ปีการศึกษา 2/2555 จำนวน 227 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 มากที่สุด และเป็นนักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาการจัดการ โลจิสติกและโซ่อุปทานมากที่สุด นักศึกษามีความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนรายวิชาการบัญชีการเงิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนด้านการดำเนินการสอนของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด สิ่งที่คาดหวังน้อยที่สุด คือ ด้านคุณภาพการเรียนการสอน เนื้อหาวิชา ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนในสัดส่วนที่เท่ากัน และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้านการดำเนินการสอนของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด สิ่งที่นักศึกษาพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนการสอน สำหรับผลการปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน ตามสาขาวิชาที่เรียน พบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีสาขาต่างกัน มีความคาดหวังต่อการเรียนการสอนวิชาบัญชีการเงินไม่แตกต่างกัน และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชาบัญชีการเงินของมหาวิทยาลัยศรีปทุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05