College of Tourism and Hospitality
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู College of Tourism and Hospitality โดย ผู้เขียน "ธนกร ณรงค์วานิช"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 5
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานที่มีต่อ เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือ(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ธนกร ณรงค์วานิช; Thanakorn Narongvanichการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานที่มีต่อเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองของท่าอากาศยานและวัดผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวไทยและชาวต่างชาติที่ใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวนข้อมูลในครั้งนี้ คือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลจากการวิจัยพบว่า ภาพรวมผู้ใช้บริการท่าอากาศยานมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานมีความพึงพอใจในการใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ ฯ มีความมุ่งมั่นยินดีเต็มใจในการบริการ รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ ฯปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ เจ้าหน้าที่ ฯ มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญเหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ความเหมาะสมในการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ ฯ ที่ให้บริการ ขั้นตอนในการให้บริการมีความคล่องตัวไม่ซับซ้อน การให้บริการตามลำดับก่อนหลัง มีความเพียงพอในการให้บริการ การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อการให้บริการ เช่น กล่องรับความคิดเห็น และสุดท้ายที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความรวดเร็วในการให้บริการรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฎิบัติงานของบุคลากรที่ปฎิบัติงานในสายการบินไทยแอร์เอเซีย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-08) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสายการบินไทยแอร์เอเซียและเพื่อนำผลการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรในธุรกิจสายการบินในประเทศไทย ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานภาคพื้นดินของสายการบินไทยแอร์เอเซีย จำนวน 356 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) และใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 และ .01รายการ ผลกระทบของการบินกับวิกฤติสิ่งแวดล้อม(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-08) ธนกร ณรงค์วานิชปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าการบิน หรือการเดินทางโดยเครื่องบินเป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว นักธุรกิจพันล้าน นิสิต นักศึกษา นักเรียน หรือประชาชนทั่วไป เหตุเพราะค่าโดยสารในปัจจุบันโดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำ มีราคาถูกมาก ซึ่งทุกคนทุกระดับสามารถเข้าถึงได้ เหตุที่เป็นที่นิยมเพราะการเดินทางโดยเครื่องบินหรือการขนส่งสินค้าทางอากาศใช้เวลาน้อยกว่าการเดินทางแบบอื่น จึงถือได้ว่า อุตสาหกรรมการบินมีความเจริญเติบโตมาก แต่อุตสาหกรรมการบินก็เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดผลกระทบ เกิดวิกฤติต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ที่สำคัญจะมี 2 ประการ 1. ผลกระทบทางเสียงหรือมลภาวะภทางเสียง (Noise Pollution) คือ มีค่าระดับของความดังของเสียงเกินกว่าระดับที่ร่างกายมนุษย์จะรับได้ ทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อชีวิต ความเป็นอยู่ประจำวัน และเกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ 2. ผลกระทบอันเกิดจากไอเสียของเครื่องบิน (Aircraft Engine Emissions) โดยไอเสียที่เครื่องบินปล่อยออกมาส่วนใหญ่ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และทำให้คุณภาพของอากาศเปลี่ยนไป (Climate Change)รายการ ผลกระทบของการบินกับวิกฤติสิ่งแวดล้อม(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-08-31) ธนกร ณรงค์วานิชปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าการบิน หรือการเดินทางโดยเครื่องบินเป็นสิ่งจาเป็นในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว นักธุรกิจพันล้าน นิสิต นักศึกษา นักเรียน หรือประชาชนทั่วไป เหตุเพราะค่าโดยสารในปัจจุบันโดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่า มีราคาถูกมาก ซึ่งทุกคนทุกระดับสามารถเข้าถึงได้ เหตุที่เป็นที่นิยมเพราะการเดินทางโดยเครื่องบินหรือการขนส่งสินค้าทางอากาศใช้เวลาน้อยกว่าการเดินทางแบบอื่น จึงถือได้ว่า อุตสาหกรรมการบินมีความเจริญเติบโตมาก แต่อุตสาหกรรมการบินก็เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดผลกระทบ เกิดวิกฤติต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ที่สาคัญจะมี 2 ประการ 1. ผลกระทบทางเสียงหรือมลภาวะภทางเสียง (Noise Pollution) คือ มีค่าระดับของความดังของเสียงเกินกว่าระดับที่ร่างกายมนุษย์จะรับได้ ทาให้มีผลกระทบโดยตรงต่อชีวิต ความเป็นอยู่ประจาวัน และเกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ 2. ผลกระทบอันเกิดจากไอเสียของเครื่องบิน (Aircraft Engine Emissions) โดยไอเสียที่เครื่องบินปล่อยออกมาส่วนใหญ่ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และทาให้คุณภาพของอากาศเปลี่ยนไป (Climate Change)รายการ อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มาใช้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ(Sripatum University, 2566) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของคุณภาพการให้บริการ และนวัตกรรมการให้บริการ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการ ของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ ที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการ และ (4) ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายนวัตกรรมการให้บริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ที่มาใช้บริการ ในสนามบินสุวรรณภูมิ