College of Tourism and Hospitality
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู College of Tourism and Hospitality โดย ชื่อ{{beginningWith}}
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 37
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Factors Affecting the Satisfaction Level on Marketing and Services of Thai Low-Cost Airlines Case Study: Thai Elderly Passengers(Sripatum University, 2565-10-27) Vasavat Sutinyamanee; Supavadee Nontakao; Kriangkai PookayapornAs a result of entering into a phase of an aging society in Thailand, the ratio of Thai elderly is getting higher each year. This will generally reflect trends of Thai consumer behavior which will vary according to a change in the percentage of the aging population. Elderly people, then, become a new customer base to which several business organizations are paying attention. The aviation industry, like many others, is paying a lot of attention to the increasing ratio of elderly passengers, especially the low-cost airlines. The Airlines business, itself, basically is a business that relies heavily on customer satisfaction. The purpose of this research is to study factors affecting marketing and services provided by Thai low-cost airlines towards Thai elderly passengers. Through the application of the Purposive Sampling approach, the sample used was 500 Thai elderly passengers who use low-cost airlines at Don Mueang International Airport. Descriptive Statistics and Ordered Logistic Regression were applied to analyze the factors that affect the satisfaction level in three areas: the airline's overall marketing image, the airline's personnel of the airlines and the service standard of the airlines. The findings revealed that age, income per month and physical limitation of the elderly passengers affect the satisfaction level of the passengers against low-cost airlines. These results were much advantageous that each low-cost airline may take them in to its consideration to further refer toor use as the ground for continuous development of its services to maintain the customer base and good image of the airlines.รายการ Management and Conservation of Historic Site for Cultural Heritage Tourism : A Case Study of Scriptures Library at Wat Rakhang Khosittaram Woramahavihara, Bangkok(International Journal of Management, Business and Economics (IJMBE), 2562-04-01) Panot AsawachaiThis research aimed to review (1) the heritage values and cultural significance of the scriptures library at Wat Rakhang Khosittaram Woramahavihara, and (2) the potential for cultural heritage tourism. Critical to the aims was the assumption of acknowledging the importance of promoting better understanding for tourists and community of the place, the associated roles of management and conservation plans, cooperation between the stakeholders, and appropriate interpretation and presentation of cultural heritage resources.รายการ THE ROLE OF ICT IN URBAN DEVELOPMENT AND ITS IMPACT ON MENTAL HEALTH: THAILAND CONTEXT(Sripatum University, 2565-10-27) Supavadee Nontakao; Vasavat SutinyamaneeThe objectives of this article are to present the role of ICT in urban development, its impact on working life and way of life of urban dwellers, to explain the relationships between urbanization and economic growth, and to explore the impact of heavy use of ICT in urban area on the mental health. The urbanization trendhas been accelerated since the 20th century. Urbanization in Thailand has proceeded after World War II with a relatively modest annual growth rate of 2.0%. ICT potentially plays an important part in achieving sustainable urban development. Governments of many countries including Thailand are taking the lead in developing the next generation of cities: smart cities driven by technological solutions. Urbanization and economic growth are very much related to each other. It brings new opportunities and challenges for sustainable development. However, urbanization has given rise to major health issues. Physically and mentally, the urbanites are becoming the sufferers due to various environmental degradation, pollution, fast- living culture, etc. Unemployment and economic conditions can lead to an increase in mental disorder. The technology access variable had a positive effect on mental disorder. In Thailand, the growing addiction to social media has left many users stressed and less patient. Youngsters are also addicted to internet games. Youngsters who spend a lot of time on the internet tend to perform poorly at school. Video game addiction is a mental health disorder.รายการ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาล ขององค์การภาครัฐตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-07) ปิยากร หวังมหาพร; อภิญญา ดิสสะมานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลฯ 2) ระดับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาลฯ และ 3) ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐตามการประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรสังกัดกรมการท่องเที่ยวกรมกิจการ ผู้สูงอายุและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมบังคับคดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม กำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 612 คน ด้วยโปรแกรม G*Power เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และ .99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์พหุคูณแบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ เชิงเส้นตรง ผลการวิจัยพบว่าระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาลฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับปัจจัยมีค่าเฉลี่ยจากมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำ ปัจจัย ด้านนโยบาย และปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ ระดับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมา ภิบาลฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับรายด้านมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ด้านหลัก ความรับผิด หลักความคุ้มค่า ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาล ขององค์การภาครัฐตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสรายการ การจัดการปัญหาขยะอาหารของครัวการบิน(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) ธนกร ณรงค์วานิชบทความนี้วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาขยะของครัวการบิน 2. เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาขยะของครัวการบิน อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาขยะในครัวการบิน เนื่องจากอาหารที่ถูกผลิตออกมาในโลกประมาณ 1 ใน 3 นั้นกลายเป็นขยะอาหารที่เป็นเศษอาหารและไม่สามารถนำมารับประทานได้ แต่ต้องนำมาทิ้งกลายเป็นขยะอาหารในปริมาณจำนวนมากหรือประมาณ 1.6 พันล้านตันต่อปี ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไข หรือสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภค ในครัวการบินเพื่อเป็นการลดต้นทุนและลดการสูญเสียอาหารหรือขยะอาหาร และช่วยในการลดปริมาณขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาหารในครัวการบิน และลดปริมาณอาหารที่เหลือจากการให้บริการบนเครื่องบินรายการ การจัดการปัญหาขยะอาหารของครัวการบิน Management of Food Waste for Airline Catering(2564-10-28) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิชบทความนี้วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาขยะของครัวการบิน 2. เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาขยะของครัวการบิน อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาขยะในครัวการบิน เนื่องจากอาหารที่ถูกผลิตออกมาในโลกประมาณ 1 ใน 3 นั้นกลายเป็นขยะอาหารที่เป็นเศษอาหารและไม่สามารถนำมารับประทานได้ แต่ต้องนำมาทิ้งกลายเป็นขยะอาหารในปริมาณจำนวนมากหรือประมาณ 1.6 พันล้านตันต่อปี ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไข หรือสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภค ในครัวการบินเพื่อเป็นการลดต้นทุนและลดการสูญเสียอาหารหรือขยะอาหาร และช่วยในการลดปริมาณขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาหารในครัวการบิน และลดปริมาณอาหารที่เหลือจากการให้บริการบนเครื่องบินรายการ การรับรู้ความเชื่อมั่นการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิในสถานการณ์ COVID-19 (Perception of Service Reliability of Suvarnabhumi Airport in the Situation )(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2566-05) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิ และ 2) เปรียบเทียบการรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่า 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (α) เท่ากับ 0.99 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 250 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติ ค่าที ค่าเอฟ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการสนามบินสุวรรณ ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ▁x = 3.48 และ S.D. = 0.94 2) ผู้โดยสารที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิไม่แตกต่างกันรายการ การศึกษาประสบการณ์นักท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในประเทศไทย(Sripatum University, 2566) ปวีดา สามัญเขตรกรณ์การท่องเที่ยวเชิงศาสนาเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทหนึ่ง เป็นการท่องเที่ยวที่อยู่ในระดับที่ไม่ลึกซึ้งนัก ผู้เดินทางมีความพึงพอใจที่ได้ไปเยี่ยมเยือนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีคุณค่าทางด้านความเชื่อ และเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม แต่เนื่องจากองค์ประกอบการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวเชิงศาสนาอาจมีความแตกต่างจากองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทําให้อาจส่งมอบประสบการณ์ที่แตกต่างให้แก่นักท่องเที่ยว ดังนั้นการนําเสนอประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงศาสนาให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงศาสนาจากองค์ประกอบการท่องเที่ยวจึงมีความสําคัญ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่มีความสําคัญต่อนักท่องเที่ยว และ 2) เพื่อศึกษาประเภทของประสบการณ์การท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่นักท่องเที่ยวได้รับ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบสํารวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาในเกาะรัตนโกสินทร์รายการ การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป.(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-07-01) ชญาณิศา วงษ์พันธุ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อการมาเยือนกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป (2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้ากรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร จ้านวน 246 คน ใช้วิธีเลือกโดยอาศัยความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามภาษาอังกฤษ มีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นของครอนบัด (Cronbach) X เท่ากับ 0.852 และ Y เท่ากับ 0.880 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส้าหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ผลของการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวชาวยุโรปมีความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านการบริการมากที่สุด (Beta = .254) รองลงมา คือความรู้สึกไม่พึงพอใจมีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านความปลอดภัยและอาชญากรรม (Beta = .191) ความรู้สึกไม่พึงพอใจมีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านด้านบุคคล (Beta = .166) ที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปต่อกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาสามารถน้าไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้เพิ่มมาตรฐานการบริการแก่ลูกค้าเพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการบริการรวมถึงการพัฒนาบุคลากรในสายงานของธุรกิจให้มีศักยภาพและคุณภาพในงานบริการอย่างมีมาตรฐาน สากลประเทศ และรักษาระดับมาตรฐานการบริการให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น ส่วนด้านความปลอดภัยและอาชญากรรมควรจะมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการดูแลรักษาความปลอดภัย ให้ความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวด้านความปลอดภัยที่จะไม่โดนโกง ถูกหลอก หรือการถูกท้าร้ายจากมิจฉาชีพ เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่กรุงเทพมหานครและประเทศไทยรายการ ความท้าทายอุตสาหกรรมการบินหลังโควิด 19(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-08) ธนกร ณรงค์วานิชหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิค-19 (COVID-19) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และเริ่มแพร่ระบาดมากจนต้องประกาศมาตรการล็อตดาวน์ ห้ามเดินทางออกนอกบ้าน และให้ปรับรูปแบบการทำงานโดยให้ทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home (WFH) โรงเรียนรวมถึงสถานศึกษาต่างๆ ก็ให้หยุดเรียนและให้มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์จนกระทั่งปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโควิค-19 นับว่าก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นอย่างมากและทุกวงการ ไม่ว่าด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบมากที่สุดรายการ “ทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย(SPU Conference 17, 2565-10-27) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย 3) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้โดยสาร จำนวน 246 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ ค่าที ค่าเอฟ และค่าแอลเอสดี โดยกำหนดระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ สายการบินไทยแอร์เอเชีย ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุ 21-26 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษา ระดับปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท 2) ทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย พบได้ว่าทัศนคติด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านพฤติกรรม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมากที่สุดทุกด้าน และ 3) ผู้โดยสารที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และด้านพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ บทความ “พระราชบัญญัติเดินอากาศ พ.ศ.2497 กับ อากาศยานไร้คนขับ”(ผศ.ธนกร ณรงค์วานิช, 2565-10-23) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิชรายการ ปัจจัยทางการท่องเที่ยวและรูปแบบการบริหารงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร(Sripatum University, 2566) ณัฐกฤตา นันทะสินการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับ 1) องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว 2) รูปแบบการบริหารงาน และ 3) รูปแบบการบริหารการตลาด เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เคยใช้บริการร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครรายการ ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) ธนกร ณรงค์วานิช; มณฑิชา เครือสุวรรณ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจในการใช้บริการของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เคยใช้บริการโดยสารเครื่องบินและพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยคณะผู้วิจัยได้กาหนดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 450 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Convenient Sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Simple Random Sampling) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภาษาอังกฤษมีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นครอนบัด (Cronbach) ได้เท่ากับ 0.882 โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สาหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis, T-test, และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลของการวิจัยพบว่าจากจานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 450 คนพบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีสถานะโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้ปัจจุบันมีรายได้ 1,500-3,000 ดอลลาร์ต่อเดือน และมีภูมิลาเนาอยู่ในทวีปเอเชีย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย แบ่งปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความ ไม่พึงพอใจตามระดับความคิดเห็นของผู้โดยสารชาวต่างชาติออกเป็น 4 ด้าน เรียงตามลาดับความไม่พึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการตรวจคนเข้าเมือง 2) ปัจจัยด้านการตรวจสมัภาระ 3) ปัจจัยด้านเครื่องแสกนและวัตถุต้องห้ามและ 4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายในท่าอากาศยาน ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านความไม่พึงพอใจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางมายังประเทศของผู้โดยสารชาวต่างชาติ พบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติไม่พึงพอใจต่อด้านความปลอดภัยจึงเป็นสาเหตุที่จะส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรายการ ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(Sripatum University, 2563-12-18) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจในการใช้บริการของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เคยใช้บริการโดยสารเครื่องบินและพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยคณะผู้วิจัยได้กาหนดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 450 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Convenient Sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Simple Random Sampling) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภาษาอังกฤษมีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นครอนบัด (Cronbach) ได้เท่ากับ 0.882 โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สาหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis, T-test, และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลของการวิจัยพบว่าจากจานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 450 คนพบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีสถานะโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้ปัจจุบันมีรายได้ 1,500-3,000 ดอลลาร์ต่อเดือน และมีภูมิลาเนาอยู่ในทวีปเอเชีย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย แบ่งปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความ ไม่พึงพอใจตามระดับความคิดเห็นของผู้โดยสารชาวต่างชาติออกเป็น 4 ด้าน เรียงตามลาดับความไม่พึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการตรวจคนเข้าเมือง 2) ปัจจัยด้านการตรวจสมัภาระ 3) ปัจจัยด้านเครื่องแสกนและวัตถุต้องห้ามและ 4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายในท่าอากาศยาน ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านความไม่พึงพอใจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางมายังประเทศของผู้โดยสารชาวต่างชาติ พบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติไม่พึงพอใจต่อด้านความปลอดภัยจึงเป็นสาเหตุที่จะส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรายการ ปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานปฏิบัติการ: กรณีศึกษา สายการบินต้นทุนตํ่าแห่งหนึ่งของไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) วสวัตติ์ สุติญญามณีการพัฒนาและฝึ กอบรมบุคลากรในองค์กร เป็ นสิ่งที่องค์กรจะต้องมีกระบวนการที่เป็ นระบบและมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้บุคลากรมีสมรรถนะตามวิสัยทัศน์ขององค์กร หากบุคลากรมีสมรรถนะในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะต่างๆที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานแล้วการดําเนินงานในด้านต่างๆ ก็ สามารถดําเนินไปอยางราบรื่น แต ่ ่ถ้าหากบุคลากรขาดความพร้อมในการปฏิบัติงานอันเนื่องมากจากขาดความรู้ ความสามารถหรือทัศนคติ จนทําให้การปฏิบัติงานเป็ นไม่ไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กรกาหนด การจัดการ ํ พัฒนาและการฝึ กอบรมบุคลากรจึงเป็ นสิ่งที่จะต้องมีการวางแผนและการดําเนินงานอย่างรอบคอบ เพื่อให้ บุคลากรมีประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้นรวมทั้งก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันให้กบองค์กรได้อย ั าง่ ยังยืนองค์ก ่ รในด้านอุตสาหกรรมการบินเป็ นองค์กรขนาดใหญ่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการ ทํางานของพนักงานในองค์กร ซึ่งการศึกษาพบวาปัจจัยสิ ่ ่ งแวดล้อมในการปฏิบัติงานด้านบรรยากาศในการทํางาน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้บังคับบัญชา และปัจจัยสิ่งแวดล้อมในด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและเพื่อนร่วมงาน กบประสิทธิภาพในการทํางานมีความสัมพันธ์ก ั นอย ั างมี ่ นัยสําคัญทางสถิติดังนั้นองค์กรควรมีมาตรการต่างๆที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทํางาน ของผู้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้องค์กรเจริญกาวหนาต่อไปรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานที่มีต่อ เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือ(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ธนกร ณรงค์วานิช; Thanakorn Narongvanichการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานที่มีต่อเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองของท่าอากาศยานและวัดผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวไทยและชาวต่างชาติที่ใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวนข้อมูลในครั้งนี้ คือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลจากการวิจัยพบว่า ภาพรวมผู้ใช้บริการท่าอากาศยานมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานมีความพึงพอใจในการใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ ฯ มีความมุ่งมั่นยินดีเต็มใจในการบริการ รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ ฯปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ เจ้าหน้าที่ ฯ มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญเหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ความเหมาะสมในการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ ฯ ที่ให้บริการ ขั้นตอนในการให้บริการมีความคล่องตัวไม่ซับซ้อน การให้บริการตามลำดับก่อนหลัง มีความเพียงพอในการให้บริการ การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อการให้บริการ เช่น กล่องรับความคิดเห็น และสุดท้ายที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความรวดเร็วในการให้บริการรายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของ ผู้สูงอายุไทยในเขตภาคเหนือ(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 2563-12-23) วสวัตติ์ สุติญญามณี; ชยินทร์ธร ธาดาดุสิตา; เดือนเด่น วิบูลย์พันธุ์จากการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทยที่สัดส่วนของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศมีสัดส่วนที่สูงขึ้น ดังนั้นแนวโน้มของผู้บริโภคจึงมีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสของสังคม ผู้สูงอายุจึงมีบทบาทสำคัญและกำลังเป็นฐานผู้บริโภคใหม่ที่หลายองค์กรธุรกิจกำลังให้ความสนใจ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่แหล่งท่องเที่ยวจะมีสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น อีกทั้งในแหล่งท่องเที่ยวก็ตามก็ต้องทำการรักษาฐานนักท่องเที่ยวและสร้างความพึงพอใจในการให้บริการของนักท่องเที่ยว ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเกี่ยวกับเพื่อศึกษาพฤติกรรมการการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ในเขตภาคเหนือ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรผู้สูงอายุในเขตเขตภาคเหนือ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 500 คน วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการใช้สถิติขั้นสูง Ordered Logistic Regression ในการวิเคราะห์ถึงเพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ในเขตเขตภาคเหนือ โดยพบว่า อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ข้อจำกัดทางกายภาพของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ในเขตเขตภาคเหนือ ซึ่งเป็นสิ่งที่แหล่งท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไปรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตพื้นที่เมืองพัทยา(วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2560-04-01) เตือนใจ ศรีชะฎาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการตัดสินใจเลือกที่พักแรม ในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตพัทยา จ านวน 385 คนเลือกผู้ตอบ แบบสอบถามแบบบังเอิญ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.4 มีอายุช่วง 20 – 30 ปีการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้ ระหว่าง 10,001–20,000 บาท โดยภาพรวมของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกที่พักแรมในเขตพัทยาทั้ง 6 ด้านของ นักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความส าคัญระดับมากรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-06) วสวัตติ์ สุติญญามณีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกและรูปแบบการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุไทยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster)จํานวน 500 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์แบบเรียงลําดับในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุไทย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลใน 2รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางโดยสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบ และสายการบินต้นทุนต่ําผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุตัดสินใจที่จะเลือกรูปแบบการเดินทางโดยสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบมากที่สุดโดยปัจจัย ในด้านอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ข้อจํากัดทางกายภาพของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุไทย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลซึ่งเป็นสิ่งที่สายการบินต้องคํานึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนํามาพัฒนาปรับปรุงเพื่อเป็นสายการบินที่ตอบสนองผู้โดยสารผู้สูงอายุได้ต่อไป