College of Tourism and Hospitality
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู College of Tourism and Hospitality โดย วันที่ออก{{beginningWith}}
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 37
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตพื้นที่เมืองพัทยา(วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2560-04-01) เตือนใจ ศรีชะฎาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการตัดสินใจเลือกที่พักแรม ในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตพัทยา จ านวน 385 คนเลือกผู้ตอบ แบบสอบถามแบบบังเอิญ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.4 มีอายุช่วง 20 – 30 ปีการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้ ระหว่าง 10,001–20,000 บาท โดยภาพรวมของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกที่พักแรมในเขตพัทยาทั้ง 6 ด้านของ นักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความส าคัญระดับมากรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฎิบัติงานของบุคลากรที่ปฎิบัติงานในสายการบินไทยแอร์เอเซีย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-08) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสายการบินไทยแอร์เอเซียและเพื่อนำผลการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรในธุรกิจสายการบินในประเทศไทย ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานภาคพื้นดินของสายการบินไทยแอร์เอเซีย จำนวน 356 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) และใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 และ .01รายการ Management and Conservation of Historic Site for Cultural Heritage Tourism : A Case Study of Scriptures Library at Wat Rakhang Khosittaram Woramahavihara, Bangkok(International Journal of Management, Business and Economics (IJMBE), 2562-04-01) Panot AsawachaiThis research aimed to review (1) the heritage values and cultural significance of the scriptures library at Wat Rakhang Khosittaram Woramahavihara, and (2) the potential for cultural heritage tourism. Critical to the aims was the assumption of acknowledging the importance of promoting better understanding for tourists and community of the place, the associated roles of management and conservation plans, cooperation between the stakeholders, and appropriate interpretation and presentation of cultural heritage resources.รายการ การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป.(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-07-01) ชญาณิศา วงษ์พันธุ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อการมาเยือนกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป (2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้ากรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร จ้านวน 246 คน ใช้วิธีเลือกโดยอาศัยความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามภาษาอังกฤษ มีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นของครอนบัด (Cronbach) X เท่ากับ 0.852 และ Y เท่ากับ 0.880 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส้าหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ผลของการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวชาวยุโรปมีความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านการบริการมากที่สุด (Beta = .254) รองลงมา คือความรู้สึกไม่พึงพอใจมีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านความปลอดภัยและอาชญากรรม (Beta = .191) ความรู้สึกไม่พึงพอใจมีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านด้านบุคคล (Beta = .166) ที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปต่อกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาสามารถน้าไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้เพิ่มมาตรฐานการบริการแก่ลูกค้าเพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการบริการรวมถึงการพัฒนาบุคลากรในสายงานของธุรกิจให้มีศักยภาพและคุณภาพในงานบริการอย่างมีมาตรฐาน สากลประเทศ และรักษาระดับมาตรฐานการบริการให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น ส่วนด้านความปลอดภัยและอาชญากรรมควรจะมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการดูแลรักษาความปลอดภัย ให้ความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวด้านความปลอดภัยที่จะไม่โดนโกง ถูกหลอก หรือการถูกท้าร้ายจากมิจฉาชีพ เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่กรุงเทพมหานครและประเทศไทยรายการ พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและแนวโน้มการเติบโตของที่พักเพื่อผู้สูงอายุ(2562-07-30) พีรยา สุขกิจเจการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในไทยเป็นทั้งโอกาสและทดสอบความสามารถของภาคธุรกิจเอกชน ที่ต้องปรับสินค้า-บริการ กิจกรรมต่าง ๆ ชมรม โรงเรียนและการฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้สูงวัยที่กำลังจะกลายมาเป็นกลุ่มประชากรหลักของประเทศในอนาคตอันใกล้ จากการเติบโตดังกล่าวส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศดีขึ้น และจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทำให้ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ความได้เปรียบด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทยจึงเป็นจุดแข็งที่สำคัญที่ทำให้แหล่งท่องเที่ยวของไทยแพร่หลายรายการ อุตสาหกรรมการบินจะผ่านไปอย่างไรกับโควิค 19(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-08) ธนกร ณรงค์วานิชนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เริ่มต้นขึ้นจากประเทศจีน หลังจากนั้นก็มีข่าวการระบาดเพิ่มขึ้นทุกวัน จนต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นโควิด 19 (COVID 19) ซึ่งวิกฤตโควิด-19 เริ่มมีการแพร่ระบาดไปในหลายประเทศ ยิ่งนานวันก็ยิ่งขยายการแพร่ระบาดออกไป แม้กระทั่งประเทศไทยก็เริ่มมีการระบาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ หนักสุดในเดือนมีนาคม 2563 จนต้องมีการล๊อคดาวน์ หยุดการทำงาน รวมถึงสถานศึกษาต้องหยุดการเรียนการสอน ซึ่งโควิด 19 ได้สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายแก่สังคมโลกเป็นอย่างมาก การแพร่ระบาดของ COVID-19 สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรม โดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีจำนวนเกือบ 3,000,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 เมษายน 2563) จากการแพร่ระบาดทำให้หลายประเทศทั่วโลก เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส ซาอุดีอาระเบีย อินเดีย รวมถึงไทย ใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก โดยจีนปรับลดลงกว่า 82% เกาหลีใต้ลดลง 70% อิตาลีลดลง 60% และไทยลดลงกว่า 60% เช่นกัน และหลายสายการบินทั่วโลกได้ยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศกว่า 80-90% ตั้งแต่ มีนาคม 2563 จนไปถึง พฤษภาคม 2563 และมีแนวโน้มว่าจะยกเลิกเที่ยวบินไปจนถึงสิ้นปี 2020 เป็นอย่างน้อยรายการ ผลกระทบของการบินกับวิกฤติสิ่งแวดล้อม(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-08) ธนกร ณรงค์วานิชปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าการบิน หรือการเดินทางโดยเครื่องบินเป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว นักธุรกิจพันล้าน นิสิต นักศึกษา นักเรียน หรือประชาชนทั่วไป เหตุเพราะค่าโดยสารในปัจจุบันโดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำ มีราคาถูกมาก ซึ่งทุกคนทุกระดับสามารถเข้าถึงได้ เหตุที่เป็นที่นิยมเพราะการเดินทางโดยเครื่องบินหรือการขนส่งสินค้าทางอากาศใช้เวลาน้อยกว่าการเดินทางแบบอื่น จึงถือได้ว่า อุตสาหกรรมการบินมีความเจริญเติบโตมาก แต่อุตสาหกรรมการบินก็เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดผลกระทบ เกิดวิกฤติต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ที่สำคัญจะมี 2 ประการ 1. ผลกระทบทางเสียงหรือมลภาวะภทางเสียง (Noise Pollution) คือ มีค่าระดับของความดังของเสียงเกินกว่าระดับที่ร่างกายมนุษย์จะรับได้ ทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อชีวิต ความเป็นอยู่ประจำวัน และเกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ 2. ผลกระทบอันเกิดจากไอเสียของเครื่องบิน (Aircraft Engine Emissions) โดยไอเสียที่เครื่องบินปล่อยออกมาส่วนใหญ่ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และทำให้คุณภาพของอากาศเปลี่ยนไป (Climate Change)รายการ ผลกระทบของการบินกับวิกฤติสิ่งแวดล้อม(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-08-31) ธนกร ณรงค์วานิชปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าการบิน หรือการเดินทางโดยเครื่องบินเป็นสิ่งจาเป็นในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว นักธุรกิจพันล้าน นิสิต นักศึกษา นักเรียน หรือประชาชนทั่วไป เหตุเพราะค่าโดยสารในปัจจุบันโดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่า มีราคาถูกมาก ซึ่งทุกคนทุกระดับสามารถเข้าถึงได้ เหตุที่เป็นที่นิยมเพราะการเดินทางโดยเครื่องบินหรือการขนส่งสินค้าทางอากาศใช้เวลาน้อยกว่าการเดินทางแบบอื่น จึงถือได้ว่า อุตสาหกรรมการบินมีความเจริญเติบโตมาก แต่อุตสาหกรรมการบินก็เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดผลกระทบ เกิดวิกฤติต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ที่สาคัญจะมี 2 ประการ 1. ผลกระทบทางเสียงหรือมลภาวะภทางเสียง (Noise Pollution) คือ มีค่าระดับของความดังของเสียงเกินกว่าระดับที่ร่างกายมนุษย์จะรับได้ ทาให้มีผลกระทบโดยตรงต่อชีวิต ความเป็นอยู่ประจาวัน และเกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ 2. ผลกระทบอันเกิดจากไอเสียของเครื่องบิน (Aircraft Engine Emissions) โดยไอเสียที่เครื่องบินปล่อยออกมาส่วนใหญ่ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และทาให้คุณภาพของอากาศเปลี่ยนไป (Climate Change)รายการ ปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานปฏิบัติการ: กรณีศึกษา สายการบินต้นทุนตํ่าแห่งหนึ่งของไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) วสวัตติ์ สุติญญามณีการพัฒนาและฝึ กอบรมบุคลากรในองค์กร เป็ นสิ่งที่องค์กรจะต้องมีกระบวนการที่เป็ นระบบและมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้บุคลากรมีสมรรถนะตามวิสัยทัศน์ขององค์กร หากบุคลากรมีสมรรถนะในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะต่างๆที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานแล้วการดําเนินงานในด้านต่างๆ ก็ สามารถดําเนินไปอยางราบรื่น แต ่ ่ถ้าหากบุคลากรขาดความพร้อมในการปฏิบัติงานอันเนื่องมากจากขาดความรู้ ความสามารถหรือทัศนคติ จนทําให้การปฏิบัติงานเป็ นไม่ไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กรกาหนด การจัดการ ํ พัฒนาและการฝึ กอบรมบุคลากรจึงเป็ นสิ่งที่จะต้องมีการวางแผนและการดําเนินงานอย่างรอบคอบ เพื่อให้ บุคลากรมีประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้นรวมทั้งก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันให้กบองค์กรได้อย ั าง่ ยังยืนองค์ก ่ รในด้านอุตสาหกรรมการบินเป็ นองค์กรขนาดใหญ่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการ ทํางานของพนักงานในองค์กร ซึ่งการศึกษาพบวาปัจจัยสิ ่ ่ งแวดล้อมในการปฏิบัติงานด้านบรรยากาศในการทํางาน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้บังคับบัญชา และปัจจัยสิ่งแวดล้อมในด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและเพื่อนร่วมงาน กบประสิทธิภาพในการทํางานมีความสัมพันธ์ก ั นอย ั างมี ่ นัยสําคัญทางสถิติดังนั้นองค์กรควรมีมาตรการต่างๆที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทํางาน ของผู้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้องค์กรเจริญกาวหนาต่อไปรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานที่มีต่อ เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือ(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ธนกร ณรงค์วานิช; Thanakorn Narongvanichการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานที่มีต่อเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองของท่าอากาศยานและวัดผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวไทยและชาวต่างชาติที่ใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวนข้อมูลในครั้งนี้ คือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลจากการวิจัยพบว่า ภาพรวมผู้ใช้บริการท่าอากาศยานมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานมีความพึงพอใจในการใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ ฯ มีความมุ่งมั่นยินดีเต็มใจในการบริการ รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ ฯปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ เจ้าหน้าที่ ฯ มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญเหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ความเหมาะสมในการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ ฯ ที่ให้บริการ ขั้นตอนในการให้บริการมีความคล่องตัวไม่ซับซ้อน การให้บริการตามลำดับก่อนหลัง มีความเพียงพอในการให้บริการ การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อการให้บริการ เช่น กล่องรับความคิดเห็น และสุดท้ายที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความรวดเร็วในการให้บริการรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-06) วสวัตติ์ สุติญญามณีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกและรูปแบบการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุไทยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster)จํานวน 500 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์แบบเรียงลําดับในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุไทย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลใน 2รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางโดยสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบ และสายการบินต้นทุนต่ําผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุตัดสินใจที่จะเลือกรูปแบบการเดินทางโดยสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบมากที่สุดโดยปัจจัย ในด้านอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ข้อจํากัดทางกายภาพของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุไทย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลซึ่งเป็นสิ่งที่สายการบินต้องคํานึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนํามาพัฒนาปรับปรุงเพื่อเป็นสายการบินที่ตอบสนองผู้โดยสารผู้สูงอายุได้ต่อไปรายการ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาล ขององค์การภาครัฐตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-07) ปิยากร หวังมหาพร; อภิญญา ดิสสะมานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลฯ 2) ระดับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาลฯ และ 3) ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐตามการประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรสังกัดกรมการท่องเที่ยวกรมกิจการ ผู้สูงอายุและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมบังคับคดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม กำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 612 คน ด้วยโปรแกรม G*Power เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และ .99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์พหุคูณแบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ เชิงเส้นตรง ผลการวิจัยพบว่าระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาลฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับปัจจัยมีค่าเฉลี่ยจากมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำ ปัจจัย ด้านนโยบาย และปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ ระดับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมา ภิบาลฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับรายด้านมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ด้านหลัก ความรับผิด หลักความคุ้มค่า ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาล ขององค์การภาครัฐตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการการเดินทางภายในประเทศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรถโดยสารประจำทางกับสายการบินต้นทุนต่ำ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) วสวัตติ์ สุติญญามณี; วัชราภรณ์ อรานุเวชภัณฑ์; เมธาวี ธรรมเกษรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการการเดินทางภายในประเทศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรถโดยสารประจำทางกับสายการบินต้นทุนต่ำ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster) จำนวน 500 คน วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการใช้สถิติขั้นสูง Ordered Logistic Regression ในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการเดินทางภายในประเทศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง และสายการบินต้นทุนต่ำ โดยพบว่า ผู้โดยสารตัดสินใจที่จะเลือกรูปแบบการเดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำมากกว่ารถโดยสารประจำทาง โดยมีปัจจัย ในด้านอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ข้อจำกัดทางกายภาพของผู้โดยสารมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการเดินทางภายในประเทศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบบขนส่งสาธารณะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการเพื่อเป็นรูปแบบการเดินทางที่ตอบสนองผู้โดยสารทุกช่วงวัยได้ต่อไปรายการ แนวโน้มความต้องการการเดินทางทางอากาศในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาผู้โดยสารชาวไทย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) วสวัตติ์ สุติญญามณี; ณัฏฐโพธ กุศลาไสยานนท์; ธนภรณ์ กริยาผลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาแนวโน้มการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster) จำนวน 1,000 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (Time Series) วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางภายในประเทศ และการเดินทางระหว่างประเทศ ในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 โดยพบว่า แนวโน้มการเดินทางทางอากาศทั้งในประเทศและระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการการเดินทางภายในประเทศมีสัดส่วนของความต้องการในการเดินทางในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 มากกว่า ความต้องการการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่สายการบินต่างๆจะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ เสริมสร้างมาตรการความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการเดินทางให้กับผู้โดยสาร และสามารถรักษาฐานลูกค้าของตนเพื่อให้กลับมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นหลักวิกฤตการณ์ Covid-19ได้อีกด้วยรายการ ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) ธนกร ณรงค์วานิช; มณฑิชา เครือสุวรรณ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจในการใช้บริการของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เคยใช้บริการโดยสารเครื่องบินและพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยคณะผู้วิจัยได้กาหนดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 450 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Convenient Sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Simple Random Sampling) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภาษาอังกฤษมีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นครอนบัด (Cronbach) ได้เท่ากับ 0.882 โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สาหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis, T-test, และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลของการวิจัยพบว่าจากจานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 450 คนพบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีสถานะโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้ปัจจุบันมีรายได้ 1,500-3,000 ดอลลาร์ต่อเดือน และมีภูมิลาเนาอยู่ในทวีปเอเชีย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย แบ่งปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความ ไม่พึงพอใจตามระดับความคิดเห็นของผู้โดยสารชาวต่างชาติออกเป็น 4 ด้าน เรียงตามลาดับความไม่พึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการตรวจคนเข้าเมือง 2) ปัจจัยด้านการตรวจสมัภาระ 3) ปัจจัยด้านเครื่องแสกนและวัตถุต้องห้ามและ 4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายในท่าอากาศยาน ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านความไม่พึงพอใจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางมายังประเทศของผู้โดยสารชาวต่างชาติ พบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติไม่พึงพอใจต่อด้านความปลอดภัยจึงเป็นสาเหตุที่จะส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรายการ ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(Sripatum University, 2563-12-18) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจในการใช้บริการของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เคยใช้บริการโดยสารเครื่องบินและพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยคณะผู้วิจัยได้กาหนดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 450 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Convenient Sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Simple Random Sampling) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภาษาอังกฤษมีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นครอนบัด (Cronbach) ได้เท่ากับ 0.882 โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สาหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis, T-test, และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลของการวิจัยพบว่าจากจานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 450 คนพบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีสถานะโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้ปัจจุบันมีรายได้ 1,500-3,000 ดอลลาร์ต่อเดือน และมีภูมิลาเนาอยู่ในทวีปเอเชีย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย แบ่งปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความ ไม่พึงพอใจตามระดับความคิดเห็นของผู้โดยสารชาวต่างชาติออกเป็น 4 ด้าน เรียงตามลาดับความไม่พึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการตรวจคนเข้าเมือง 2) ปัจจัยด้านการตรวจสมัภาระ 3) ปัจจัยด้านเครื่องแสกนและวัตถุต้องห้ามและ 4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายในท่าอากาศยาน ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านความไม่พึงพอใจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางมายังประเทศของผู้โดยสารชาวต่างชาติ พบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติไม่พึงพอใจต่อด้านความปลอดภัยจึงเป็นสาเหตุที่จะส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของ ผู้สูงอายุไทยในเขตภาคเหนือ(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 2563-12-23) วสวัตติ์ สุติญญามณี; ชยินทร์ธร ธาดาดุสิตา; เดือนเด่น วิบูลย์พันธุ์จากการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทยที่สัดส่วนของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศมีสัดส่วนที่สูงขึ้น ดังนั้นแนวโน้มของผู้บริโภคจึงมีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสของสังคม ผู้สูงอายุจึงมีบทบาทสำคัญและกำลังเป็นฐานผู้บริโภคใหม่ที่หลายองค์กรธุรกิจกำลังให้ความสนใจ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่แหล่งท่องเที่ยวจะมีสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น อีกทั้งในแหล่งท่องเที่ยวก็ตามก็ต้องทำการรักษาฐานนักท่องเที่ยวและสร้างความพึงพอใจในการให้บริการของนักท่องเที่ยว ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเกี่ยวกับเพื่อศึกษาพฤติกรรมการการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ในเขตภาคเหนือ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรผู้สูงอายุในเขตเขตภาคเหนือ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 500 คน วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการใช้สถิติขั้นสูง Ordered Logistic Regression ในการวิเคราะห์ถึงเพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ในเขตเขตภาคเหนือ โดยพบว่า อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ข้อจำกัดทางกายภาพของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ในเขตเขตภาคเหนือ ซึ่งเป็นสิ่งที่แหล่งท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไปรายการ อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการ ของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-01-03) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาระดับของคุณภาพการให้บริการและนวัตกรรมการให้บริการ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการและ (4) ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทํานายนวัตกรรมการให้บริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ที่มาใช้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ จํานวน400 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยทดสอบโดยใช้สถิติทีสถิติเอฟ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1)ผลการศึกษาคุณภาพการให้บริการและนวัตกรรมการให้บริการพบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวม รายด้าน และรายข้อ 2)ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุพบว่าเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.053) ผลศึกษาศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการพบว่า คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการให้บริการอยู่ในระดับสูง(R=0.738) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.054)ผลการค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทํานายนวัตกรรมการให้บริการพบว่า มีตัวพยากรณ์ที่ดีจํานวน 3 ตัว ประกอบด้วย ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้า(TQ5)ด้านการตอบสนองลูกค้า(TQ3)และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ(TQ1)มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการให้บริการอยู่ในระดับสูง(R=0.734) มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ แนวโน้มความต้องการการเดินทางทางอากาศในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาผู้โดยสารชาว ไทยในเขตภาคเหนือ(มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2564-02-05) วสวัตติ์ สุติญญามณี; เมธาวี ธรรมเกษร; ธนภรณ์ กริยาผลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาแนวโน้มการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารในเขตภาคเหนือในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster) จำนวน 1,000 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (Time Series) วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารในเขตภาคเหนือใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางภายในประเทศ และการเดินทางระหว่างประเทศ ในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 โดยพบว่า แนวโน้มการเดินทางทางอากาศทั้งในประเทศและระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการการเดินทางภายในประเทศมีสัดส่วนของความต้องการในการเดินทางในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 มากกว่า ความต้องการการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่สายการบินต่างๆจะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ เสริมสร้างมาตรการความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการเดินทางให้กับผู้โดยสาร และสามารถรักษาฐานลูกค้าของตนเพื่อให้กลับมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นหลักวิกฤตการณ์ Covid-19ได้อีกด้วยรายการ ความท้าทายอุตสาหกรรมการบินหลังโควิด 19(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-08) ธนกร ณรงค์วานิชหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิค-19 (COVID-19) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และเริ่มแพร่ระบาดมากจนต้องประกาศมาตรการล็อตดาวน์ ห้ามเดินทางออกนอกบ้าน และให้ปรับรูปแบบการทำงานโดยให้ทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home (WFH) โรงเรียนรวมถึงสถานศึกษาต่างๆ ก็ให้หยุดเรียนและให้มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์จนกระทั่งปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโควิค-19 นับว่าก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นอย่างมากและทุกวงการ ไม่ว่าด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบมากที่สุด