College of Tourism and Hospitality
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู College of Tourism and Hospitality โดย ผู้เขียน "ธนกร ณรงค์วานิช"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 7 ของ 7
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการปัญหาขยะอาหารของครัวการบิน(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) ธนกร ณรงค์วานิชบทความนี้วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาขยะของครัวการบิน 2. เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาขยะของครัวการบิน อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาขยะในครัวการบิน เนื่องจากอาหารที่ถูกผลิตออกมาในโลกประมาณ 1 ใน 3 นั้นกลายเป็นขยะอาหารที่เป็นเศษอาหารและไม่สามารถนำมารับประทานได้ แต่ต้องนำมาทิ้งกลายเป็นขยะอาหารในปริมาณจำนวนมากหรือประมาณ 1.6 พันล้านตันต่อปี ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไข หรือสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภค ในครัวการบินเพื่อเป็นการลดต้นทุนและลดการสูญเสียอาหารหรือขยะอาหาร และช่วยในการลดปริมาณขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาหารในครัวการบิน และลดปริมาณอาหารที่เหลือจากการให้บริการบนเครื่องบินรายการ ความท้าทายอุตสาหกรรมการบินหลังโควิด 19(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-08) ธนกร ณรงค์วานิชหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิค-19 (COVID-19) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และเริ่มแพร่ระบาดมากจนต้องประกาศมาตรการล็อตดาวน์ ห้ามเดินทางออกนอกบ้าน และให้ปรับรูปแบบการทำงานโดยให้ทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home (WFH) โรงเรียนรวมถึงสถานศึกษาต่างๆ ก็ให้หยุดเรียนและให้มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์จนกระทั่งปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโควิค-19 นับว่าก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นอย่างมากและทุกวงการ ไม่ว่าด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบมากที่สุดรายการ ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) ธนกร ณรงค์วานิช; มณฑิชา เครือสุวรรณ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจในการใช้บริการของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เคยใช้บริการโดยสารเครื่องบินและพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยคณะผู้วิจัยได้กาหนดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 450 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Convenient Sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Simple Random Sampling) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภาษาอังกฤษมีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นครอนบัด (Cronbach) ได้เท่ากับ 0.882 โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สาหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis, T-test, และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลของการวิจัยพบว่าจากจานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 450 คนพบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีสถานะโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้ปัจจุบันมีรายได้ 1,500-3,000 ดอลลาร์ต่อเดือน และมีภูมิลาเนาอยู่ในทวีปเอเชีย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย แบ่งปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความ ไม่พึงพอใจตามระดับความคิดเห็นของผู้โดยสารชาวต่างชาติออกเป็น 4 ด้าน เรียงตามลาดับความไม่พึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการตรวจคนเข้าเมือง 2) ปัจจัยด้านการตรวจสมัภาระ 3) ปัจจัยด้านเครื่องแสกนและวัตถุต้องห้ามและ 4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายในท่าอากาศยาน ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านความไม่พึงพอใจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางมายังประเทศของผู้โดยสารชาวต่างชาติ พบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติไม่พึงพอใจต่อด้านความปลอดภัยจึงเป็นสาเหตุที่จะส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรายการ ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(Sripatum University, 2563-12-18) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจในการใช้บริการของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เคยใช้บริการโดยสารเครื่องบินและพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยคณะผู้วิจัยได้กาหนดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 450 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Convenient Sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Simple Random Sampling) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภาษาอังกฤษมีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นครอนบัด (Cronbach) ได้เท่ากับ 0.882 โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สาหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis, T-test, และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลของการวิจัยพบว่าจากจานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 450 คนพบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีสถานะโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้ปัจจุบันมีรายได้ 1,500-3,000 ดอลลาร์ต่อเดือน และมีภูมิลาเนาอยู่ในทวีปเอเชีย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย แบ่งปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความ ไม่พึงพอใจตามระดับความคิดเห็นของผู้โดยสารชาวต่างชาติออกเป็น 4 ด้าน เรียงตามลาดับความไม่พึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการตรวจคนเข้าเมือง 2) ปัจจัยด้านการตรวจสมัภาระ 3) ปัจจัยด้านเครื่องแสกนและวัตถุต้องห้ามและ 4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายในท่าอากาศยาน ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านความไม่พึงพอใจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางมายังประเทศของผู้โดยสารชาวต่างชาติ พบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติไม่พึงพอใจต่อด้านความปลอดภัยจึงเป็นสาเหตุที่จะส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรายการ ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจการบินกับความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-01-01) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาถึงระดับความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ที่มีผลต่อการจัดการ ความเสี่ยง การจัดการองค์กร การสื่อสารที่มีประสิทธิผล 2) เพื่อศึกษาถึงความเข้าใจ หรือ ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยง การจัดการองค์กร และการสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานและพนักงานในภาคธุรกิจการบิน จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่า 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (α) เท่ากับ 0.99 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในด้านต่าง ๆ โดยมีความเข้าใจในด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิผล มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการนำไปใช้ 2) ความเข้าใจในประเภทความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงาน ส่งผลต่อการนำความรู้ไปใช้การพัฒนาการปฏิบัติงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ค่า β = 0.12 ค่า t = 3.06 และ ค่า Sig. = 0.000) 3) ความเข้าใจในด้านการจัดการองค์กร ส่งผลต่อการนำความรู้ไปใช้การพัฒนาการปฏิบัติงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ค่า β = 0.40 ค่า t = 11.64 และ ค่า Sig. = 0.000) 4) การสื่อสารที่มีประสิทธิผลมีผลต่อการนำความรู้ไปใช้การพัฒนาการปฏิบัติงาน มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (ค่า β = 0.31 ค่า t = 8.17 และ ค่า Sig. = 0.000)รายการ อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการ ของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-01-03) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาระดับของคุณภาพการให้บริการและนวัตกรรมการให้บริการ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการและ (4) ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทํานายนวัตกรรมการให้บริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ที่มาใช้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ จํานวน400 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยทดสอบโดยใช้สถิติทีสถิติเอฟ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1)ผลการศึกษาคุณภาพการให้บริการและนวัตกรรมการให้บริการพบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวม รายด้าน และรายข้อ 2)ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุพบว่าเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.053) ผลศึกษาศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการพบว่า คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการให้บริการอยู่ในระดับสูง(R=0.738) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.054)ผลการค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทํานายนวัตกรรมการให้บริการพบว่า มีตัวพยากรณ์ที่ดีจํานวน 3 ตัว ประกอบด้วย ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้า(TQ5)ด้านการตอบสนองลูกค้า(TQ3)และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ(TQ1)มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการให้บริการอยู่ในระดับสูง(R=0.734) มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ อุตสาหกรรมการบินจะผ่านไปอย่างไรกับโควิค 19(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-08) ธนกร ณรงค์วานิชนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เริ่มต้นขึ้นจากประเทศจีน หลังจากนั้นก็มีข่าวการระบาดเพิ่มขึ้นทุกวัน จนต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นโควิด 19 (COVID 19) ซึ่งวิกฤตโควิด-19 เริ่มมีการแพร่ระบาดไปในหลายประเทศ ยิ่งนานวันก็ยิ่งขยายการแพร่ระบาดออกไป แม้กระทั่งประเทศไทยก็เริ่มมีการระบาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ หนักสุดในเดือนมีนาคม 2563 จนต้องมีการล๊อคดาวน์ หยุดการทำงาน รวมถึงสถานศึกษาต้องหยุดการเรียนการสอน ซึ่งโควิด 19 ได้สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายแก่สังคมโลกเป็นอย่างมาก การแพร่ระบาดของ COVID-19 สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในวงกว้างทั้งในภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรม โดยหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงคือธุรกิจสายการบิน โดยในระดับโลกจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมีจำนวนเกือบ 3,000,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 เมษายน 2563) จากการแพร่ระบาดทำให้หลายประเทศทั่วโลก เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส ซาอุดีอาระเบีย อินเดีย รวมถึงไทย ใช้มาตรการปิดเมือง (lock-down) หรือกระทั่งปิดประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเดินทางเข้ามาแพร่เชื้อโรค ส่งผลให้ปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เข้าหรือออกจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปรับลดลงอย่างมาก โดยจีนปรับลดลงกว่า 82% เกาหลีใต้ลดลง 70% อิตาลีลดลง 60% และไทยลดลงกว่า 60% เช่นกัน และหลายสายการบินทั่วโลกได้ยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศกว่า 80-90% ตั้งแต่ มีนาคม 2563 จนไปถึง พฤษภาคม 2563 และมีแนวโน้มว่าจะยกเลิกเที่ยวบินไปจนถึงสิ้นปี 2020 เป็นอย่างน้อย