College of Tourism and Hospitality
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู College of Tourism and Hospitality โดย ผู้เขียน "ผศ.ธนกร ณรงค์วานิช"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการปัญหาขยะอาหารของครัวการบิน Management of Food Waste for Airline Catering(2564-10-28) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิชบทความนี้วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาขยะของครัวการบิน 2. เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาขยะของครัวการบิน อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาขยะในครัวการบิน เนื่องจากอาหารที่ถูกผลิตออกมาในโลกประมาณ 1 ใน 3 นั้นกลายเป็นขยะอาหารที่เป็นเศษอาหารและไม่สามารถนำมารับประทานได้ แต่ต้องนำมาทิ้งกลายเป็นขยะอาหารในปริมาณจำนวนมากหรือประมาณ 1.6 พันล้านตันต่อปี ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไข หรือสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภค ในครัวการบินเพื่อเป็นการลดต้นทุนและลดการสูญเสียอาหารหรือขยะอาหาร และช่วยในการลดปริมาณขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาหารในครัวการบิน และลดปริมาณอาหารที่เหลือจากการให้บริการบนเครื่องบินรายการ การรับรู้ความเชื่อมั่นการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิในสถานการณ์ COVID-19 (Perception of Service Reliability of Suvarnabhumi Airport in the Situation )(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2566-05) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิ และ 2) เปรียบเทียบการรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่า 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (α) เท่ากับ 0.99 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 250 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติ ค่าที ค่าเอฟ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการสนามบินสุวรรณ ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ▁x = 3.48 และ S.D. = 0.94 2) ผู้โดยสารที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิไม่แตกต่างกันรายการ “ทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย(SPU Conference 17, 2565-10-27) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย 3) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้โดยสาร จำนวน 246 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ ค่าที ค่าเอฟ และค่าแอลเอสดี โดยกำหนดระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ สายการบินไทยแอร์เอเชีย ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุ 21-26 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษา ระดับปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท 2) ทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย พบได้ว่าทัศนคติด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านพฤติกรรม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมากที่สุดทุกด้าน และ 3) ผู้โดยสารที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และด้านพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ บทความ “พระราชบัญญัติเดินอากาศ พ.ศ.2497 กับ อากาศยานไร้คนขับ”(ผศ.ธนกร ณรงค์วานิช, 2565-10-23) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิช