SPU Chonburi Campus
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Chonburi Campus โดย ผู้เขียน "กนิษฐา พรมนู"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย กรณีศึกษาผู้บริโภคอุปโภคในเขตจังหวัดปราจีนบุรี(2546) กนิษฐา พรมนูการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ตามความคิดเห็นของผู้บริโภคอุปโภคในเขตจังหวัดปราจีนบุรี เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริโภคอุปโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 400 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยอาศัยตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ (Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) และถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันจึงเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ LSD ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ของผู้บริโภคอุปโภคในเขตจังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพมีเกณฑ์การตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ปัจจัยโดยรวมมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยของเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3. ปัจจัยโดยรวมมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยของกลุ่มอายุระหว่าง 31-40 ปี และกลุ่มอายุ 51 ปีขึ้นไป มากกว่ากลุ่มอายุ 41-50 ปี 4.ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยของกลุ่มอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงาน/ลูกจ้างราชการ นักเรียน/นักศึกษา ข้าราชการ เกษตรกร มากกว่ากลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป 5. ปัจจัยโดยรวมมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำแนกตามรายได้ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ 6. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำแนกตามระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ