SPU Chonburi Campus
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Chonburi Campus โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 698
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ADVANCING HUMAN PERFORMANCE TECHNOLOGY THROUGHPROFESSIONAL DEVELOPMENT: AN ACTION RESEARCH STUDY(2553-03-19T07:29:28Z) Wash Gary LorenzoIt is not known to what extent local government human resources (HR) professionals are capable of systematically addressing human performance issues. Literature on human performance improvement has shown that matching interventions with performance issues may prove difficult for teams charged with improving performance. This is due in part to the absence of an effective model in place capable of systematically understanding performance issues and targeted solutions, and evaluating intervention success. This study examined the impact that an action learning intervention on human performance technology (HPT) had on HR professionals’ in a local government organization. The importance and value of conducting this study was predicated on previous research indicating that systems are required for addressing organizational performance issues. The literature review for this study indicated that HR processes are linked to human performance improvement strategies. Data was collected pre and post action learning intervention. Baseline, or pre data, indicated the need for HR professionals to acquire knowledge of HPT/HPI principles. Level two post assessments yielded results in favor of action learning implementation and self-efficacy determination.รายการ An Empirical Investigation of the Contribution of Computer Self-Efficacy,Computer Anxiety, and Instructors’ Experience with the Use of Technology(2553-03-19T06:41:05Z) Ball, Diane M.Over the past decade there has been a shift in the emphasis of emerging educational technology from use in online settings to supporting face-to-face and mixed delivery classes. Although emerging educational technology integration in the classroom has increased in recent years, technology acceptance and usage continue to be problematic for educational institutions. In this predictive study the researcher aimed to predict university instructors’ intention to use emerging educational technology in traditional classrooms based on the contribution of computer self-efficacy (CSE), computer anxiety (CA), and experience with the use of technology (EUT), as measured by their contribution to the prediction of behavioral intention (BI). Fifty-six instructors from a small, private university were surveyed to determine their level of CSE, CA, and EUT, and their intention to use emerging educational technology in traditional classrooms. A theoretical model was proposed, and two statistical methods were used to formulate models and test predictive power: Multiple Linear Regression (MLR) and Ordinal Logistic Regression (OLR). It was predicted that CSE, CA, and EUT would have a significant impact on instructors’ intention to use emerging educational technology in the classroom. Results showed overall significant models of the three aforementioned factors in predicting instructors’ use of emerging educational technology in traditional classrooms. Additionally, results demonstrated that CSE was a significant predictor of the use of emerging educational technology in the classroom, while CA and EUT were not found to be significant predictors. Two important contributions of this study include 1) an investigation of factors that contribute to instructors’ acceptance of an emerging educational technology that has been developed specifically to respond to current demands of higher education, and 2) an investigation of key constructs contributing to instructors’ intention to use emerging educational technology in the classroom.รายการ The Open Innovation Imperative: Perspectives on Success From Faculty Entrepreneurs(2553-03-19T07:23:11Z) Hayter, Christopher ScottThe Open Innovation Imperative: Perspectives on Success From Faculty Entrepreneurs University spinoffs are an important vehicle for the dissemination of new knowledge – and have the potential to generate jobs and economic growth. Despite their importance, little research exists on how, from the perspective of faculty entrepreneurs, spinoff success is defined – and the factors responsible for that success. Given the nascent nature of the literature and lack of data regarding university spinoffs, this dissertation employs a sequential exploratory strategy to understand and determine success factors for university spinoffs. The findings indicate that commercialization is a distinguishing characteristic of initial spinoff success and that a multitude of factors such as financial resources and the technology licensing process are responsible for that success. Using logit regression, the quantitative phase yields several significant predictors of commercialization including venture capital, multiple and external licenses, outside management, joint ventures with other companies, previous faculty consulting experience, and – surprisingly – a negative relationship to post-spinoff services provided by universities. These results strongly support an open innovation approach for spinoff success and have important implications for public policy. The results will be of especial interest to university leaders seeking to enhance the role of their institutions in economic development and for state and federal policymakers when developing new policies and programs to improve economic growth and entrepreneurship. Finally, the dissertation makes a modest but important contribution to the evolving Knowledge Spillover Theory of Entrepreneurship (KSTE).รายการ SPUC Wireless Campus มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี(2551-04-10T04:00:02Z) นรินทร์ พนาวาสรายการ Title การศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิต ศึกษากรณี ของ บริษัท ไทยอิเล็กตรอนกัน จำกัด(2543) สุจินดา ตรีโกศลการศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม 2) ศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิต 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานในสายการผลิต ของ บริษัท ไทยอิเล็กตรอนกัน จำกัด จำนวน 428 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย () ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่า t (t-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (r) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมเป็นแบบปรึกษาหารือ รองลงมา คือ แบบมีส่วนร่วม และแบบเผด็จการอย่างมีศิลป์อยู่ในระดับมากตามลำดับ ส่วนแบบเผด็จการอยู่ในระดับปานกลาง 1.1 พฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมตามการรับรู้ของพนักงานในสายการผลิตที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน พบว่า แบบปรึกษาหารือมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สำหรับลำดับรองลงมาเป็นแบบมีส่วนร่วม แบบเผด็จการอย่างมีศิลป์ และแบบเผด็จการตามลำดับ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ 1.2 พฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมตามการรับรู้ของพนักงานในสายการผลิตที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน พบว่า แบบเผด็จการ แบบเผด็จการอย่างมีศิลป์ แบบปรึกษาหารือ และแบบมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ผลการศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิต ปรากฎผล ดังนี้ 2.1 ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตปัจจัยอนามัย อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของปัจจัยอนามัย พบว่า ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตอยู่ในระดับมาก เรียงคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และด้านสภาพการทำงาน ส่วนความพึงพอใจในการทำงานรายด้านอื่น ๆ ของปัจจัยอนามัยอยู่ในระดับปานกลาง เรียงคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านเงินเดือน ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา ด้านการปกครองบังคับบัญชา และด้านนโยบายและการบริหารงาน ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของปัจจัยจูงใจ พบว่า ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านความรับผิดชอบในการทำงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะงานที่ทำ และด้านความสำเร็จในงาน 2.2 ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน ปัจจัยอนามัยพบว่า ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านเงินเดือน และด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน ต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนความพึงพอใจโดยรวม และด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา และด้านสภาพการทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน ปัจจัยจูงใจ พบว่า ความพึงพอใจโดยรวม ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบในการทำงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนหน้าลักษณะงานที่ทำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2.3 ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน ปัจจัยอนามัย พบว่า ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และด้านสภาพการทำงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนความพึงพอใจโดยรวม ด้านเงินเดือน และด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิตที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน ปัจจัยจูงใจ พบว่า ความพึงพอใจโดยรวม และรายด้านทั้ง 4 ด้าน คือ ความสำเร็จในงาน ด้านการยอมรับนับถือ แล้วความรับผิดชอบในการทำงาน และด้านลักษณะงานที่ทำ มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ 3. ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมกับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานในสายการผลิต ปรากฏผลดังนี้ คือ พฤติกรรมความเป็นผู้นำของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมแบบเผด็จการ แบบเผด็จการอย่างมีศิลป์ แบบปรึกษาหารือ และแบบมีส่วนร่วมมีผลต่อปัจจัยอนามัย และปัจจัยจูงใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และมีความสัมพันธ์กันทางบวกรายการ กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความสำเร็จ ขององค์กรในเขตนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี(2562-03-08) ภาณุพงษ์ แดงสีบัววัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) ศึกษาระดับปฎิบัติกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร 2) เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จขององค์กรจำแนกตามปัจจัยด้านองค์กร 3) ศึกษาระดับอิทธิพลของกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อความความสำเร็จขององค์กร กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้เป็นผู้ที่มีหน้าที่ด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรในนิคม อุตสาหกรรมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี รวม 303 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบมาตรส่วน 5 ระดับ โดยใช้โปรแกรม สาเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การเปรียบเทียบค่าความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปฎิบัติกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.97, SD = .31) 2) ความสาเร็จขององค์กรแตกต่างกัน ตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลต่อความสาเร็จขององค์กรโดยรวม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งได้แก่ ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสรรหาและคัดเลือก ด้านการฝึ กอบรมและ พัฒนาบุคลากร และด้านการพัฒนาเส้นทางอาชีพ โดยมีระดับความสามารถในการอธิบายอยู่ที่ร้อย ละ 79.4รายการ กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร(2562-03-07) ปิ่นปินัทธ์ สัทธรรมนุวงศ์กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร เป็นการวิจัยแบบผสมสาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารผ่านกระบวนการและขั้นตอนการสื่อสารในการสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร และ 4) เพื่อพัฒนาแบบจาลองกลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มเทคโนโลยีกลุ่มการเงิน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ กลยุทธ์ด้านผู้บริหาร กลยุทธ์ด้านเนื้อหาการสื่อสาร กลยุทธ์ด้านเครื่องมือและวิธีการสื่อสาร และกลยุทธ์ด้านพนักงาน สาหรับกระบวนและขั้นตอนการสื่อสารเพื่อสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กร เป็นการสื่อสาร แบบหลายช่วง โดยมี 6 องค์ประกอบสาคัญในการทาให้การสื่อสารประสบความสาเร็จ คือ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทางการสื่อสาร ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแบรนด์ ผู้รับสาร และปฏิกิริยาตอบกลับนอกจากเป็นการสื่อสารจากบนลงล่าง และการสื่อสารจากล่างขึ้นบนแล้ว การสื่อในแนวราบ (Horizontal Communication) ถือว่าเป็นจุดเด่นของการสื่อสารที่ทาให้การสร้างพนักงานเป็นแบรนด์ องค์กรประสบความสาเร็จ สาหรับปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแบรนด์แบ่งเป็น 2 ส่วน ปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร ซึ่งปัจจัยภายในองค์กรมีผลต่อกลยุทธ์การสื่อสารมากกว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ในส่วนประสิทธิผลของกลยุทธ์การสื่อสาร พบว่าการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการเปิดรับสื่อตามรูปแบบหรือกิจกรรมการสื่อสารของพนักงานเกี่ยวกับแบรนด์องค์กรอยู่ในระดับมาก สาหรับความคิดเห็นของพนักงานต่อข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อความเป็นแบรนด์องค์กร และการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรกับพนักงานจากสัญลักษณ์ขององค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนใหญ่ในระยะเวลา 5 ปี พนักงานไม่คิดเปลี่ยนงาน ซึ่งการสร้างพนักงานให้เป็นแบรนด์องค์กรปฏิเสธไม่ได้ว่า ทักษะพื้นฐานของพนักงานที่ทาให้การสร้างพนักงานเป็นแบรนด์ให้ประสบความสาเร็จ ได้แก่ บุคลิกลักษณะ และปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นคุณสมบัติของผู้รับสารที่ดีที่ทาให้กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างพนักงานเป็นแบรนด์องค์กรประสบผลสาเร็จนอกจากนี้ความเป็นองค์กรที่มีอายุยาวนาน การสื่อสารออกไปยังภายในองค์กร คือ ความจริงที่ตอกย้าสร้างความมั่นใจองค์กร ของผู้รับสาร ในทางกลับกันองค์กรที่มีอายุองค์กรน้อย การถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก หน้าที่ หรือคุณประโยชน์ เพื่อสร้างฐานการรับรู้และตอกย้าแบรนด์นับเป็นสิ่งสาคัญในการสร้างแบรนด์รายการ กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรร กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี(2551-07-03T02:19:58Z) ณัฐกานต์ ภัทร์ประทานพรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling Techniques เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check-List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวแปรคือ ไค-สแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีคือ กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์การโฆษณา และกลยุทธ์การตลาดทางตรง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย และการตลาดทางตรง ไม่มีความสัมพันธ์ กับการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีรายการ กลยุทธ์ทางการตลาดทีมีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี(2562-03-09) สายฝน นักผูกงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในสถานบันเทิงคลับอินซอมเนีย ในเมืองพัทยา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในสถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยา โดยจำแนกลักษณะประชากรตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ สัญชาติ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพัทยา ประสบการณ์ในการมาเที่ยวของผู้รับบริการ ความถี่ในการรับบริการ 3) เพื่อศึกษาถึงระดับอิทธิพลของกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยา ซึ่งผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากประชากรที่เป็นลูกค้าที่ใช้บริการคลับอินซอมเนียทั้งหมดจำนวน 195 รายโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบหาความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระในแต่ละกลุ่มและการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพลระหว่างตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 35 ปี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป เป็นสัญชาติไทย อาศัยอยู่ในพัทยามากกว่า 3ปีขึ้นไป เคยมีประสบการณ์มาใช้บริการ มีความถี่ในการรับบริการ 1 -2 ครั้ง ด้านระดับความพึงพอใจของลูกค้า พบว่ากลุ่มตัวอย่างนั้นเห็นด้วยกับปัจจัยกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ใช้บริการสถานบันเทิงคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยา ข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.01) แล้วเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับด้านลักษณะทางกายภาพ ( = 4.09) มากที่สุด และเห็นด้วยรองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ( = 4.07) ด้านราคา ( = 4.06) ด้านบุคคล ( = 4.01) ด้านทำเลที่ตั้ง ( = 3.99) ด้านกระบวนการ ( = 3.95) และด้านการส่งเสริมการขาย ( = 3.89) ตามลำดับ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด มีผลต่อความพึงพอใจโดยรวมกับคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยามากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ โดยพนักงานทำงานรวมกันอย่างมีระบบและรวดเร็วทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกประทับใจในการมาใช้บริการ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกอย่างสำเร็จได้ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด มีผลต่อความสนุกสนานรื่นเริงในการใช้บริการจากคลับอินซอมเนียในเขตเมืองพัทยามากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยร้านอินซอมเนียมีภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี มีความปลอดภัยในการบริการพร้อมทั้งมีการเปิดเพลงที่มีแนวดนตรีเร้าใจทำให้ผู้ใช้บริการมีความสนุกสนานร่าเริง ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาด มีผลต่อความรู้สึกที่ดีและคุ้มค่าเมื่อได้มาใช้บริการคลับอินซอมเนียในเมืองพัทยามากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยร้านอินซอมเนียมีภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี มีความปลอดภัยในการบริการพร้อมทั้งมีการเปิดเพลงที่มีแนวดนตรีเร้าใจทำให้ผู้ใช้บริการมีความสนุกสนานร่าเริงรายการ กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลกระทบความพึงพอใจและความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของลูกค้าสถานีบริการนํ้ามันในจังหวัดชลบุรี(2562-03-08) ธนัญชนก พรมสุ่นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสถานีบริการนํ้ามันในจังหวัดชลบุรี (2 ) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจและความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสถานีบริการนํ้ามันในจังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ (3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานีบริการนํ้ามันในจังหวัดชลบุรี (4) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสถานีบริการนํ้ามันในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการสถานีบริการนํ้ามัน จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานจะใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณเพื่อหาค่าระดับอิทธิพลระหว่างตัวแปรผลการศึกษาพบว่าปัจจัย (1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อสถานีบริการนํ้ามัน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 3.89, SD = 0.70) ด้านความจงรักภักดีมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 3.88, SD = 0.47) (2) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในจังหวัดชลบุรีมีความแตกต่างจำแนกตามลักษณะทางปัจจัยส่วนบุคคลในด้าน อายุ อาชีพ (3) ปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานีบริการนํ้ามันในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ การส่งเสริมการขาย (β = 0.34, p= 0.00) ด้านกระบวนการ (β = 0.26, p=0.00) และด้านลักษณะทางกายภาพ (β = 0.17, p = 0.00) (4) ปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อระดับความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสถานีบริการนํ้ามันในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ การส่งเสริมการขาย (β = 0.18, p=0.00) ด้านกระบวนการ(β = 0.12, p=0.00) ด้านลักษณะทางกายภาพ (β = 0.07, p=0.00) ตามลำดับรายการ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำและความเต็มใจจ่าย ของผู้บริโภคร้านสะดวกซื้อ(2564) ไพรรัตน์ แก้วดีการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจซื้อซ้ำและความเต็มใจจ่ายของลูกค้าร้านสะดวกซื้อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดร้านสะดวกซื้อที่มีผลต่อพฤติกรรมหลังการซื้อของผู้บริโภคในด้านความตั้งใจซื้อซ้ำและความเต็มใจจ่าย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านสะดวกซื้อที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 398 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และค่า F-test สำหรับเปรียบเที่ยบความแตกต่างระหว่างตัวแปร การเปรียบเทียบรายคู่(LSD) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ(multiple regression analysis) ผลวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของลูกค้าร้านสดวกซื้อในด้านความตั้งใจซื้อซ้ำและความเต็มใจจ่าย ไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการบริการของพนักงาน ด้านสถานที่ตั้ง และด้านการสื่อสารออนไลน์ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่าย ได้แก่ ด้านการบริการของพนักงาน ด้านการสื่อสารออนไลน์ และด้านความเหมาะสมของราคา ตามลำดับรายการ กลยุทธ์ทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อที่มีผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี(2562-03-09) กุลวดี อัมโภชน์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อเขตพัทยาจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับทัศคติของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี จำแนกโดยปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีต่อทัศนคติของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อ เขตพัทยา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ที่เข้าใช้บริการร้านค้าสะดวกซื้อจานวน 430 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบจำแนกเป็นรายคู่ และใช้สมการพยากรณ์โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1)ระดับทัศนคติของลูกค้าร้านค้าสะดวกซื้อเขตพัทยา จังหวัดชลบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥=3.54) 2) ลูกค้าที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สาขาอาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อร้านค้าสะดวกซื้อที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยกลยุทธ์ทางการตลาดซึ่งประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านคุณสมบัติพนักงานภายใน ด้านเทคนิคและกระบวนการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพจะมีอิทธพลต่อการใช้บริการร้านค้าสะดวกซื้อโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ กองทุนหมู่บ้านกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านผือ ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์(2546) ธิติ ศรีใหญ่วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกองทุนหมู่บ้าน ความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน และการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และเปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน ศึกษาเฉพาะกรณี บ้านผือ ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) และถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันจึงเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกองทุนหมู่บ้าน ความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน และการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน อยู่ในระดับมาก 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกองทุนหมู่บ้าน เปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเปรียบเทียบจำแนกตามการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยกลุ่มที่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านมีความคิดเห็นว่ากองทุนหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้าน เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ และการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยเพศชายมีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านมากกว่าเพศหญิง กลุ่มอายุ 31-40 ปี และอายุ 51 ปีขึ้นไป มีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านมากกว่ากลุ่มอายุ 41-50 ปี และกลุ่มที่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน 4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการกู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเปรียบเทียบจำแนกตามเพศและอายุ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) โดยเพศชายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านมากกว่าเพศหญิง และกลุ่มอายุ 51 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านมากกว่ากลุ่มอายุ 31-40 ปี และกลุ่มอายุ 41-50 ปีรายการ การกระจายอานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดปกครองตนเอง(2562-03-07) จีระวัฒน์ คงโตวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการกระจายอานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดปกครองตนเอง ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานราชการที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนในท้องที่มากที่สุด โดยเฉพาะการกระจายอานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในการเพิ่มบทบาทหน้าที่ให้กับประชาชนในการควบคุมตรวจสอบการใช้อานาจของระดับจังหวัดและระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นการกระจายอานาจทางปกครองจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคแล้วกระจายอานาจเข้าสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังได้กาหนดอานาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดสรรภาษีระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยคานึงถึงภารกิจเป็นสาคัญภายใต้การดาเนินการของคณะกรรมการการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ให้ความสาคัญต่อการกระจายอานาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า การปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันเผชิญกับปัญหาหลายด้าน อาทิเช่น โครงสร้าง ภาระหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการกากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องมีการปฏิรูปการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเสียใหม่โดยการปรับโครงสร้างการบริหารราชการให้เหลือเพียงราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น โดยยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคและกาหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น กาหนดให้การปกครองส่วนท้องถิ่นมีสภาพลเมืองซึ่งต่างจากการมีสมาชิกสภา มีคณะผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง กาหนดให้สภาพลเมืองมีบทบาทหน้าที่ในการบริหารราชการและตรวจสอบการทางานของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจา ทั้งนี้ให้มีส่วนร่วมในอานาจออกข้อบัญญัติเพื่อจัดเก็บภาษีและจัดทางบประมาณของจังหวัดภายใต้กรอบอานาจที่กาหนดไว้ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินเสียใหม่โดยปรับเปลี่ยนการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นการปกครองแบบบริหารจัดการเองทั้งจังหวัดหรือเรียกว่า จังหวัดปกครองตนเอง โดยมีอานาจบริหารราชการตามหลักความเป็นอิสระแยกจากราชการส่วนกลาง มีหลักการตรวจสอบการใช้อานาจของจังหวัดปกครองตนเอง มีอิสระในการบริหารงานแต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบในด้านการบริหาร การคลัง การบริหารงานบุคคล และการออกข้อบัญญัติต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญรายการ การคุ้มครองผู้ต้องขังตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479(2562-03-07) ขนิษฐา ติรวัฒนวานิชวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของการคุ้มครองผู้ต้องขังตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 โดยทำการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นตํ่าว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของสหประชาชาติ ค.ศ.1955 และพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 ให้เป็นไปตามหลักสากลและมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผลจากการศึกษาพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 พบว่าพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ยังมีการบัญญัติบทลงโทษทางวินัยต่อผู้ต้องขังที่ถือว่าเป็นการกระทำที่ทารุณกรรม เช่น การขังห้องมืดการเฆี่ยน ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ยํ่ายีศักดิ์ศรี ค.ศ.1984 และยังไม่ได้มีการกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ต้องขังพิการ ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับกฎมาตรฐานว่าด้วยความเสมอภาคทางโอกาสให้แก่คนพิการ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ รวมถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำ ยังมีการละเมิดสิทธิและใช้อำนาจไปในทางไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ต้องขัง เนื่องจากไม่มีคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน ที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้ถูกกระทำทรมาน ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยํ่ายีศักดิ์ศรี ค.ศ.1984 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาเห็นควรที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 โดยยกเลิก คำว่า การขังห้องมืด และเฆี่ยน ที่บัญญัติอยู่ในมาตรา 35(7) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 และกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการผู้ต้องขังพิการโดยให้มีบทบัญญัติการคุ้มครอง สิทธิ ประโยชน์ สวัสดิการ ที่จะได้รับในระหว่างอยู่เรือนจำเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว และกฎมาตรฐานขั้นตํ่าในการปฎิบัติต่อนักโทษขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทรมานโดยมีมาตรการกฎหมายเกี่ยวกับหน่วยงานดูแลคดีที่ผู้ต้องขังถูกทรมานเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ยํ่ายีศักดิ์ศรีสำหรับใช้บังคับกับพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังรายการ การคุ้มครองผู้ต้องขังตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479(2562-03-07) ขนิษฐา ติรวัฒนวานิชวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของการคุ้มครองผู้ต้องขังตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 โดยทำการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นตํ่าว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของสหประชาชาติ ค.ศ.1955 และพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 ให้เป็นไปตามหลักสากลและมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผลจากการศึกษาพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 พบว่าพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ยังมีการบัญญัติบทลงโทษทางวินัยต่อผู้ต้องขังที่ถือว่าเป็นการกระทำที่ทารุณกรรม เช่น การขังห้องมืดการเฆี่ยน ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ยํ่ายีศักดิ์ศรี ค.ศ.1984 และยังไม่ได้มีการกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสำหรับผู้ต้องขังพิการ ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับกฎมาตรฐานว่าด้วยความเสมอภาคทางโอกาสให้แก่คนพิการ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ รวมถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำ ยังมีการละเมิดสิทธิและใช้อำนาจไปในทางไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ต้องขัง เนื่องจากไม่มีคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน ที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้ถูกกระทำทรมาน ส่งผลให้ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยํ่ายีศักดิ์ศรี ค.ศ.1984 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาเห็นควรที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 โดยยกเลิก คำว่า การขังห้องมืด และเฆี่ยน ที่บัญญัติอยู่ในมาตรา 35(7) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 และกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการผู้ต้องขังพิการโดยให้มีบทบัญญัติการคุ้มครอง สิทธิ ประโยชน์ สวัสดิการ ที่จะได้รับในระหว่างอยู่เรือนจำเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้แล้ว และกฎมาตรฐานขั้นตํ่าในการปฎิบัติต่อนักโทษขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทรมานโดยมีมาตรการกฎหมายเกี่ยวกับหน่วยงานดูแลคดีที่ผู้ต้องขังถูกทรมานเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ยํ่ายีศักดิ์ศรีสำหรับใช้บังคับกับพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังรายการ การคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์(2562-03-08) ศลิษา ทองโชติวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในการ ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตได้เข้ามา มีบทบาททางธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ซึ่งเป็นการ ซื้อขายสินค้าที่ผู้ซื้อตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์โดยไม่ได้สัมผัสกับตัวสินค้าหรือ ผู้ขายโดยตรง จากการศึกษาพบว่า ทำให้เกิดปัญหาอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาเพราะผู้ประกอบ กิจการบางรายแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อขายสินค้าหรือบริการโดยที่ผู้ซื้อไม่อาจทราบได้ว่าการ เสนอขายสินค้านั้นเป็นความจริงหรือไม่ ผู้ขายส่วนใหญ่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจกับ หน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถควบคุมดูแลและ คุ้มครองผู้บริโภคได้ แม้การจดทะเบียนจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับแต่การบังคับใช้ กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพและไม่มีผลใช้บังคับอย่างจริงจัง รวมถึงกฎหมายมีอัตราโทษค่อนข้าง ต่ำจึงทำให้ผู้ประกอบการไม่เกรงกลัว และเมื่อมีการผิดสัญญา ผู้บริโภคไม่สามารถเรียกร้องให้ผู้ขาย รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้เพราะผู้ขายไม่มีหลักประกันในการค้ำประกันความเสี่ยง ให้แก่ผู้บริโภค ส่งผลให้การซื้อขายในรูปแบบดังกล่าวผู้ซื้อต้องเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงนั้นเอง ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเข้ามาคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องนี้โดยตรงทำให้เกิดปัญญาว่าสิทธิของ ผู้บริโภคจะได้รับความคุมครองเพียงใด ดังนั้นจึงเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยกำหนดให้ ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนต่อหน่วยงานของรัฐก่อนจึงจะสามารถเช่าพื้นที่เครือข่ายเพื่อประกอบ ธุรกิจได้ และควรมีการออกกฎหมายให้มีการวางหลักประกันสำหรับชดชยความเสียหายให้แก่ ผู้บริโภค เพื่อให้การซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตมีความน่าเชื่อถือ เกิดความเป็นธรรม ลดภาระ ความเสี่ยงของผู้บริโภคและส่งผลดีกับระบบเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไปรายการ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ : ปัญหาและแนวทางแก้ไข(2551-06-17T07:44:06Z) ณทพงษ์ วิยะรันดร์งานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้อันอาจมีลิขสิทธิ์ได้ เป็นที่ยอมรับกันว่าต้องเป็นงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มขึ้นเอง (Originality) ของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ในลักษณะที่ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานนั้น (Creative Effort) งานอันมีลิขสิทธิ์ไม่จำต้องเป็นงานใหม่ที่ไม่มีใครทำมาก่อน (Novelty) เพียงแต่ผู้สร้างสรรค์งานคิดเริ่มขึ้นเองโดยไม่ได้ลอกเลียนแบบกัน แม้งานที่ปรากฏออกมาจะคล้ายคลึงกัน งานเหล่านั้นก็ได้รับความคุ้มครองอย่างงานอันมีลิขสิทธิ์เท่าเทียมกัน และเนื่องจากกฏหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองผลงานของงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มและความวิริยะอุตสาหะของผู้สร้างสรรค์ ฉะนั้น จึงเป็นการคุ้มครองในรูปแบบของงานที่ผู้สร้างแสดงออก (Form of Expression) มิได้ให้ความคุ้มครองแก่ตัวความคิด (Idea) ซึ่งยังมิได้แสดงออกมาเป็นผลงานแต่อย่างใด เช่น ผู้แต่งนวนิยาย เพียงกำหนดเค้าโครงเรื่องที่จะเขียนไว้แต่ยังไม่ทันลงมือเขียน มีผู้แอบเอาเค้าโครงเรื่องนั้นมาเขียนเป็นนวนิยายก่อนเช่นนี้ จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ยังไม่ได้ เพราะกฎหมายยังไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่เค้าโครงเรื่องซึ่งยังเป็นเพียงตัวความคิด สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Right) ของเจ้าของสิทธิในอันที่จะหวงห้ามมิให้บุคคลอื่นมาแสวงหาประโยชน์จากผลงาน อันเกิดจากความวิริยะอุตสาหะในทางสร้างสรรค์ของมนุษย์โดยไม่ได้รับอนุญาต ภาพยนตร์ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง ซึ่งในงานภาพยนตร์แต่ละเรื่องจะมีงานอันมีลิขสิทธิ์อื่นประกอบอยู่ด้วย อันถือได้ว่างานภาพยนตร์เป็นงานพิเศษซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องราวโดยภาพ จะมีเสียงหรือไม่มีเสียงก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ก็ไม่ควรให้เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์อื่นมีสิทธิเรียกร้องสิทธิในงานที่อยู่ในงานภาพยนตร์ดังกล่าว จึงควรมีการวางแนวทาง เพื่อตีความให้เกิดความเป็นธรรมที่สุดแก่เจ้าของงานภาพยนตร์ ในการมีสิทธิเรียกร้องจากการกระทำละเมิดต่องานภาพยนตร์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งควรพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำละเมิดว่าต้องการกระทำต่องานอันมีลิขสิทธิ์ใดรายการ การจัดการความรู้ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา(2564) สุภเดช ธนากรฐิติคุณการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุปะสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการความรู้ของบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ และ3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของการจัดการความรู้ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ พนักงานที่ทำงานในบริษัทโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 345 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย การทดสอบความแปรปรวน และการวิเคราะห์สมการเส้นถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนด้านการจัดการความรู้ของพนักงานในระดับมาก และ 2) ปัจจัยด้านการจัดการความรู้ในแต่ละด้านจะมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานที่แตกต่างกันรายการ การจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนใกล้เคียง กรณีศึกษา บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน)(2545) นกยูง พิทักษ์พิทยาพลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสถานะภาพของมลพิษสิ่งแวดล้อมบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 2) เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการบำบัดกากของเสียอุตสาหกรรมของบริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) 3) เพื่อศึกษาผลกระทบที่ชุมชนใกล้เคียงได้รับจากบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) 4) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมของชุมชน ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อาศัยอยู่บริเวณรอบบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) ในรัศมี 5 กิโลเมตร จำนวน 311 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศและเสียง 2) แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจงนับและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานะภาพของมลพิษสิ่งแวดล้อมบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยใช้การตรวจวัดคุณภาพอากาศและเสียง ไม่ส่งผลกระทบต่อประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียงบริษัท เนื่องจากค่าของผลการวัดดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 2) เทคโนโลยีการบำบัดกากของเสียอุตสาหกรรมของบริษัท โดยใช้การเปรียบเทียบมาตรฐานเทคโนโลยีของกระทรวงอุตสาหกรรมกับบริษัท ซึ่งเทคโนโลยีของบริษัทเป็นเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด 3) ผลกระทบที่ชุมชนใกล้เคียงได้รับคือ ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นรบกวน โดยมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 12 สถานี ในชุมชนทั้งหมด 7 ชุมชน ส่วนผลกระทบสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ภาวะน้ำเสีย ดินเสียในบริเวณที่ศึกษา อาจเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ 4) แนวทางในการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมของชุมชน อาจใช้แนวดำเนินเดิมและเพิ่มการประชาสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อคงเจตคติที่ดีต่อบริษัทฯ