SPU Chonburi Campus
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Chonburi Campus โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 698
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ของโรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี(2522) เยาวนุช คูเจริญวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนผู้เข้ามารับบริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ของโรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ใน 5 ด้าน คือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านสถานที่ให้บริการ ด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านอุปกรณ์การรักษาและยา และด้านความสามารถในการรักษาพยาบาล และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนผู้มาใช้บริการการรักษาในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ของโรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 381 คน เก็บรวบรวมฉบับสมบูรณ์ได้ 379 ฉบับ วิเคราะห์หาค่าทางสถิติด้วยระบบ SPSS for windows ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ของโรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ของโรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ และระดับการศึกษา ปรากฏผลดังนี้ ในภาพรวมจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการที่มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีความพึงพอใจมากกว่าระดับอนุปริญญา/ปวส., มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. และต่ำกว่าระดับประถมศึกษา ผู้ใช้บริการที่มีการศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าประถมศึกษามีความพึงพอใจมากกว่าระดับอนุปริญญา/ปวส. และมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.รายการ คุณลักษณะของผู้บริหารตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี(2542) รัตนา มาลาวิบูลย์การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี เพื่อทราบระดับ จัดลำดับ และเปรียบเทียบคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ที่แตกต่างกันในด้านเพศ ประสบการณ์การสอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ อาจารย์ในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ในปีการศึกษา 2541 จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทิศทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ในองค์ประกอบ 6 ด้าน คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรม ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรู้ความสามารถทางการบริหาร ด้านความรู้ความสามารถทางการศึกษาแห่งชาติ และด้านส่วนตัวและครอบครัว อยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นคุณลักษณะที่เป็นจริง ด้านมนุษยสัมพันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง 2. ลำดับคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี คุณลักษณะที่เป็นจริง เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านส่วนตัวและครอบครัว ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรม ด้านความรู้ความสามารถทางการบริหาร ด้านความรู้ความสามารถทางการศึกษาแห่งชาติ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ตามลำดับ สำหรับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านคุณธรรม ด้านความรู้ความสามารถทางการบริหาร ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านส่วนตัวและครอบครัว ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ความสามารถทางการศึกษาแห่งชาติ ตามลำดับ 3. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของอาจารย์โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ที่มีเพศประสบการณ์การสอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนต่างกัน ปรากฏว่าอาจารย์เพศหญิงมีทัศนะต่อคุณลักษณะที่เป็นจริงของผู้บริหารทั้งโดยส่วนรวมและรายด้านดีกว่าอาจารย์เพศชาย สำหรับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของอาจารย์ที่มีเพศต่างกัน ทั้งโดยส่วนรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านส่วนตัวและครอบครัว อาจารย์เพศหญิงมีทัศนะดีกว่าอาจารย์เพศชาย ส่วนอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนต่างกัน พบว่าคุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ทั้งโดยส่วนรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำงานกับรูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหารในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี(2542) เสกสรรค์ อึ๋งสกุลการศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานผู้บริหารในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ศึกษารูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหารในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี โดยจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และอายุงาน รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำงาน กับรูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหารในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามเลือกตอบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ และ ไค-สแควร์ ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1. ผู้บริหารในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี มีพฤติกรรมการทำงานลักษณะมุ่งระเบียบกฎเกณฑ์ 2. ผู้บริหารในนิคมอุตสาหกรรมมีการตัดสินใจรูปแบบใช้ข้อมูลของตนเอง และขอเพิ่มจากผู้ใต้บังคับบัญชามากที่สุด 3. อายุของผู้บริหารในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี มีความสัมพันธ์กันกับพฤติกรรมการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนวุฒิการศึกษา และอายุงาน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงาน 4. วุฒิการศึกษาและอายุงาน มีความสำคัญกับรูปแบบการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนอายุของผู้บริหาร พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหาร 5. พฤติกรรมการทำงานของผู้บริหารในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดมีความสัมพันธ์กับรูปแบบตัดสินใจของผู้บริหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)รายการ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่(2542) ยุทธนาวี ดวงสุวรรณวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความพึงพอใจในการทำงาน ภูมิหลังทางเศรษบกิจของครอบครัว และศึกษาระดับของประสิทธิภาพในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานทั้งสามปัจจัย ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความพึงพอใจในการทำงาน และภูมิหลังทางเศรษบกิจของครอบครัว มีผลอยู่ในระดับกลางเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น การเลือกงานที่ยากและท้าทาย การต้องการความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว ลักษณะงาน ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน มีผลอยู่ในระดับสูง สำหรับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ อยู่ในระดับกลาง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพในการทำงานกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความพึงพอใจในการทำงานนั้น ปรากฏความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05รายการ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ในภาคตะวันออก(2542) จักรกริช บุญประกาศิตการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ในภาคตะวันออก และเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ในภาคตะวันออก จำแนกตามตำแหน่งงาน และวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ในภาคตะวันออก จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทิศทาง ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ความรับผิดชอบในงาน เป็นอันดับที่ 1 การได้รับความยกย่องนับถือ เป็นอันดับที่ 2 การปกครองบังคับบัญชา เป็นอันดับที่ 3 และความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน เป็นอันดับที่ 4 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 6 ด้าน ได้แก่ นโยบายของหน่วยงาน เป็นอันดับที่ 5 ความสำเร็จของงาน เป็นอันดับที่ 6 ความก้าวหน้าในการทำงาน เป็นอันดับที่ 7 ลักษณะของงาน เป็นอันดับที่ 8 สภาพการทำงาน เป็นอันดับที่ 9 และความมั่งคงในงาน เป็นอันดับที่ 10 เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจโดยภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามตำแหน่งงาน และวุฒิการศึกษา พบว่าหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่าพนักงานสินเชื่อ และเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่าเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีรายการ การรับรู้ภาพลักษณ์ดนตรีกู่เจิงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร(2542) ศุภชัย ภิญญธนาบัตรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจกับทัศนคติที่มีต่อดนตรีกู่เจิง 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรด้านเพศ อายุ และรายได้แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงไม่แตกต่างกัน 2) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง 3) ความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงมีความสัมพันธ์กันกับทัศนคติที่มีต่อดนตรีกู่เจิง 4) ทัศนคติที่มีต่อดนตรีกู่เจิงมีความสัมพันธ์กันกับการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงรายการ ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบุคลิกภาพและการให้บริการของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาในจังหวัดชลบุรี(2542) จรียา กู้เมืองการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าต่อบุคลิกภาพและการให้บริการของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาในจังหวัดชลบุรี 2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของลูกค้าตามภูมิหลังของลูกค้า ระยะเวลาการเป็นลูกค้า และสาขาที่ใช้บริการ 3) แสวงหาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการให้บริการของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ลูกค้าที่มาใช้บริการสาขาของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งพวกก่อน เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่มาใช้บริการในแต่ละสาขาใกล้เคียงกัน จำนวน 460 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจด้านบุคลิกภาพของพนักงาน และความพึงพอใจด้านการให้บริการของพนักงาน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกระบวนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ดี มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .973 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบุคลิกภาพและการให้บริการของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความพึงพอใจด้านบุคลิกภาพจากมากไปหาน้อยพบว่า บุคลิกภาพทางกาย มีค่เฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสติปัญญา อุปนิสัย กำลังใจ ทางสังคม อันดับสุดท้ายคือ อารมณ์ และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจด้านการให้บริการจากมากไปหาน้อยพบว่า การให้บริการอย่างถูกต้องรวดเร็วแม่นยำ มีค่เฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การให้บริการอย่างก้าวหน้า อันดับสุดท้ายคือ กาให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน 2. เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของลูกค้าตามภูมิหลังของลูกค้า ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาการเป็นลูกค้า และสาขาที่ใช้บริการ พบว่าลูกค้าที่มีอาชีพต่างกันและลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารต่างสาขากัน มีความพึงพอใจต่อบุคลิกภาพและการให้บริการของพนักงานแตกต่างกัน โดยลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 3 มีความพึงพอใจน้อยกว่าลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาอื่น ๆ ยกเว้นสาขาที่ 9 เมื่อแยกพิจ่ารณาเฉพาะความพึงพอใจของลูกค้าต่อบุคลิกภาพของพนักงานพบว่า ลูกค้าเพศชายมีความพึงพอใจมากกว่าลูกค้าเพศหญิง และลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 3 มีความพึงพอใจน้อยกว่าลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาอื่น ๆ ยกเว้นลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 7 และสาขาที่ 9 และเมื่อแยกพิจ่ารณาเฉพาะความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของพนักงานพบว่า ลุกค้าที่มีอาชีพอื่น ๆ มีความพึงพอใจมากกว่าลูกค้าที่มีอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 3 มีความพึงพอใจน้อยกว่าลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาอื่น ๆ ยกเว้นลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 5 และสาขาที่ 9 และลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 9 มีความพึงพอใจน้อยกว่าลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารสาขาที่ 2 และสาขาที่ 6 3. ปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพของพนักงานที่พบมากที่สุดคือ พนักงานบางคนพูดจาห้วน ไม่สุภาพ รองลงมาคือ พนักงานบางคนหน้างอ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงบุคลิกภาพของพนักงานคือ ควรยิ้มแย้ม ทักทายลุกค้าบ้างตามโอกาส และควรพูดจาให้สุภาพ สำหรับปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการของพนักงานที่พบมากที่สุดคือ การให้บริการไม่เท่าเทียมกัน รองลงมาคือ พนักงานพูดคุยกันระหว่างทำงานทำให้การบริการล่าช้า ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการของพนักงานคือ ควรให้ความสำคัญกับลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน และควรให้บริการด้วยความตั้งใจและรวดเร็วรายการ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดระยอง(2542) ทนุเนตร ปิตุเตชะการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการบฏิติงานตามเกณฑ์การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานขอข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดระยอง ระหว่างข้าราชการตำรวจซึ่งมีชั้นยศ ประสบการณ์และลักษณะงานที่ปฏิบัติแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดระยอง จำนวน 418 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าวิกฤตที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานขอข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดระยอง ที่มีระดับชั้นยศสัญญาบัตรและระดับชั้นยศประทวน มีประสบการณ์น้อยและประสบการณ์มาก และมีลักษณะงานธุรการ ป้องกันปราบปราม สอบสวน สืบสวน และจราจร โดยรวมและเกือบทุกรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและอย่างเพียงพอ ซึ่งข้าราชการตำรวจทุกระดับชั้นยศ ทุกกลุ่มประสบการณ์และทุกลักษณะงานมีความพึงพอใจในระดับน้อย 2. ความพึงพอใจของข้าราชการตำรวจ ชั้นสัญญาบัตรกับชั้นบระทวนและข้าราชการตำรวจที่มีบระสบการณ์น้อยกับที่มีประสบการณ์มากโดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการมีส่วนร่วมและเป็นที่ยอมรับทางสังคมมีความแตกต่างกัน (p < .05) โดยข้าราชการตำรวจชันยศสัญญาบัตรมีความพึงพอใจสูงกว่า ข้าราชการตำรวจชั้นยศประทวน และข้าราชการตำรวจที่มีบระสบการณ์น้อยมีความพึงพอใจสูงกว่าข้าราชการตำรวจที่มีประสบการณ์มาก 3. ความพึงพอใจของข้าราชการตำรวจ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติแตกต่างกันโดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านความสัมพันธ์ระหว่างงานที่ปฏิบัติกับสังคมในชุมชนมีความแตกต่างกัน (p < .05) โดยข้าราชการตำรวจที่มีปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามมีความพึงพอใจสูงกว่าข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานสอบสวนรายการ การวิเคราะห์ทางการเงินของบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(2542) วัชรีย์ ธรรมรักษาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงภาวะโดยทั่วไปของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ โดยศึกษาถึงการผลิต การตลาด การนำเข้า และการส่งออกปูนซีเมนต์ของประเทศไทย 2) ศึกษาแหล่งที่มาและการใช้ไปชองเงินทุนของบริษัทปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3) ศึกษาถึงสภาพคล่อง ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ ความสามารถในการก่อหนี้ และความสามารถในการหากำไรของบริษัทปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาและตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บริษัทปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 4 บริษัท คือ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) บริษัทชลประทานซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) โดยรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทดังกล่าว ระหว่างปี พ.ศ.2536 – 2541 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์อัตราร้อยละและการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ผลการวิจัยมีดังนี้ คือ 1) แหล่งที่มาของเงินทุนส่วนใหญ่มาจากกู้ยืม ซึ่งเป็นเงินกู้ระยะยาว รองลงมา คือ หนี้สินหมุนเวียน และส่วนของผู้ถือหุ้น แหล่งที่ใช้ไปของเงินส่วนใหญ่นำไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รองลงมา คือ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมของกิจการที่เกี่ยวข้องจากการวิเคราะห์อัตราร้อยละของงบการเงินพบว่า มีการนพเงินลงทุนจากแหล่งเงินลงทุนระยะสั้นไปลงทุนสินทรัพย์ถาวร ทำให้เกิดความไม่สัมพันธ์กันของระยเวลาที่จะชำระหนี้คืน 2) สำหรับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ปรากฏว่าในช่วงระยะเวลาก่อนใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวปี พ.ศ.2536 – 2539 พบว่า - การวิเคราะห์สภาพคล่องมีแนวโน้วสูงขึ้นและลดลงในปี พ.ศ.2539 - การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์มีแน้วโน้มลดลง และสุงขึ้นในปี พ.ศ. 2539 - การวิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้มีแน้วโน้มสูงขึ้น - การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรมีแนวโน้มลดลงในช่วงระเวลาหลังใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวในปี พ.ศ. 2540 – 2541 ผลการวิเคราะห์เป็น ดังนี้ - การวิเคราะห์สถาพคล่องมีแนวโน้มลดลง - การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์มีแน้วโน้มลดลง - การวิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้มีแน้วโน้มสูงขึ้น - การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรในปี พ.ศ.2540 ลดต่ำลงอย่างมากจนเกิดผลขาดทุน และในปี พ.ศ.2541 ความสามารถในการหากำไรสูงขึ้น จากการวิเคราะห์ทางการเงินพบว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นอุตสาหกรรมที่น่าลงทุน เนื่องจากยังมีแน้วโน้มที่จะหากำไรได้ พิจารณาได้จากอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อค่าขาย อัตราผลตอบแทนจาการลงทุนลัอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่สูงขึ้นในปี พ.ศ.2541 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ปริมาณการส่งออกปูนซีเมนต์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมนี้มีแนวโน้มที่ดีในอนาคตรายการ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงกลั่นน้ำมันในเขตภาคตะวันออก(2542) พิรุณ วิเชียรศิริกุลการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การกับการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3. เพื่อแสวงหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานฝ่ายผลิตของโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 4 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 338 คน ได้มาโดยวิธีการ การสุ่มแบบแบ่งพวก เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างจากแต่ละโรงกลั่นในสัดส่วนใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกระบวนการสร้าง และพัฒนาเครื่องมือที่ดี โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .8860 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านองค์การได้แก่ ความก้าวหน้า ความมั่นคงในงาน การยอมรับนับถือ บรรยากาศการทำงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และรองลงมา ได้แก่ บรรยากาศการทำงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ การยอมรับนับถือ ความมั่นคงในงาน อันดับสุดท้าย คือ ความก้าวหน้า 2. พนักงานฝ่ายผลิตที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 3. พนักงานฝ่ายผลิตที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 4. ปัญหาสำคัญในการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานฝ่ายผลิตมากที่สุด คือ การติดต่อสื่อสาร การประสานงานระหว่างแผนก และรองลงมา ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับพนักงาน สำหรับข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของพนักงานฝ่ายผลิต คือ ควรจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ควรมีการปรับปรุงระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และควรจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติโดยตรง และงานที่เกี่ยวข้องกับพนักงานให้มากยิ่งขึ้นรายการ ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ตามทัศนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี(2542) สมพิศ แสงแก้วการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ในทัศนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำแนกตามระดับการศึกษาและเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของกรมสามัญศึกษา และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของกรมอาชีวศึกษา ในปีการศึกษา 2541 จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทิศทาง ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ในทัศนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีภาพลักษณ์อยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยมีภาพลักษณ์ด้านความเชื่อถือ เป็นอันดับที่ 1 การยอมรับ เป็นอันดับที่ 2 และความศรัทธา เป็นอันดับที่ 3 เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโดยรวมและรายด้าน จำแนกตามระดับการศึกษาและเพศ พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีทัศนะต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ไม่แตกต่างไปจากนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และเช่นเดียวกัน เพศชายมีทัศนะต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยไม่แตกต่างกับเพศหญิง ยกเว้นในกลุ่มนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเพศชายมีทัศนะต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยดีกว่าเพศหญิง ทั้งโดยรวมและด้านความเชื่อถือ ในขณะเดียวกัน ในกลุ่มเพศหญิง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีทัศนะต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยดีกว่านักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดยภาพรวมรายการ การศึกษาลักษณะการกระทำผิดวินัยของพนักงาน กรณีศึกษา องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี พุทธศักราช 2539 - 2541(2542) ณภาทิพ เกสสมบูรณ์การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาลักษณะการกระทำความผิดวินัยของพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประทศไทย ระหว่างปีพุทธศักราช 2539 - 2541 ประชากรที่วิจัยในครั้งนี้ได้แก่ พนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่กระทำความผิดวินัยแต่ละกรณีความผิดระหว่างปีพุทธศักราช 2539 - 2541 จำนวน 91 ราย ที่ได้รับการพิจารณาโทษถึงที่สุดโดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดวินัยของพนักงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสำรวจตรวจสอบรายการจากสถิติที่กองวินัย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ในการวิเคราะห์ผล ผู้วิจัยใช้การหาความถี่และคิดเป็นร้อยละแล้ว สร้างแบบบันทึกขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลตามตัวแปรที่ศึกษา โดยจำแนกเป็นรายปี เพศ รายได้ สถานภาพในการดำรงตำแหน่งงาน และอายุราชการ จากการศึกษาค้นคว้า ปรากฎผลดังนี้ 1. ลักษณะการกระทำความผิดวินัยแต่ละกรณีของพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตามข้อบังคับตั้งแต่ข้อ 28-54 แห่งพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ. 2536 หมวด 7 วินัยและการรักษาวินัย ระหว่างปีพุทธศักราช 2539 - 2541 พบว่ากระทำผิดมากที่สุด คือกรณีละทิ้งหน้าที่การงานติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ในปีพุทธศักราช 2540 คือ พนักงานเพศชาย มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท สถานภาพในการดำรงตำแหน่งงานต่ำกว่าระดับ 4 และอายุราชการต่ำกว่า 10 ปี 2. จำนวนการกระทำผิดวินัยของพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ระหว่างปีพุทธศักราช 2539 - 2541 พบว่าที่มีการกระทำผิดมากที่สุด คือกรณีละทิ้งหน้าที่การงานติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ในปีพุทธศักราช 2539 คือ พนักงานเพศชาย รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท สถานภาพในการดำรงตำแหน่งต่ำกว่าระดับ 4 และอายุราชการต่ำกว่า 10 ปี 3. ระดับโทษการกระทำผิดวินัยของพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ระหว่างปีพุทธศักรช 2539 - 2541 พบว่าได้รับโทษมากที่สุดในปีพุทธศักราช 2539 เป็นไทษที่ได้รับคือ ไล่ออก เพศชาย รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท สถานภาพในการดำรงตำแหน่งนต่ำกว่าระดับ 4 และอายุราชการไม่เกิน 10 ปีรายการ ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี(2542) สมนารี คุณปลื้มการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี จำแนกตามสถานภาพอาชีพ ได้แก่ ผู้ประกอบการค้า ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป ในการดำเนินงานของเทศบาล 7 ด้าน คือ ด้านสุขอนามัย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านที่พักอาศัย ด้านสวนสาธารณะ ด้านการทะเบียนราษฎร ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย () ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) และทดสอบคะแนนเฉลี่ยรายคู่ตามวิธีการของ Scheffe ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี ปรากฏผลดังนี้ 2.1 โดยภาพรวม และด้านการประชาสัมพันธ์ ผู้ประกอบการค้ามีความพึงพอใจมากกว่าข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 2.2 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านสวนสาธารณะ ประชาชนทั่วไปมีความพึงพอใจมากกว่าข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 2.3 ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ประกอบการค้า และประชาชนทั่วไปมีความพึงพอใจมากกว่าข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจรายการ ความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี(2542) สมพร สุพลสงครามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาระดับความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี และเปรียบเทียบความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี จำแนกตามชั้นยศของข้าราชการตำรวจและสถานภาพสมรส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นของข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 315 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความเครียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับสูง 2. ความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรกับชั้นประทวน-พลตำรวจ สายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยคะแนนเฉลี่ยของความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรสูงกว่าชั้นประทวน-พลตำรวจ 3. ความเครียดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสถานภาพโสดกับสมรส สายงานป้องกันปราบปราม สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมและทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติรายการ ปัญหาการปฎิบัติงานสืบสวนของตำรวจในจังหวัดชลบุรี(2542) วินัย เนติสุทธิกานต์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปฎิบัติงานสืบสวนของตำรวจในจังหวัดชลบุรี และศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการปฎิบัติงานสืบสวนตามลักษณะภูมิหลังของผู้ปฏิบัติงานสืบสวน จำแนกเป็นชั้นยศ คุณวุฒิการศึกษา อายุ อายุราชการ และประสบการณ์ในงานสืบสวน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่ปฎิบัติงานสืบสวนในสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดชลบุรี จำนวน 191 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยตัวกลางเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จากผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏผลโดยสรุปดังนี้ 1. ปัญหาการปฎิบัติงานสืบสวนของตำรวจในจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบปัญหาการปฎิบัติงานสืบสวนของตำรวจในจังหวัดชลบุรี จำแนกตามชั้นยศ คุณวุฒิการศึกษา อายุราชการ และประสบการณ์ในงานสืบสวน พบว่ามีปัญหาไม่แตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามอายุพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05รายการ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการได้รับการฝึกอบรมของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดระยอง(2542) ตรีเพชร ชลชีวศรานนท์การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการได้รับการฝึกอบรมของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดระยอง จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดระยอง จำนวน 127 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมี 2 ตอน คือ ตอนที่ 1. เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ตอนที่ 2. เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการได้รับการฝึกอบรมของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดระยอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดระยอง จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 7 ปี กับน้อยกว่า 7 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการได้รับการฝึกอบรมในด้านงานอำนวยการ งานป้องกันปราบปราม งานสอบสวน งานสืบสวน และงานจราจรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดะยอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการได้รับการฝึกอบรมในด้านงานสืบสวนเป็นอันดับแรก และอันดับสุดท้ายคือ งานจราจร 2. ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดระยอง ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการได้รับการฝึกอบรมโดยภาพรวมและทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ยกเว้น ด้านงานสอบสวน มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติรายการ การวิเคราะห์ทางการเงินของบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(2542) วัชรีย์ ธรรมรักษาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงภาวะโดยทั่วไปของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ โดยศึกษาถึงการผลิต การตลาด การนำเข้า และการส่งออกปูนซีเมนต์ของประเทศไทย 2) ศึกษาแหล่งที่มาและการใช้ไปชองเงินทุนของบริษัทปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3) ศึกษาถึงสภาพคล่อง ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ ความสามารถในการก่อหนี้ และความสามารถในการหากำไรของบริษัทปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาและตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บริษัทปูนซีเมนต์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 4 บริษัท คือ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) บริษัทชลประทานซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) โดยรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทดังกล่าว ระหว่างปี พ.ศ.2536 – 2541 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์อัตราร้อยละและการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ผลการวิจัยมีดังนี้ คือ 1) แหล่งที่มาของเงินทุนส่วนใหญ่มาจากกู้ยืม ซึ่งเป็นเงินกู้ระยะยาว รองลงมา คือ หนี้สินหมุนเวียน และส่วนของผู้ถือหุ้น แหล่งที่ใช้ไปของเงินส่วนใหญ่นำไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รองลงมา คือ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมของกิจการที่เกี่ยวข้องจากการวิเคราะห์อัตราร้อยละของงบการเงินพบว่า มีการนพเงินลงทุนจากแหล่งเงินลงทุนระยะสั้นไปลงทุนสินทรัพย์ถาวร ทำให้เกิดความไม่สัมพันธ์กันของระยเวลาที่จะชำระหนี้คืน 2) สำหรับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ปรากฏว่าในช่วงระยะเวลาก่อนใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวปี พ.ศ.2536 – 2539 พบว่า - การวิเคราะห์สภาพคล่องมีแนวโน้วสูงขึ้นและลดลงในปี พ.ศ.2539 - การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์มีแน้วโน้มลดลง และสุงขึ้นในปี พ.ศ. 2539 - การวิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้มีแน้วโน้มสูงขึ้น - การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรมีแนวโน้มลดลงในช่วงระเวลาหลังใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวในปี พ.ศ. 2540 – 2541 ผลการวิเคราะห์เป็น ดังนี้ - การวิเคราะห์สถาพคล่องมีแนวโน้มลดลง - การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์มีแน้วโน้มลดลง - การวิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้มีแน้วโน้มสูงขึ้น - การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรในปี พ.ศ.2540 ลดต่ำลงอย่างมากจนเกิดผลขาดทุน และในปี พ.ศ.2541 ความสามารถในการหากำไรสูงขึ้น จากการวิเคราะห์ทางการเงินพบว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นอุตสาหกรรมที่น่าลงทุน เนื่องจากยังมีแน้วโน้มที่จะหากำไรได้ พิจารณาได้จากอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อค่าขาย อัตราผลตอบแทนจาการลงทุนลัอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่สูงขึ้นในปี พ.ศ.2541 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ปริมาณการส่งออกปูนซีเมนต์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมนี้มีแนวโน้มที่ดีในอนาคตรายการ ความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีเกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา(2543) สุวิชญ์ สุขประเสริฐการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี เกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี เกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการแนะนำส่งเสริม ด้านการเป็นแบบอย่าง และด้านการสร้างเงื่อนไข จำแนกตามสถานภาพในการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจภูธรที่สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร จำนวน 181 นาย และข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จำนวน 300 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีเกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา พบว่า ข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ชั้นสัญญาบัตรมีความคิดเห็นว่า หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีมีบทบาทในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชามากกว่าข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีชั้นประทวนทั้งโดยภาพรวม และด้านการเป็นแบบอย่าง และด้านการสร้างเงื่อนไข ส่วนด้านแนะนำส่งเสริมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรีที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มีความคิดเห็นว่าหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี มีบทบาทในการส่งเสริมจริยธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชามากกว่าข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยทั้งโดยภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้านรายการ สภาพและความต้องการในการจัดกิจกรรมพัฒนาข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดชลบุรี(2543) ฉัตรไชย กรุดพันธ์การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการจัดกิจกรรมพัฒนาข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ใน 7 ด้าน คือ ด้านการปฐมนิเทศ ด้านการฝึกอบรมสัมมนา ด้านการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการเผยแพร่ข่าวสารทางวิชาการ ด้านการศึกษาและดูงานนอกสถานที่ ด้านการพัฒนาด้านจิตใจ และด้านการส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อ และเพื่อเปรียบเทียบสภาพและความต้องการ จำแนกตามระดับชั้นของเจ้าหน้าที่ และสถานีตำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการตำรวจ จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนบระมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย (x ̅) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t (t) จากผลการศึกษาพบว่าสภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาข้าราชการตำรวจทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย ขณะที่ความต้องการในการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และ เมื่อเปรียบเทียบสภาพในการจัดกิจกรรมพัฒนาข้าราชการตำรวจ จำแนกตามระดับชั้น และระดับสถานีตำรวจไม่แตกต่างกัน ส่วนความต้องการจัดกิจกรรมพัฒนาข้าราชการตำรวจ จำแนกตามระดับชั้นและระดับสถานีตำรวจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ในด้านการประชุมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมให้มีการศึกษาต่อ และการฝึกอบรมสัมมนา สำหรับการจำแนกตามระดับของสถานีตำรวจรายการ ขวัญกำลังใจของพนักงานธนาคารพาณิชย์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี(2543) จินตนา รุจิพุฒิการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับขวัญกำลังใจของพนักงานธนาคารพาณิชย์ ที่เกิดจากปัจจัยด้านผลตอบแทน ด้านผู้บังคับบัญชา และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และเพื่อเปรียบเทียบขวัญกำลังใจ ที่เกิดจากปัจจัยทั้งสามดังกล่าว คือ ปัจจัยด้านผลตอบแทน ด้านผู้บังคับบัญชา และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานธนาคารพาณิชย์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเป็นคำถามปลายปิด และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่าคำตอบ 5 ระดับ สถิติข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบความแตกต่างโดยใช้วิธีดันแคน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า ระดับขวัญกำลังใจของพนักงานธนาคารพาณิชย์ ที่เกิดจากปัจจัยด้านผลตอบแทน ด้านผู้บังคับบัญชา และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน อยู่ในระดับกลาง จากการจัดอันดับปัจจัยที่มีผลต่อระดับขวัญกำลังใจของพนักงานจากความสำคัญน้อยไปหามากได้ลำดับดังนี้ ปัจจัยด้านผลตอบแทน ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับการเปรียบเทียบขวัญกำลังใจของพนักงาน จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลพบว่า ขวัญกำลังใจของพนักงาน จากปัจจัยด้านผลตอบแทน และด้านผู้บังคับบัญชา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อสถานภาพส่วนบุคคลด้านรายได้มีความแตกต่างกัน ส่วนขวัญกำลังใจด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งงานปัจจุบัน และรายได้ มีความแตกต่างกัน