SPU Chonburi Campus
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Chonburi Campus โดย ผู้เขียน "กอบเกื้อ กลางประพันธ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายของข้อสันนิษฐานความรับผิด ทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล(2562-03-08) กอบเกื้อ กลางประพันธ์วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการกาหนดข้อสันนิษฐานให้ร่วมรับผิดกับนิติบุคคลในคดีอาญาของกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดาเนินงานของนิติบุคคล จากการศึกษาพบว่า กฎหมายสหรัฐอเมริกาและกฎหมายประเทศอังกฤษเป็นต้นแบบของทฤษฎีการไม่คานึงถึงสภาพนิติบุคคลที่ได้กาหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคลที่อาศัยนิติบุคคลเป็นช่องว่างไม่ให้ต้องรับผิด เนื่องจากคดีบางประเภทต้องอาศัยเจตนาของผู้กระทาความผิดเป็นฐานในการดาเนินคดีหรือเรียกว่า “คดีที่ปราศจากผู้เสียหาย” แต่มีผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชนโดยตรง รวมทั้งเพื่อเป็นการควบคุมการบริหารงานของผู้แทนนิติบุคคลจึงยังพบว่า บทสันนิฐานตามกฎหมายยังมีความจาเป็นต่อระบบกฎหมายของประเทศไทยและเป็นคนละกรณีกับการจากัดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จากการศึกษาจึงเห็นควรให้คงไว้เพื่อประโยชน์ในการแสวงหาพยานหลักฐานและเครื่องมือของรัฐในการนาตัวผู้กระทาความผิดมาลงโทษและเป็นการปราบการกระทาของกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบจะต้องบริหารงานภายในนิติบุคคลให้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายและวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลโดยไม่ใช้สถานะความเป็นนิติบุคคลที่มีความรับผิดแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดามาเป็นช่องว่างทางกฎหมายในการแสวงหาประโยชน์และเอาเปรียบบุคคลภายนอกและการนาหลักการไม่คานึงถึงสภาพนิติบุคคลมาเป็นเครื่องมือในการปรับใช้แทนข้อสันนิษฐานตามกฎหมายให้ร่วมรับผิดกับนิติบุคคลของกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดาเนินงานของนิติบุคคลโดยควรมีการบัญญัติหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการไม่คานึงถึงสภาพนิติบุคคลไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย นิติบุคคลและบทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจากัดและบริษัทจากัดและกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความผิดที่ปราศจาก ผู้เสียหายเพื่อเป็นเครื่องมือของรัฐอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากหลักการสันนิษฐานให้ร่วมรับผิดของผู้แทนนิติบุคคลกับนิติบุคคลและควรมีกฎหมายกาหนดขอบเขตถึงผลของคาวินิจฉัยเพื่อให้คาวินิจฉัยมีการบังคับใช้อย่างจากัดและมีหลักเกณฑ์มิใช่ผูกพันหน่วยงานทุกองค์กรและกฎหมายทุกฉบับจนส่งผลให้ระบบโครงสร้างทางกฎหมายได้รับความเสียหายขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้