บทความวิชาการ
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู บทความวิชาการ โดย ผู้เขียน "Dhanapon Somwang"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 7 ของ 7
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Looking at America through Buddhist Wisdom(2551-02-11T13:02:09Z) Dhanapon Somwangabstract for present at 10 th international conference on Thai Studies, Thammasat Universityรายการ Looking at America to Turn Back Modernizing Thai Society(2551-02-15T11:10:18Z) Dhanapon Somwangpaper presented in South and Southeast Asian Association for the Study of Culture and Religion (SSEASR)on "Syncretism in South and Southeast Asia : Adoption and Adaptation" at Mahidol University, Thailand, May 24-27, 2007รายการ Theravada Buddhist Monk and the Making of Modern Thai Society with Special Reference to Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto)(2551-02-11T07:45:37Z) Dhanapon Somwangabstract of article presented at University of the Thai Chamber of Commerce, Thailand in "the 2 nd Language in the Realm of Social Dynamics international conference 2008"รายการ การบูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสังคมไทย : แนวความคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(Sripatum University, 2561-12-20) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสังคมไทย โดยการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารที่เป็นผลงานของท่าน ผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เห็นว่าสังคมไทยมีความโน้มเอียงในการพัฒนาประเทศตามแบบอย่างสังคมตะวันตก และวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน อยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ที่ได้สร้างสภาพการณ์ใหม่ๆ ให้กับบุคคลและสังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในขณะเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดภาวะผกผัน เป็นโลกแห่งความย้อนแย้งกันอยู่ในตัว สภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน จึงไม่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์อันเป็นเรื่องของยุคสมัยเท่านั้น หากแต่ยังเผชิญกับปัญหารุนแรงที่เป็นพื้นฐานของปัญหาโลกทั้งหมด คือ รากฐานความคิดหรือกระบวนทัศน์ที่ผิดพลาด (มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งครอบงำอารยธรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน 3 ประการ คือ การมองเพื่อนมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ มีฐานะเป็นเจ้าของผู้สามารถครอบครอง และพิชิตธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดพลาดนำไปสู่วิกฤตการณ์ของมนุษย์และสังคมในปัจจุบัน ท่านจึงนำเสนอว่า การพัฒนาสังคมไทย นอกจากจะต้องเข้าถึงพื้นฐานของสังคมไทย และมีความรู้ความเข้าใจ รู้เท่าทันความเป็นไปของกระแสโลกาภิวัตน์แล้ว หลักพุทธธรรมหรือหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ก็ควรเป็นหลักพื้นฐานในการพัฒนาสังคมไทย ที่จะสร้างสรรค์ความผสมกลมกลืน และสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตของบุคคล ทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมโยงชีวิตที่ดีงามเข้ากับธรรมชาติแวดล้อม และสังคมอย่างยั่งยืนรายการ รักธรรม เพื่อรักษ์ไทย ธรรมทัศน์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-01-10) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangสมเด็จพระพุทธโฆษาจาารย์ได้นำเสนอ “วัฒนธรรมพุทธ” หรือ “วัฒนธรรมพุทธศาสตร์” เป็นตัวแบบในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่สำหรับสังคมไทย เพื่อเป็นการรื้อฟื้นวัฒนธรรมแบบพุทธขึ้นมา หรือเป็นการปรับปรุงวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมอุตสาหกรรม ที่กำลังครอบงำโลกอยู่ในปัจจุบันนี้รายการ สถาบันสังฆ์กับสังคมไทย : ข้อพิจารณาของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2561-08-06) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มีข้อพิจารณาว่า สถาบันสงฆ์มีความสำคัญต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากอดีตที่มีบทบาทต่อสังคมไทยในด้านต่าง ๆ แต่ในปัจจุบัน สถาบันสงฆ์เริ่มสูญเสียบทบาท การที่จะดำรงสถาบันสงฆ์ให้คงอยู่และกลับมามีบทบาทและคุณค่าต่อสังคมสมัยใหม่นั้น ท่านเห็นว่า พระสงฆ์และสถาบันสงฆ์จะต้องแสดงออกถึงบทบาท หน้าที่และภารกิจของสถาบันสงฆ์ให้ชัดเจน เป็นบทบาทที่จะสามารถนำพาชีวิตของผู้คนและสังคมในปัจจุบันไปสู่ความดีงามตามหลักแห่งพระพุทธศาสนาได้รายการ โควิด อโคจร อนาคตของสังคมไทย(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2564-07-13) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ในแต่ละระลอกที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในวงกว้างนั้น เป็นคลัสเตอร์การแพร่ระบาดจากแหล่งอโคจรเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสนามมวย บ่อนไก่ บ่อนการพนัน แหล่งบันเทิง กิจกรรมรื่นเริง และแคมป์คนงานที่กำลังแพร่หลายและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางอยู่ในปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดจากสถานที่อโคจรนี้ มาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ความอ่อนแอของมาตรการทางด้านกฎหมายและทางด้านสาธารณสุข ประการที่สอง ความอ่อนแอทางด้านจริยธรรม คือ การขาดสำนึกรับผิดชอบทั้งต่อชีวิตของตัวเองและความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม การควบคุมการระบาดจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งสองประการนี้ ไม่เช่นนั้นแล้ว สังคมไทยก็คงจะประสบกับปัญหาการระบาดอย่างรุนแรง จนกลายเป็นสังคมที่เป็นอโคจรในที่สุด