บทความวิชาการ
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ ทางสายกลางสังคมไทย : มุมมองสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตโต(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2566-08-01) ธนภณ สมหวังวันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่พระเบญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่ “ทางสายกลาง” สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต)ได้นำเสนอทางสายกลางของสังคมไทยว่า สังคมไทยต้องรักษาวัฒนธรรมเมตตา และพัฒนาวัฒนธรรมแสวงปัญญา เพราะประวัติศาสตร์อันยาวนานของสังคมไทยนั้น เป็นสังคมที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางวัตถุเป็นพื้นฐานมาแต่เดิม วิถีชีวิตของคนไทยจึงแสดงออกมาในลักษณะของความเป็นคนที่มีจิตใจที่ดีงาม โอบเอื้ออารีเกื้อกูล ตลอดจนนับถือเป็นพี่เป็นน้องเป็นต้น ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแห่งเมตตา ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมตะวันตก ที่แต่เดิมเป็นสังคมที่ขาดแคลน มุ่งแสวงหาความมั่งคั่งและบุกฝ่าพรมแดนออกไป (Frontier) จนกลายเป็นการรุกรานปราบปราม (Conquest) และมุ่งหน้าแข่งขันกันในที่สุด(Competition) โดยอาศัยวัฒนธรรมแห่งการแสวงหาปัญญา ท่านจึงได้เตือนสติของสังคมไทยเสมอมาว่า สังคมไทยจะก้าวพ้นจากวิกฤตการณ์ที่เผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ และจะพัฒนาสังคมไทยให้ก้าวหน้าไปได้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่า คนไทยจะสามารถจัดสรรสังคมไทยด้วยปัญญา บนพื้นฐานแห่งเมตตาไมตรีได้มากน้อยเพียงใด ถ้าสังคมไทยสามารถรักษาวัฒนธรรมเมตตาไว้ได้ และก้าวหน้าไปด้วยวัฒนธรรมแห่งปัญญา ก็จะได้ชื่อว่า ดำเนินไปตามทางสายกลาง ที่จะนำพาไปสู่เป้าหมายสังคมแห่งความดีงาม สันติสุข และยั่งยืนต่อไปรายการ ‘โควิด’ พลิกการศึกษาไทย สู่การเรียนรู้ที่แท้จริง(หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, 2564-08-14) ธนภณ สมหวังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงแก่มวลมนุษยชาติในทุกมิติของชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของมนุษย์ไม่สามารถจะดำรงอยู่ในวิถีเดิมได้อีกต่อไป จะต้องมีการปรับตัวเองไปสู่ความปกติใหม่ (New Normal) การศึกษานับเป็นอีกมิติหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุด เพราะในภาวะปกตินั้น ระบบการศึกษาจะเน้นกระบวนการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู อาจารย์ กับนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนการทำกิจกรรมในทั้งในสถาบัน และชุมชน ในโลกแห่งความเป็นจริง ต่อเมื่อเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการศึกษา ด้วยการปิดสถาบันการศึกษา และปรับตัวมาสู่การเรียนรู้ในโลกเสมือนจริงในโลกออนไลน์ กระบวนการเรียนการสอนในยุคโควิด-19 นี้ เทคโนโลยีดิจิทัล จึงมีบทบาทสำคัญ กลายเป็นพระเอก หรือกุญแจสำคัญในการเรียนรู้ของมนุษย์เพียงชั่วข้ามวัน หลังจากโลกแห่งการศึกษามีความพยายามอันยาวนานที่จะผลักดันให้เทคโนโลยีด้านการศึกษา (Educational Technology) มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่จะก่อให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียม และก่อให้เกิดคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริงรายการ โควิด อโคจร อนาคตของสังคมไทย(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2564-07-13) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ในแต่ละระลอกที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในวงกว้างนั้น เป็นคลัสเตอร์การแพร่ระบาดจากแหล่งอโคจรเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสนามมวย บ่อนไก่ บ่อนการพนัน แหล่งบันเทิง กิจกรรมรื่นเริง และแคมป์คนงานที่กำลังแพร่หลายและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางอยู่ในปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดจากสถานที่อโคจรนี้ มาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ความอ่อนแอของมาตรการทางด้านกฎหมายและทางด้านสาธารณสุข ประการที่สอง ความอ่อนแอทางด้านจริยธรรม คือ การขาดสำนึกรับผิดชอบทั้งต่อชีวิตของตัวเองและความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม การควบคุมการระบาดจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งสองประการนี้ ไม่เช่นนั้นแล้ว สังคมไทยก็คงจะประสบกับปัญหาการระบาดอย่างรุนแรง จนกลายเป็นสังคมที่เป็นอโคจรในที่สุดรายการ วัคซีนโควิด-19 กับไวรัสโคโรนา(หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, 2564-02-20) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณผลงานวิชาการนี้เขียนจากเหตุผลเพราะมีคำถามว่า mRNA คืออะไร ฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีน เมื่อต้องการที่จะรู้ จึงดำเนินการหาคำตอบจากบทความวิจัย บทความวิชาการ และจากการฟังการสนทนาและคำบอกเล่าจากคุณหมอที่อยู่ใกล้ชิดกับโควิด-19 และเรื่องราวของวัคซีนโควิด-19 จึงทำให้วัตถุประสงค์ของการเขียน คือ 1) เพื่อหาองค์ความรู้ (ให้ตนเองเข้าใจ) เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตวัคซีน. 2) เพื่อเผยแพร่สิ่งที่เขียนด้วยภาษาง่ายๆ ให้แก่ผู้อื่นได้รับรู้ (ผ่านการตรวจสอบจากหมอและพยาบาลก่อนส่งเผยแพร่). ผู้เขียนจึงคาดหวังว่าผลงานวิชาการนี้จะทำให้ผู้อ่านมีองค์ความรู้ในเรื่องไวรัสโคโรนาและเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนรายการ คุณลักษณะบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 กับวิชาศึกษาทั่วไป(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) กิตติภูมิ มีประดิษฐ์ผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิตที่สามารถส่งต่อไปถึงผู้ใช้บัณฑิตซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 มีหลายข้อซึ่งสถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการผ่านรายวิชาศึกษาทั่วไปได้ โดยวิชาศึกษาทั่วไปต้องสร้างความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมลักษณะนิสัยความอยากรู้อยากเห็นจนถึงการลงมือสืบค้นจากสารสนเทศ สามารถตีความและวิเคราะห์ข้อมูลสามารถนำสิ่งต่าง ๆที่ได้มาสังเคราะห์และประมวลข้อโต้แย้งได้ มีลักษณะนิสัยที่ยืดหยุ่นมีทักษะความร่วมมือ โดยเฉพาะความร่วมมือผ่านทางดิจิทัล มีความมุ่งมั่นพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสามารถการปรับตัวได้ดีแก้ปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนั้นผู้เรียนจะต้องมีความฉลาดรู้ทางวัฒนธรรมและความเป็นพลเมือง ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนมีการรับรู้ทางสังคมและวัฒนธรรมสร้างทั้งความรับผิดชอบและผลงาน เกิดสำนึกรับผิดชอบและการสะท้อนป้อนกลับที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความฉลาดรู้ทางการเงิน ในส่วนของความคิดแบบองค์รวม วิชาศึกษาทั่วไปจะต้องสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล การคิดเชิงระบบ ความคิดสร้างสรรค์ มีการทำงานอย่างอย่างสร้างสรรค์กับผู้อื่น การไม่ติดกรอบและกล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ เกิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือสร้างนวัตกรรม มีการริเริ่มสิ่งใหม่ เกิดไอเดียใหม่ ๆ และนำไอเดียมาออกแบบหรือต่อยอด ในส่วนของการสื่อสาร เริ่มจากการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกการสื่อสารโดยใช้สื่อดิจิทัล สามารถสื่อสารได้แม้สิ่งแวดล้อมจะแตกต่างหลากหลาย ฝึกการสนทนาและอภิปราย รวมถึงการนำเสนอได้อย่างมีบุคลิกภาพซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จะเสริมสร้างให้บัณฑิตเป็นที่ต้องการของสังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างสมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 Undergraduate student learning outcomes can be forwarded to entrepreneur corresponds to the 21st-century of undergraduate students characteristics. There are many topics where higher education institutions can organize teaching by integrating through general education courses. They need to be carefully selected and designed together how to apply potential in any subject or in any form of teaching activity. It requires a clear measurement to see the development and success of the learning results on each side of the undergraduate characteristics. General Education needs to create a scientific literacy by encouraging the curious traits through the information search engine can interpret and analyze the data bring out the synthesis and process the arguments have flexible personality , cooperation skills , collaborate using digital media , strive to achieve goals and can be adjusted well solve the problem in everyday life. In addition the learner must have cultural and civic literacy , using circular economy for environmental protection to sustainable development goals and have social and cultural awareness .Create both responsibility and productivity, responsible and helpful feedback reflection especially financial literacy. In part of a holistic thinking General Education is required to establish critical thinking, reasoning ,systematic thinking ,creativity work and creativity with others ,openness and courage to explore ,create new products or innovate have initiative idea generation and bring ideas to the new design. In the communication section learner can start listening effectively, practice communicate by using digital media can communicating in diverse environments , engaging in conversation and discussion Include delivering oral presentation with good personality. These learning outcomes will strengthen graduates to be the preferred of Thai and global society in the 21st century.รายการ การบูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสังคมไทย : แนวความคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(Sripatum University, 2561-12-20) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangบทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสังคมไทย โดยการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารที่เป็นผลงานของท่าน ผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เห็นว่าสังคมไทยมีความโน้มเอียงในการพัฒนาประเทศตามแบบอย่างสังคมตะวันตก และวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน อยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ที่ได้สร้างสภาพการณ์ใหม่ๆ ให้กับบุคคลและสังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในขณะเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดภาวะผกผัน เป็นโลกแห่งความย้อนแย้งกันอยู่ในตัว สภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน จึงไม่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์อันเป็นเรื่องของยุคสมัยเท่านั้น หากแต่ยังเผชิญกับปัญหารุนแรงที่เป็นพื้นฐานของปัญหาโลกทั้งหมด คือ รากฐานความคิดหรือกระบวนทัศน์ที่ผิดพลาด (มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งครอบงำอารยธรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน 3 ประการ คือ การมองเพื่อนมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ มีฐานะเป็นเจ้าของผู้สามารถครอบครอง และพิชิตธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดพลาดนำไปสู่วิกฤตการณ์ของมนุษย์และสังคมในปัจจุบัน ท่านจึงนำเสนอว่า การพัฒนาสังคมไทย นอกจากจะต้องเข้าถึงพื้นฐานของสังคมไทย และมีความรู้ความเข้าใจ รู้เท่าทันความเป็นไปของกระแสโลกาภิวัตน์แล้ว หลักพุทธธรรมหรือหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ก็ควรเป็นหลักพื้นฐานในการพัฒนาสังคมไทย ที่จะสร้างสรรค์ความผสมกลมกลืน และสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตของบุคคล ทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมโยงชีวิตที่ดีงามเข้ากับธรรมชาติแวดล้อม และสังคมอย่างยั่งยืนรายการ รักธรรม เพื่อรักษ์ไทย ธรรมทัศน์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(หนังสือพิมพ์มติชน, 2562-01-10) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangสมเด็จพระพุทธโฆษาจาารย์ได้นำเสนอ “วัฒนธรรมพุทธ” หรือ “วัฒนธรรมพุทธศาสตร์” เป็นตัวแบบในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่สำหรับสังคมไทย เพื่อเป็นการรื้อฟื้นวัฒนธรรมแบบพุทธขึ้นมา หรือเป็นการปรับปรุงวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมอุตสาหกรรม ที่กำลังครอบงำโลกอยู่ในปัจจุบันนี้รายการ สถาบันสังฆ์กับสังคมไทย : ข้อพิจารณาของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2561-08-06) ธนภณ สมหวัง; Dhanapon Somwangสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มีข้อพิจารณาว่า สถาบันสงฆ์มีความสำคัญต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากอดีตที่มีบทบาทต่อสังคมไทยในด้านต่าง ๆ แต่ในปัจจุบัน สถาบันสงฆ์เริ่มสูญเสียบทบาท การที่จะดำรงสถาบันสงฆ์ให้คงอยู่และกลับมามีบทบาทและคุณค่าต่อสังคมสมัยใหม่นั้น ท่านเห็นว่า พระสงฆ์และสถาบันสงฆ์จะต้องแสดงออกถึงบทบาท หน้าที่และภารกิจของสถาบันสงฆ์ให้ชัดเจน เป็นบทบาทที่จะสามารถนำพาชีวิตของผู้คนและสังคมในปัจจุบันไปสู่ความดีงามตามหลักแห่งพระพุทธศาสนาได้รายการ วิชาศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนาคุณภาพพลเมืองไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-11-19) กิตติภูมิ มีประดิษฐ์โลกการเรียนการสอนของมนุษย์ในทุก GENERATION อย่าวัดที่คุณภาพของเทคโนโลยี แต่ต้องวัดที่ความตั้งใจในการออกแบบการเรียนรู้ของครู ครูต้องเป็นครูอยู่ตลอดเวลา ครูในประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการผลิตพลเมืองดีมีคุณค่าออกมารับใช้ประเทศชาติและสังคม เขาวัดที่คุณภาพผู้เรียนที่จบออกมา เก่ง.... คนในวิชาชีพต้องช่วยกันสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ ให้รองรับตลาดแรงงาน ส่วนดี และ มีความสุข วิชาศึกษาทั่วไปต้องจัดการให้สำเร็จ มีคำหลายคำที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในรายวิชาต่างๆ ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เช่น ความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก การนำศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน การจัดการความดี การส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ หรือแม้แต่วิชาการขับเคลื่อนเขยื้อนสังคม ก็เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ 30 หน่วยกิตของวิชาศึกษาทั่วไปให้คุ้มค่า ส่วนเรื่องของความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล หรือ วิชา DIGITAL LITERACIES มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสอนให้เขาสร้างเสริมคุณลักษณะบัณฑิตด้านนี้อย่างเร่งด่วน แต่ต้องสอนแบบผ่อนพักตระหนักรู้ เพราะวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคนี้ เขาอยู่กับดิจิทัลอยู่แล้วอย่ายัดเยียดความจำแต่ต้องสร้างความตระหนัก มีแบบแผนการสร้างพลเมืองและรายวิชาแบบนี้มากมายในประเทศต่างๆรายการ 1 ปี ราชประสงค์ การเลือกตั้ง และความรุนแรง(2554-06-07T04:20:34Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์รายการ การศึกษาพลเมืองบนปากเหวประชาธิปไตยไทย(2554-05-20T06:16:45Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์การศึกษาพลเมืองบนปากเหวประชาธิปไตยไทยรายการ ยุบสภา เลือกตั้ง เส้นทางปรองดองหรือขัดแย้ง(2554-05-13T10:16:09Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์ยุบสภา เลือกตั้ง เส้นทางปรองดองหรือขัดแย้งรายการ ยุบสภา-เลือกตั้ง-รัฐบาลใหม่ ความหวังคนไทยจริงหรือ(2554-05-06T07:40:19Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์ยุบสภา-เลือกตั้ง-รัฐบาลใหม่ ความหวังคนไทยจริงหรือรายการ คนไทยกับการเลือกตั้งครั้งหน้า(2554-05-03T07:56:14Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์คนไทยกับการเลือกตั้งคครั้งหน้ารายการ วันแรงงาน ก่อนวันยุบสภา ซ้ำซ้ำรอยเดิม(2554-05-03T04:08:47Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์วันแรงงาน ก่อนวันยุบสภา ซ้ำซ้ำรอยเดิมรายการ การศึกษาประชาคมอาเซียนบุกไทย ใครได้-ใครเสีย(2554-04-19T04:04:06Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์การศึกษาประชาคมอาเซียนบุกไทย ใครได้-ใครเสียรายการ แผ่นดินไหว สึนามิ นิวเคลียร์ บทเรียนจากญี่ปุ่น กับการเมืองไทย(2554-04-19T03:58:33Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์แผ่นดินไหว สึนามิ นิวเคลียร์ บทเรียนจากญี่ปุ่น กับการเมืองไทยรายการ ภาษาไทยในเวทีอภิปราย นักการเมืองส่งเสริมหรือทำลาย(2554-04-09T01:47:01Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์ภาษาไทยในเวทีอภิปราย นักการเมืองส่งเสริมหรือทำลายรายการ ทิศทางโพลล์ ตัวแปรรัฐบาลในอนาคต(2554-03-31T08:42:07Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์ทิศทางโพลล์ ตัวแปรรัฐบาลในอนาคตรายการ เวทีซักฟอกไม่ไว้ใจ ส.ส.หญิงอยู่ตรงไหน(2554-03-31T08:37:31Z) การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์เวทีซักฟอกไม่ไว้ใจ ส.ส.หญิงอยู่ตรงไหน