บทความวิชาการ
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู บทความวิชาการ โดย ผู้เขียน "ทีปกร คุณาพรวิวัฒน์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากขี้เถ้าแกลบผสมซังข้าวโพดและกะลามะพร้าว(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551-01-17) อภิรักษ์ สวัสดิ์กิจ; ทีปกร คุณาพรวิวัฒน์; พิสุทธิ์ รัตนแสนวงษ์; จักรพันธ์, กัณหา; วรพจน์, พันธุ์คงงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงการผลิตเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่ง จากชีว มวลโดยอาศัยเทคนิคเอ็กซ์ทรูชั่นแบบอัดรีดเย็น และใช้แป้งเปียกเป็นตัว ประสาน วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับขี้เถ้าแกลบโดยการนำมาผสม วัตถุดิบอื่นเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ขี้เถ้าแกลบที่ได้จากกระบวนการอบข้าวเปลือก ในโรงสีข้าว โดย การนำมาบดผสมกับผงถ่านซังข้าวโพดและผงถ่านกะลามะพร้าว โดยมี สัดส่วนการผสมอยู่ที่ 30:70 40:60 และ 50:50 ตามลำดับ ส่วนแป้ง มันจะมีสัดส่วนการผสมต่อน้ำหนักวัตถุดิบเท่ากับ 1 : 10 จากการศึกษา พบว่าค่าความหนาแน่นและความต้านทานแรงกด จะแปรผันตามสัดส่วน การผสมของผงซังข้าวโพดและผงกะลามะพร้าวแต่จะแตกต่างกันไม่มาก นัก การทดสอบค่าความร้อนเชื้อเพลิงพบว่า โดยเฉลี่ยมีค่าอยู่ระหว่าง 6,048 - 6,943 kcal/kg ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน ความชื้นอยู่ระหว่าง 5.7 - 5.83 % โดยน้ำหนัก อัตราการผลิตแท่ง เชื้อเพลิงเฉลี่บ 2.5 kg/min ความหนาแน่นอยู่ในช่วง 800 - 833 kg/m3 ค่าความต้านทานแรงกดของแท่งเชื้อเพลิงจะอยู่ในช่วง 1.07 - 1.23 MPa ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่าที่ยอมรับได้ในเชิงพาณิชย์ จุดคุ้มทุนของการ ผลิตถ่านเชื้อเพลิงประมาณ 9,448 kg จากการศึกษาพบว่ามีความ เป็นไปได้ในการนำไปใช้ในครัวเรือนหรือผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ คำสำคัญ : เชื้อเพลิงอัดแท่ง, เอ็กซ์ทรูชั่น, ขี้เถ้าแกลบ, ซังข้าวโพด , กะลามะพร้าวรายการ การลดการระเหยของน้ำร้อนในกระบวนการผลิตผลไม้กระป๋อง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2549-10-18) อภิรักษ์ สวัสดิ์กิจ; ทีปกร คุณาพรวิวัฒน์; จักรพันธ์ กัณหา; วรพจน์ พันธุ์คงรายการ การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำมันต้นยางนามาผลิตไบโอดีเซล(2550) ทีปกร คุณาพรวิวัฒน์; อภิรักษ์ สวัสดิ์กิจ; จักรพันธ์ กัณหา; พิสุทธิ์ รัตนแสนวงษ์; วรพจน์ พันธุ์คงบทความนี้ เป็นการศึกษาการนำน้ำมันยางดิบจากต้นยางนาซึ่งเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง มาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนอีกรูปแบบหนึ่ง ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการนำน้ำมันยางดิบที่ได้จากต้นยางมาให้ความร้อนในถังกลั่น จากอุณหภูมิ 27 °C จนเพิ่มขึ้นประมาณ 78 °C น้ำมันยางดิบก็จะเริ่มเดือดและระเหยกลายเป็นไอสะสมอยู่ในถังกลั่นจนอุณหภูมิเพิ่มเป็น 270 °C จึงนำไปผ่านชุดคอนเดนเซอร์เพื่อควบแน่นเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง ก็จะได้น้ำมันยางและกากยางซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้ ข้อมูลจากการกลั่นพบว่าน้ำมันยางดิบปริมาตร 800 mL. จะผลิตเป็นน้ำมันยางได้ประมาณ 690 mL. จากนั้นจึงนำน้ำมันยางและน้ำมันดีเซลไปทดลองหาค่าความร้อนเชื้อเพลิงใน bomb calorimeter เพื่อเปรียบเทียบกัน ได้ค่าความร้อนของน้ำมันยางประมาณ 10,000.40 cal/g น้ำมันดีเซลประมาณ 10,657.60 cal/g ซึ่งใกล้เคียงกันมาก เมื่อนำน้ำมันยางที่ได้ไปผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วน 10% 15% และ 20% โดยปริมาตรจนได้น้ำมันไบโอดีเซล B10 B15 และ B20 น้ำมันไบโอดีเซลที่ได้นี้ถูกนำไปทดลองใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล NISSAN 4 สูบ 4 จังหวะ 3,000 ซีซี ที่ความเร็วรอบต่าง ๆ ระหว่าง 1,000 – 2,100 rpm ในช่วงเวลาการทดลองที่เท่ากัน พบว่าการสิ้นเปลืองของน้ำมันไบโอดีเซลจะน้อยกว่าน้ำมันดีเซลเล็กน้อยขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของส่วนผสม เปอร์เซ็นต์ควันดำและค่าความหนืดของไบโอดีเซลจะสูงกว่าน้ำมันดีเซล คำสำคัญ : ไบโอดีเซล / น้ำมันยาง / พืชน้ำมัน