GEN-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ) โดย ผู้เขียน "Monnapa Thapsut"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ภาวะโลกร้อน(Sripatum University, 2561-12-20) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutบทความนี้ต้องการศึกษาถึงปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ครอบคลุมทั้งในด้านสาเหตุ ผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา ผลการวิเคราะห์พบว่าสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน มาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกมีความรุนแรงเกินกว่าปกติ เหตุเพราะมีก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากผลการดาเนินกิจกรรมของมนุษย์ แพร่กระจายอยู่ภายในชั้นบรรยากาศจนเกินระดับความสมดุลทางธรรมชาติ วิกฤติสภาพอากาศที่เกิดขึ้นทั้งคลื่นความร้อน ภัยแล้ง พายุ และฝนที่ตกมาอย่างหนัก ซึ่งปรากฏขึ้นอย่างบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ได้ส่งผลกระทบทั้งต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการดารงอยู่ของมนุษย์ สาหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน สามารถทาได้โดยการลดปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ บนสามแนวทางหลัก คือ 1) การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ 2) การกาจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และ 3) การกาจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งผลิต ซึ่งถึงแม้ความพยายามแก้ปัญหานี้จะมีมานับตั้งแต่ที่เริ่มมีการบังคับใช้พิธีสารเกียวโต หากแต่ภาวะโลกร้อนก็ยังคงเป็นปัญหาที่จะท้าทายมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต่อไปรายการ วิกฤตโลกร้อนจากก๊าซเรือนกระจก: สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการแก้ไข(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในโลกยุคปัจจุบัน เป็นสภาพการณ์ที่เกิดจาก ความไม่สมดุลของปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นในชั้นบรรยากาศ อันมีสาเหตุสำคัญมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกที่รุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากผลการพึ่งพิงพลังงานกระแสหลักจากเชื้อเพลิง ฟอสซิล ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกยุคอุตสาหกรรม โดยมีแหล่งปล่อยใหญ่มาจากภาคพลังงาน ผนวกกับการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อปรับเปลี่ยนที่ดินมาใช้ขยายพื้นที่ต่างๆ โดยผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การละลายตัวของนํ้าแข็งขั้วโลก และภัยพิบัติต่างๆ ล้วนทวีความรุนแรงและปรากฏขึ้นอย่างบ่อยครั้ง สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการดำรงอยู่ของมนุษย์ สำหรับ การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นต่อไปจนถึงขีดอันตราย สามารถทำได้บนสามแนวทางหลักคือ (1) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ (2) กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และ (3) กำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกจากแหล่งผลิต The global warming that causes climate change in today world is a situation that arises from an imbalance in the amount of greenhouse gases, especially carbon dioxide that increasing in the atmosphere, which is the cause of the severe greenhouse effect and which occurs due to the dependency on mainstream energy from fossil fuels that drive the economy of the industrial age world. The industrial age which has a large source of emission from the energy sector as well as having reinforcements from deforestation of the forest in order to change the land to be used to expand the various areas. This phenomenon has increased a severity of climate change, disasters, sea ice melt, which directly impact on environment and human livelihood. Therefore, the solutions to global warming could be achieved by reducing the emission of carbon dioxide in to atmosphere, and removing carbon dioxide from the atmosphere and from the generating sources emission.รายการ สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว หายนะภัยจากมนุษย์สู่มนุษย์(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2566-05-18) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutสภาพการณ์เลวร้ายต่างๆ ทางด้านสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่สร้างปัญหาก่อภัยคุกคามร้ายแรงให้กับทุกชีวิตนี้ ล้วนเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน วิกฤตการณ์อันตรายที่ได้รับการยืนยันหนักแน่นจากรายงานการประเมินครั้งที่ 6 (The Sixth Assessment Report: AR6) ที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ในปี พ.ศ. 2564 ว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างแน่นอน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเพิ่มมากเกินในชั้นบรรยากาศนี้ ได้ส่งผลอันตรายเร่งให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลกอย่างใหญ่หลวง ปัจจุบันปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศใกล้แตะระดับ 420 ppm และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อไปถึง 450 ppm ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นตามมาได้ถึง 2 องศาเซลเซียส (เมื่อเทียบจากก่อนยุคอุตสาหกรรม) ซึ่งถือเป็นจุดหักเหสำคัญที่จะทำให้โลกเข้าสู่จุดเปลี่ยน ด้วยภัยพิบัติต่างๆจะเกิดถี่ขึ้น หนักขึ้น และรุนแรงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ การพยายามทำทุกวิถีทางที่จะต้องควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามเป้าหมายของความตกลงปารีส (Paris Agreement) ให้ได้โดยเร็ว สภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์นี้ จะทวีความรุนแรงถึงคนรุ่นต่อๆ ไปหรือไม่นั้น ก็ขึ้นกับคนรุ่นปัจจุบันว่าให้ความสำคัญลงมือแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้มากน้อยเพียงใดรายการ อยู่รอดอย่างไร ในยุคโลกร้อน(หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, 2562-05-01) มนนภา เทพสุด; Monnapa Thapsutปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยมีความร้อนแรงสูงสุดตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดอันตรายให้หลายพื้นที่โลกต้องเผชิญกับเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather Event) สาเหตุสำคัญของปัญหามาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล อันได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ และอีกประการหนึ่งมาจากไฟป่าที่มาซ้ำเติมให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น การอยู่รอดของมวลมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับความพยายามในการก้าวพ้นจากยุคพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่ยุคพลังงานทดแทน พร้อมๆ ไปกับการเพิ่มพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง