GEN-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GEN-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ) โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 267
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ นักวิเคราะห์นโยบาย : ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์นโยบาย(2550) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ สถาบันอุดมศึกษากับแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา(2550) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ CIPP โมเดลประเมินที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย(2550) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ ชีวิตที่ต้องอยู่กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อภาวะโลกร้อน(2551-01-31) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ การใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนาอย่างมืออาชีพ(2551-02-09) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ สรุปผลที่ได้จากการอ่านรายงานวิจัยสถาบัน เรื่อง แนวทางการปฏิรูปการจัดการอุดมศึกษา(2551-02-09) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ รายงานการอ่านวิจัยสถาบัน เรื่อง การจัดการเรียนการสอน(2551-02-09) ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณรายการ e-portfolios Development(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2551-02-28) ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์รายการ ม็อบ(หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 2551-03-10) ชมพู โกติรัมย์การเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชน เป็นวิถีทางซึ่งประเทศที่มีระดับการพัฒนาประชาธิปไตยเบ่งบานแล้วเลือกใช้เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผู้ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง การรับฟังเสียงประชาชนจึงเป็นความผูกพันระหว่างผู้มอบสิทธิอำนาจกับฝ่ายรักษาสิทธิอำนาจ เมื่อเป็นเช่นนี้ทั้งสองฝ่ายจึงเป็นไปบนพื้นฐานแห่งความเคารพต่อกติกาแห่งบ้านเมือง การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ซึ่งรวมไปถึงการเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง อันเป็นการเคลื่อนไหวจากภาคประชาชน ในบริบทแห่งสังคมของประชาชนที่มีส่วนร่วมทางการเมืองในประเทศที่เข้าถึงภาวะที่เรียกว่าอธิปไตยแห่งประชาชนสูง จึงเป็นการเคลื่อนไหวที่มีอุดมการณ์ มีการเคลื่อนไหวในลักษณะพบกันครึ่งทางในรูปของการรับฟังด้วยความเคารพกติกาเป็นใหญ่ หรือร่วมกันประคับประคองวิถีทางแห่งประชาธิปไตยรายการ รัฐบาล(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2551-03-10) ชมพู โกติรัมย์เมื่อสังคมยังให้ความสำคัญในตัวบุคคลเหนือหลักการ หรือสังคมยังใช้อัตตวิสัยของผู้นำมากกว่าการทำงานเป็นทีม สังคมจึงไร้จุดยึดที่เป็นจริงหรือไร้หลักการ อาการปฎิเสธหรือยอมรับในตัวผู้นำแบบโดดๆลอยตัวจากหลักการอันเป็นระบบที่บุคคลจะต้องแสดงบทบาทแห่งตนภายในกรอบหลักการนั้น หากระบบดีมีศักยภาพสูงก็จะกลั่นกรองคนเข้าสู่ระบบตามที่พึงประสงค์ได้ สังคมไทยยังติดอยู่ที่กับดักขาดแคลนภาวะผู้นำ ได้กัดกร่อนสังคมให้อ่อนแอทางความคิด และขาดความเคารพในกรอบใหญ่ของบ้านเมือง ทั้งนี้เป็นเพราะสังคมไม่ได้ใช้ทัศนวิสัยแห่งธรรม หรือทัศนะวิสัยภายใต้กรอบแห่งบ้านเมือง หากแต่ว่ายึดติดในวิสัยของผู้นำเป็นด้านหลัก สังคมไทยเราจึงไม่ก้าวไกลไปสู่การเมืองที่เป็นสถาบัน การทำงานเป็นทีม การยอมรับกฎกติกา การฎิบัติมากกว่าไปกว่ายกยอต่อผู้นำเพื่อหวังผลรายการ การมีส่วนร่วมในรธน(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2551-03-10) ชมพู โกติรัมย์ในความเป็นจริงชีวิตในสถาบันอุดมศึกษาคือศูนย์กลางทางปัญญาของสังคม เป็นสถานที่ที่สร้างคนรุ่นใหม่เพื่อออกไปเป็นผู้นำของสังคม เมื่อเป็นเช่นนี้มหาวิทยาลัยก็ยิ่งทวีคุณค่า และมีความสำคัญเด่นชัดขึ้นท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อย่างสลับซับซ้อนมากขึ้น การศึกษาจะต้องอิงความเป็นจริงทางสังคม ที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของสังคมเพื่อเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศได้รายการ สัญญะทางสังคม(หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 2551-03-10) ชมพู โกติรัมย์ประชาชนมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองน้อยบ้างมากบ้าง ไม่โดยตรงก็โดยอ้อมและมีผลได้ผลเสียในฐานะผู้บริโภคผลผลิตทางสังคมการเมือง การที่ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำกิจกรรมทางการเมืองถือว่าเป็นกระบวนการกล่อมเกลาที่รัฐจัดหาให้ แต่การบริโภคข้อมูลข่าวสารด้านการเมืองอย่างศึกษาหาตัวเลือกนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเมืองไม่มีสูตรสำเร็จที่จะคาดการณ์ได้ เห็นได้จากบางกลุ่มยึดติดที่ชื่อพรรค บางกลุ่มบางพรรคพยายามหาหัวหน้าพรรคที่มากด้วยบารมีมีความพร้อม ทั้งชื่อพรรคและหัวหน้าพรรคยังไม่มีความชัดเจน ต่างฝ่ายต่างช่อนเร้นอำพรางไพ่ที่หนือกว่า ประดุจดังรอาหารตามสั่ง ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า นัยประชาชนเป็นใหญ่แท้ทีจริงแล้วเป็นได้แค่ผู้บริโภคอาหารตามสั่งเท่านั้นหรือ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้บริโภคอาจจะได้สินค้าทางการเมืองที่มีมาตรฐานต่ำ หรือปลอมแปลงเปลี่ยนฉลากย่อมเป็นได้รายการ เศรษฐกิจ -ชุมชนไทย(วารสารศรีปทุม, 2551-03-10) ชมพู โกติรัมย์สภาพโลกในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวในรูปแบบ การค้าเสรีและการไหล่บ่าของกระแสทุนนิยมรายการ ความรุนแรง(หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 2551-03-10) ชมพู โกติรัมย์ดูเหมือนว่าในสังคมปัจจุบันความรุนแรงที่แฝงเร้น หรือแบบไม่ต้องลงมือกระทำการใดๆ แต่ได้ก็ก่อความรุนแรงได้ทั่วทั้งสังคมจนบางครั้งสังคมแทบไม่ใส่ใจว่าเป็นความรุนแรง ความรุนแรงแบบนี้บางทีเรียกว่าความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ทางสังคม หลังจากสังคมปัจจุบันมีโครงสร้างหรือรูปแบบเศรษฐกิจ-การเมือง ที่เอื้อต่อความรุนแรงอยู่มิใช่น้อยภายใต้ระบบการการแข่งขัน เมื่อเป้าหมายที่มีจำนวนจำกัด แต่คู่แข่งมีจำนวนมากกว่า ผู้แข่งขันจึงเลือกวิธีการต่างๆ บางครั้งมีการเลือกใช้วิธีการที่เบี่ยงเบนจากบรรทัดฐานทางสังคมมาใช้เพียงเพื่อบรรลุเป้าหมายของตนรายการ สิทธิหน้าที่(หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ, 2551-03-10) ชมพู โกติรัมย์บนส้นทางการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นเส้นทางที่ประชาชนต้องต่อสู้ บางครั้งต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อ หากยอมรับว่าการเมืองคือการอาสาเข้ามาบริหารแผ่นดินเพื่อให้ทรัพยากรของชาติบรรดาที่มีอยู่ให้เกิดประประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติอย่างยุติธรรม โดยที่การอาสานั้นได้รับความไว้วางใจและมอบหมายอำนาจที่มีอยู่จากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง ฉะนั้นการเมืองแบบตัวแทน(ผู้ทำหน้าที่แทน) ยิ่งต้องมีปมสำนึกสาธารณะมากเป็นทวีคูณ จึงจะจัดสรรทรัพยากรของชาติกระจายทั่วถึงเพื่อคนในชาติก้าวข้ามกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม ตรงนี้หากพิจารณาตามลักษณะสังคมวิทยาการเมืองแล้วจะเห็นว่า สังคมประกอบด้วยกลุ่มคนมากมายโดยที่แต่ละกลุ่มนั้นๆมักมีผลประโยชน์ร่วมกันตามลักษณะอาชีพ การจัดสรรอำนาจตามหลักรัฐศาสตร์ที่ใช้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญเป็นกติกาของรัฐหนึ่งเดียว (เอกบรรทัดฐาน) เพื่อบังคับใช้ในสังคมที่มีความหลากหลายระหว่างกลุ่มต่างๆที่มีความต่างในเรื่องศาสนาวัฒนธรรมรายการ ศตที่ 21(หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ, 2551-03-10) ชมพู โกติรัมย์สังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงตามบริบทของโลกที่มีลักษณะขยายตัวทางเทคโนโลยี่อุตสาหกรรมบริการ ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางการเมืองในระดับโลกได้ลดความตึงเครียดอันเกิดจากขั้วทางการเมืองได้กลายเป็นกุญแจสำคัญเปิดประตูประเทศต่างๆให้หันมาแข่งขันทางการค้าแทนการสะสมยุทโธปกรณ์ เพื่อสร้างอำนาจทางการทหารและการเมือง พร้อมกันนั้นได้สร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของโลกแบบใหม่ ในศตวรรษที่ 21 นี้ประชากรถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการแข่งขันในโลกธุรกรรมสมัยใหม่ ทั้งนี้เพราะโลกสมัยใหม่ได้เปลี่ยนฐานการผลิตจากทรัพยากรทางธรรมชาติไปเป็นประชากรแทน ประชากรในฐานะเป็นฐานการผลิตเพราะจะต้องใช้เทคโนโลยี่และวิทยาการใหม่ๆบรรดาที่มีอยู่ในปัจจุบันกาล เพื่อจัดการให้เกิดให้เกิดมูลค่าสูงสุด ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรรีบเร่งคือจะต้องพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพอันเป็นสากล และเป็นคนดีในฐานะเป็นทุนทางสังคมพื่อยกระดับประเทศเราให้อยู่ในระดับสากล นี่คือรูปลักษณ์แห่งการแข่งขันของสังคมโลกในศตวรรษที่ 21รายการ สวรรค์(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2551-03-10) ชมพู โกติรัมย์เราเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับ กกต.มาแล้ว ฉะนั้นการทำหน้าที่ของ กกต.ชุดนี้ เป็นความท้าทายสูง เพราะเป็นความท้าทายจากวิกฤติศรัทธาน่าเชื่อถือ เป็นความท้าทายบนความคาดหวังจากประชาชนและพรรคการเมือง และเป็นความท้าทายช่วงรอยต่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะเรายังติดกับภาพเก่าๆ ของ กกต.เกี่ยวกับการถูกจำกัดอิสระ การตกเป็นร่างทรงของอำนาจรัฐรายการ จิตสำนึก(หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2551-03-11) ชมพู โกติรัมย์ลักษณะกฎเกณฑ์แห่งการพัฒนาสังคม ไม่ควรมองข้ามปรากฏการณ์แห่งจิตสำนึกของสังคมอย่างถูกต้อง เพราะจิตสำนึกทางสัมคมเป็นการสะท้อนถึงบางอย่างของความเป็นจริงของสังคมที่กำลังเป็นอยู่รายการ รัฐธรรมนูญ(หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 2551-03-11) ชมพู โกติรัมย์ว่า ประเทศไทยเราได้ลงทุนปฎิรูปการเมืองในทุกครั้งที่ผ่านมาเพื่อความเป็นประชาธิปไตย ด้วยการปฎิวัติรัฐประหารก็คงไม่เกินความเป็นจริงมากนัก เพราะการปฎิรูปการเมืองมักเกิดจากการเข้ายึดอำนาจรัฐอันอยู่นอกกระบวนการประชาธิปไตย แล้วก็มาเริ่มที่ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อคืนอธิปไตยแก่ประชาชน ด้วยหวังว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญแล้ว ประชาธิปไตยจะเกิดมีตามมาด้วยรายการ เหตุผล(วารสารประชาทัศน์, 2551-03-11) ชมพู โกติรัมย์ขณะนี้สังคมไทยได้มีความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรง เป็นความขัดแย้งบนความเห็นต่างในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่ม แต่ที่สำคัญก็คือประเด็นที่มาของรัฐธรรมนูญ และตามด้วยพ.ร.บ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติเพื่อเป็นการปรามกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญ ซึ่งถึงว่าเป็นความขัดแย้งทางสังคมในระดับมหภาค เพราะรัฐธรรมนูญเป็นแม่ทบในอันที่จะมากำหนดก้าวย่างของประเทศทั้งในบริบทเศรษฐกิจ สังคม การเมือง แต่สิ่งที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้นั้นมักไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงมากนักนั่นก็คือ รัฐธรรมนูญมักจะถูกเชื่อมโยงกับประเด็นการเมืองและ เศรษฐกิจ เป็นด้านหลัก